วัดพระธาตุหริภุญชัย​ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวลำพูน

งานนี้ต้องไปให้ได้! ที่ วัดพระธาตุหริภุญชัย พระธาตุองค์สำคัญประจำจังหวัดลำพูน เป็นศูนย์รวมจิตใจให้กับชาวลำพูน และยังเป็นหนึ่งในพระธาตุสำคัญของชาวล้านนาอีกด้วย ใครที่มาเที่ยวที่จังหวัดลำพูน ต้องไม่พลาดที่จะเข้ามากราบไหว้สักการะวัดพระธาตุหริภุญชัย ใครที่มาลำพูนแล้วไม่ได้ไป ก็เหมือนไม่ได้มาเลยทีเดียว อีกทั้งยังเป็นที่รู้กันว่า วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นวัดประจำปีเกิดปีระกาหรือปีไก่ สำหรับใครที่เกิดปีกา ก็ต้องไปไหว้กันให้ได้นะคะ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต

IMG 0056
ขอบคุณภาพจาก การท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน

ตำนาน วัดพระธาตุหริภุญชัย

เมื่อตอนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวก ได้มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ พระองค์ได้เสด็จมายัง ณ หมู่บ้านปาทรคาม ลุ่มแม่น้ำพิงค์ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวลัวะ (บางตำนานก็ว่าเป็นชาวเม็ง) เมื่อชาวบ้านทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด จึงพากันนำผลสมอ (บะนะ) มาถวาย เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จฉันท์ผลสมอแล้ว จึงนำผลสมอฝังไว้ ณ ดินแดนผืนนี้พร้อมกับให้คำทำนายว่า ในอนาคตกาลภายหน้าจะมีมหาราชองค์หนึ่งมาก่อพระเจดีย์สีทองขึ้น ลัวะได้ฟังดังนั้น จึงทูลขอพระเกศาธาตุจากพระพุทธองค์แล้วนำใส่กระบอกไม้รวกฝังไว้ลงดิน มีพญากาเผือกคอยบินวนเวียนอารักขาอยู่

เวลาผ่านไปนานกว่า 16 ศตวรรษ ชาวลัวะผู้นั้นเกิดเป็นพญาอาทิตยราช พระองค์ได้สร้างหอพระบังคนไว้ โดยทุกครั้งที่พระองค์จะเข้าไปทรงพระบังคน พญากาเผือกก็จะถ่ายลงมาใส่หัวพระองค์ทุกครั้ง ต่อมาพญาอาทิตยราชเกิดความสงสัยจึงได้นำทารกแรกเกิด 7 วันไปอยู่กับพญากาเผือกสลับกับอยู่มนุษย์คราวละ 7 วัน เป็นเวลานาน 7 ปี เพื่อเรียนรู้ภาษากา กระทั่งทราบว่า ณ บริเวณใต้ดินห้องพระบังคนเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าและต่อมาได้มีการขุดพระเกศาขึ้นและได้ก่อเป็นพระบรมธาตุเจดีย์ศรีหริภุญชัยขึ้น

IMG 0095
ขอบคุณภาพจาก การท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน

ในสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว ได้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระมหาธาตุนี้อีกได้เรี่ยไรเงินจากชาวบ้านได้ 225,000 บาทเอาไปซื้อทองแดงและทองคำแผ่นหุ้มบุองค์พระเจดีย์ จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ.2348 พระเจ้ากาวิละจึงโปรดให้เจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น) และเจ้าศรีบุญมา ผู้น้องนำบริวาร 1,000 คนและครอบครัวไปตั้งที่เมืองลำพูน ซึ่งเป็นเมืองร้าง เนื่องจากถูกพม่าเข้าครอบครองเป็นเวลากว่า 200 ปี จากนั้นจึงได้มีการบูรณะองค์พระธาตุนี้เรื่อยมา

พระมหาธาตุองค์นี้เป็นจอมเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่งในจำนวน 8 องค์ของประเทศไทย ที่มีอายุมายาวนานกว่าพันปี และในตำนานพระธาตุประจำปีเกิดของนักปราชญ์ทางเมืองเหนือกล่าวว่า คนเราเกิดมาในโลกนี้เมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว ดวงวิญญาณจะไปสถิตอยู่ตามพระธาตุเจดีย์ต่างๆ ตามปีเกิด และ เมื่อขณะที่ยังมีชีวิตอยู่หากได้ไปนมัสการยังพระธาตุประจำปีเกิดแล้ว ถือว่าได้บุญกุศลและทำให้มีอายุยืนนาน พระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนที่เกิดปีระกา หรือ ปีไก่

