เมื่อไปถึงแม่ฮ่องสอน พลาดไม่ได้ ต้องแวะ วัดซูตองเป้ หรือวัดที่มีสะพานไม้ไผ่ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย โดยเอกลักษณ์ของวัดแห่งนี้เกิดขึ้นจากวัฒนธรรมผสมผสานกับธรรมชาติ ที่อยู่ท่ามกลางหุบเขาป่าลำเนาไพร ใครที่ชอบการเรียนรู้ วัฒนธรรม และ อยู่กับความเป็นธรรมชาติ ใช้ชีวิตแบบ slow life แล้วล่ะก็ จะต้องไปวัดซูตองเป้ให้ได้สักครั้งในชีวิต
อย่าว่าแต่ลูกเพจเลยค่ะ แอดมินเองก็อยากไปเหมือนกัน อิอิ เขาว่ากันว่า มี สะพานซูตองเป้ เชียงใหม่ ด้วยรู้ป่ะ? แต่มาที่แม่ฮ่องสอนกันก่อนดีกว่าว่า วัดแห่งนี้มีอะไรดี ทำไมแอดมินถึงแนะนำ ก็ต้องไปดูประกอบการพิจารณากันเลยค่ะ
สารบัญ
Toggleประวัติ วัดซูตองเป้
สะพานซูตองเป้ ทางไปสู่ วัดซูตองเป้ ตั้งอยู่ที่ บ้านกุงไม้สัก ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร สะพานซูตองเป้ ภาษาอังกฤษ คือ Zutongpae เป็นสะพานไม้ (โครงสร้าง เสา-คาน) ส่วนพื้นปูด้วยไม้ไผ่ที่ทำในลักษณะพื้นสับฟาก พื้นขัดแตะ (เหมือนฝาบ้าน) และพื้นไม้ไผ่สาน มีความกว้างประมาณ 2 เมตร แต่ยาวถึง 500 เมตร ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นสะพานไม้ไผ่ที่ยาวที่สุดในเมืองไทย
สะพานซูตองเป้ เกิดจากการรวมแรงรวมใจของพระภิกษุสงฆ์สามเณร รวมไปถึงชาวบ้านและผู้มีจิตศรัทธา ได้มาร่วมด้วยช่วยกันสร้างสะพานแห่งนี้ขึ้น เพื่อทอดข้ามแม่น้ำสะงา ข้ามทุ่งนาของชาวบ้าน เชื่อมระหว่าง“ซูตองเป้ สวนธรรมภูสมะ” สถานปฏิบัติธรรมอันปลีกวิเวกสงบ กับ “หมู่บ้านกุงไม้สัก” เพื่อให้พระภิกษุสามเณรจากสวนธรรมภูสมะ เดินบิณฑบาต รวมถึงชาวบ้าน เกษตรกรที่อยู่ในบริเวณนั้นได้เดินข้ามสัญจรไป-มา โดยการนำของ พระปลัดจิตตพัฒน์ อคคฺปัญโญ ประธานสงฆ์สวนธรรมภูสมะ
ซูตองเป้ เป็นภาษาไทใหญ่ แปลว่า อธิษฐานสำเร็จสัมฤทธิผล สมกับชื่อที่ได้มาพร้อมกับสถานที่ เพราะที่แห่งนี้เป็นที่ซึ่งทุกคนได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างขึ้นมา จากแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย โดยเจ้าของที่นา ได้ถวายผืนนาแห่งนี้ เพื่อเป็นสะพานทอดผ่านให้ทุกคนได้ใช้สอยกันได้อย่างสะดวกสบาย ส่วนผู้ศรัทธาคนอื่นๆ ก็ได้บริจาคเสาไม้ บริจาคไม้ไผ่ แรงงาน และปัจจัยอื่นๆ ในการสร้างสะพานแห่งนี้
โดยค่าใช้จ่ายในการสร้างสะพานนั้นไม่ได้มากมายนัก เพียง 800,000 กว่าบาทเท่านั้น และยังใช้เวลาในการก่อสร้างไม่นานประมาณ 3 เดือนกว่า โดยได้ทำการวางเสาเอกในวันที่ 20 เม.ย. 2554 และทำการก่อสร้างเสร็จสิ้นเปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ส.ค. 2554 และเมื่อสะพานแห่งนี้สร้างเสร็จ ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในจุดแลนด์มาร์คใหม่ของชาวแม่ฮ่องสอน ที่ใครมาที่จังหวัดนี้ ต้องไม่พลาดที่จะเก็บภาพเป็นที่ระลึกแน่นอน
ไฮไลท์เด็ด ไม่ควรพลาด
กราบไหว้ หลวงพ่อซูตองเป้