IMG 0050
ขอบคุณภาพจาก การท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน

จุดน่าสนใจ ของ วัดพระธาตุหริภุญชัย

พระบรมธาตุหริภุญไชย

ไฮไลท์สำคัญประจำ วัดพระธาตุหริภุญชัย ! นั่นก็คือ “พระบรมธาตุหริภุญชัย” เจดีย์ไทยๆ สไตล์ล้านนา ที่มีการออกแบบมาอย่างสวยงามตามฉบับเมืองล้านนากันเลย ภายในบรรจุพระเกศบรมธาตุบรรจุในโกศทองคำ ประดิษฐานในพระเจดีย์ ประกอบด้วยฐานปัทม์ แบบฐานบัวลูกแก้ว ย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้น ตั้งรับองค์ระฆังกลม บัลลังก์ย่อเหลี่ยม

ตัวเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับ พระธาตุดอยสุเทพ ที่จังหวัดเชียงใหม่ สูง 25 วา 2 ศอก ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก 1 คืบ มีสัตติ- บัญชร (รั้วเหล็กและทองเหลือง) 2 ชั้น สำเภาทอง ประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือ และทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม และหอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ บรรจุพระพุทธรูป นั่งทุกหอ นอกจากนี้ยังมีโคมประทีป และแท่นบูชาก่อประจำไว้ เพื่อเป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชน

IMG 0103
ขอบคุณภาพจาก การท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน

ซุ้มประตู

ก่อนที่เราจะเข้าไปภายในบริเวณวัด จะต้องเดินผ่านซุ้มประตูด้านหน้าก่อน ซึ่งซุ้มประตูนี้ก็ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว เป็นซุ้มประตูที่ก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร เป็นฝีมือโบราณแบบสมัยศรีวิชัย ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็นชั้นๆ เบื้องหน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่า บนแท่น สูงประมาณ 1 เมตร สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช เมื่อทรงถวายวังให้เป็นสังฆาราม

IMG 0034
ขอบคุณภาพจาก การท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน

วิหารหลวง

หลังจากที่เดินผ่านซุ้มประตูกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราจะได้พบกับวิหารหลังใหญ่ที่เรียกกันว่า “วิหารหลวง” วิหารหลังนี้มีระเบียงอยู่รอบด้าน และมีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังเสียหายไปเมื่อ พ.ศ.2466

วิหารหลวง ใช้สำหรับเป็นที่บำเพ็ญกุศล และประกอบศาสนากิจทุกวันพระ ภายในวิหารประดิษฐานพระปฏิมาใหญ่ ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง บนแท่นแก้วรวม 3 องค์ และพระพุทธ ปฏิมาหล่อโลหะขนาดกลางสมัยเชียงแสน ชั้นต้น และชั้นกลางอีกหลายองค์

IMG 0119
ขอบคุณภาพจาก การท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน

สุวรรณเจดีย์หรือปทุมวดีเจดีย์

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะการก่อสร้างแบบเดียว กับ เจดีย์สี่เหลี่ยมหรือเจดีย์กู่กุดที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน องค์เจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทมีฐานสี่เหลี่ยมซ้อนขึ้นไปห้าชั้น แต่ละชั้นประดับซุ้มจระนำทั้งสี่ด้าน ด้านละสามซุ้ม

ภายในซุ้มจะประดิษฐานพระพุทธรูปดินเผาประทับยืนประทับอยู่ ซึ่งมีร่องรอย ของการลงรักปิดทอง ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงไม่กี่องค์ ส่วนบนสุดของเจดีย์เป็นกลีบบัวปูนปั้นหุ้มด้วยโลหะแผ่น ส่วนยอดปลายสุดทำเป็น กรวยแหลมเรียวยาวขึ้นไปสุวรรณเจดีย์องค์นี้มีพระพิมพ์ที่สำคัญและ มีชื่อเสียงของเมืองลำพูนบรรจุอยู่ภายใน คือ พระเปิม

IMG 0074
ขอบคุณภาพจาก การท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน

หอระฆัง

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นหอสำหรับแขวนระฆังและกังสดาลขนาดใหญ่ สร้างขึ้นโดย พระครูพิทักษ์เจติยานุกิจ (ครูบาคำฟู) เมื่อ พ.ศ.2481 ด้านบนแขวนระฆังขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นในสมัยเจ้าหลวงดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 และชั้นล่างห้อยกังสดาลขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ.2403 ฝีมือครูบาสูงเม่นโดยกัญจนมหาเถระ เจ้าอาวาส วัดป่าเมืองแพร่ และเจ้าหลวงเมือง เชียงใหม่ เป็นศรัทธาสร้างหล่อกังสดาลนี้ ในวัดพระสิงห์เมืองเชียงใหม่เพื่อไว้เป็นเครื่องบูชาพระธาตุหริภุญชัย