หลวงพ่อซูตองเป้ หรือ พระพุทธรูปทรงเครื่อง พระประธานแห่งสวนธรรมฯ มีความเป็นศิลปะแบบพม่า ทั้งตัวเป็นสีเหลืองทองอร่าม ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารโถง ไม่มีผนัง ส่วนข้างๆ มีอาคารขนาดรองประดิษฐานพระพุทธรูปให้สักการบูชา
รวมไปถึง อาคารที่ให้คนมาไหว้พระ ทำบุญ ด้วยการเขียนชื่อใส่ป้ายแขวนไว้ เหมือนกับเป็นเกาหลีหรือญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ ภายในสวนธรรมก็ยังมีถ้อยคำธรรมะ คติเตือนใจ และรูปปั้นปริศนาธรรม ที่แบบศิลปะร่วมสมัย
ชมวิว ถ่ายรูป กับ สะพานซูตองเป้
มาถึงถิ่น แล้วไม่ถ่ายรูปนี่ไม่ได้นะคะ ใครมาถึงแล้ว ต้องถ่ายรูปกับสะพานซูตองเป้ ถ่ายวิวเก๋ๆ กับธรรมชาติ ยืนอยู่บนสะพานแบบสวยๆ ยิ่งช่วงหน้าหนาวที่มีหมอกลง ยิ่งสวยมากกว่าเดิม แต่แนะนำว่า อย่ากระโดดบนสะพาน เลยนะคะ เพราะว่าสะพานเป็นสะพานไม้ไผ่ ค่อนข้างมีอายุ หากเกิดพังไป อาจได้รับบาดเจ็บ แล้วยังทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนด้วยนะคะ
การบิณฑบาตรบนสะพานซูตองเป้
ไฮไลท์ที่สำคัญมากๆ ที่ผู้คนต่างต้องมา นั่นก็คือ การใส่บาตรยามเช้า ที่สะพานซูตองเป้ ในช่วงเช้า เวลาประมาณ 06.00 – 07.00 น. จะมีพระ-เณร มาออกเดินบิณฑบาต และจะเดินกลับผ่านมายังสะพานไปยังสวนธรรมภูสมะ ในเวลา 07.00 – 08.00 น. ยามขากลับที่มีคนนิยมถ่ายภาพมุมนี้ออกมากันเป็นจำนวนมาก
การเดินทาง
จากตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ประมาณ 10 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1095 จากนั้น สามารถเดินทางเข้าสู่สะพาน ซูตองเป้ ได้สองเส้นทาง ดังนี้
1. เข้าทางแยกหมู่บ้านกุงไม้สัก เลี้ยงซ้ายทางไปภูโคลนประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถึงแยกเข้าหมู่บ้านให้ลอดซุ้มประตู เข้าไปทางขวามือตามถนนในหมู่บ้าน โดยสามารถจอดรถไว้ที่วัดกุงไม้สักได้
2. เข้าทางแยกสวนธรรมภูสมะ เลี้ยวซ้ายจากปากทาง ผ่านถนนลูกรังระยะทางประมาณ 1กิโลเมตร จอดรถที่สวนธรรมภูสมะได้
สรุป
วัดซูตองเป้ วัดสำคัญ ที่มีสถานที่สำคัญ อย่าง สะพานซูตองเป้ สะพานไม้ไผ่ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย พร้อมด้วยบรรยากาศที่อบอวลไปด้วย ความเป็นธรรมชาติ และสงบเป็นที่สุด ทำให้จิตใจของเราได้ผ่อนคลายไปกับ บรรยากาศรอบๆ ได้เป็นอย่างดี
ในตอนเช้า จะมีชาวบ้านจำนวนมาก รอใส่บาตรพระสงฆ์ และ สามเณรจากทางวัดในทุกวัน สมกับที่ได้ชื่อว่า เป็น สะพานที่สร้างมาจากความศรัทธาจริงๆ เพราะสะพานแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อให้ทางวัดและทางชาวบ้านเดินไปมาหากันได้ มิได้สร้างมาจากรายได้ของหน่วยงานรัฐแต่อย่างใด เป็นการร่วมแรงร่วมขันกันเองทั้งนั้น
ก่อนจากกันไป สำหรับใครที่อยากอ่านบทความดีๆ แบบนี้ ทั้งเรื่องความเชื่อ แรงศรัทธา ทำนายฝัน ดูดวง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สูตรหวย สถิติหวย เลขเด็ด เราได้ทำการรวบรวม เรื่องดี เรื่องดัง เรื่องน่าสนใจ มาให้ทุกท่านไว้แล้วที่นี่ที่เดียว ไม่ต้องเสียเวลาหาเยอะแยะมากมาย มาพบกับพวกเราได้ในทุกวันที่ Ruay ค่ะ