IMG 0145
ขอบคุณภาพจาก การท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน

นอกจากนั้น ภายในวัดยังจัดแสดงวัตถุโบราณที่อาคารพิพิธภัณฑ์ 50 ปี ทางด้านในจัดแสดงวัตถุโบราณและสิ่งของต่างๆ มากมาย และยังมีโบราณสถานที่สำคัญอีกหลายอย่าง ไห้เราได้กราบไหว้บูชา ไม่ว่าจะเป็น วิหารพระเจ้าทันใจ, วิหารพระเจ้าองค์แดง, รอยพระพุทธบาทสี่ดวง, วิหารพระนอน

IMG 0094
ขอบคุณภาพจาก การท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน
IMG 0078
ขอบคุณภาพจาก การท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน

เทศกาลสำคัญ ประจำ วัดพระธาตุหริภุญชัย

ประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย

งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย งานนมัสการครั้งสำคัญของวัดพระธาตุหริภุญชัย ซึ่งจะจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 หรือ วันวิสาขบูชา นั่นเอง น้ำที่ใช้สรง นำมาจากบ่อน้ำทิพย์บน ยอดดอยขะมัอ นอกจากนี้ยังมีการแสดงทางวัฒนธรรม ตอนกลางวันจะเป็นประกวด ตีกลองสะบัดชัย และกลางคืนจะมีการประกวดฟ้อนยอง ฟ้อนเล็บ

12715672 774512099342951 3555766539025332657 N
ขอบคุณภาพจาก cmprice.com ข่าวเชียงใหม่และลำพูน

เทศกาล “โคมแสนดวงลำพูน”

เชื่อว่าเทศกาลนี้น่าจะถูกใจหลายๆ คน โดยเฉพาะเหล่าช่างภาพที่ต้องการเก็บภาพสวยๆ ไปไว้ในคอลเล็กชั่น ซึ่งเทศกาลโคมแสนดวง ถือเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีลอยกระทงหรือประเพณียี่เป็ง ซึ่งเป็นประเพณีที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานและเป็นที่รู้จักกันดีทั้งกับนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ

เป็นการถวายโคมแสนดวง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาต่อองค์พระธาตุเจ้าหริภุญชัย และเพื่อเคารพสักการะพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งเมืองลำพูน เมื่อถึงงานเทศกาลยี่เป็ง ชาวล้านนาจะนิยมประดับประดับตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงาม ด้วยการจุดผางประทีปหรือประดับโคมไฟให้สว่างสดใสตลอดช่วงเทศกาล

ทั้งนี้ชาวล้านนาเชื่อว่าการทำโคม เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าที่ประทับ บนสรวงสวรรค์ และแสงประทีปจากโคมจะช่วยส่องประกายให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง อยู่เย็นเป็นสุข

 “โคมแสนดวงลำพูน”
ขอบคุณภาพจาก Pat Phati Wirodjhanasakun

คาถาบูชา พระบรมธาตุหริภุญชัย

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

สุ วัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฏฐัง วะระโมลีธารัง อุรัฏฐิเสฏฐังสะหะอังคุลิฏฐิง กัจจายะเนนา นิตะปัตตัปปะรัง สีเสนะ มัยหังปะระมามิ ธาตุง อะหัง วันทามิ สัพพะทา

IMG 0149
ขอบคุณภาพจาก การท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน

การเดินทาง

เดินทางมาบนถนนสายเอเชียมุ่งตรงมายังตัวจังหวัดลำพูนพอถึงตัวเมืองก็ใช้เส้นทาง ถนนเจริญราษฎร์ วัดตั้งอยู่ติดริมถนนหาง่าย หลังจากนั้นก็เดินทางกลับมาไหว้พระนางจามเทวีโดยใช้ถนนเส้นเดียวกัน เดินทางโดยรถประจำทาง มีรถประจำทางวิ่งจากกรุงเทพเข้าตัวเมืองลำพูนทุกวัน จากนั้นก็ใช้บริการรถท้องถิ่นเข้าไปยังตัววัด

IMG 0118
ขอบคุณภาพจาก การท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน

ที่ตั้ง : ถนนอินทยงยศ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000

เบอร์โทร: 089-955-2174

Facebook : วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน

IMG 0043
ขอบคุณภาพจาก การท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน

สรุป

วัดพระธาตุหริภุญชัย ปูชนียสถานสำคัญของชาวล้านนา ที่อยู่คู่กับเมืองลำพูนมาอย่างยาวนาน ตั้งอดีตจนถึงปัจจุบันมานานกว่าพันปี  ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีถนนล้อมรอบทั้งสี่ด้าน คือ ถนนอัฏฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทาง ทิศตะวันออก นอกจากนั้น ยังเป็นองค์พระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีระกาหรือปีไก่ ใครที่เกิดปีระกา ต้องไม่พลาดมาเที่ยวชมที่นี่

ก่อนจากกันไป ใครที่อยากอ่านบทความดีๆ เด็ดๆ ทั้งเรื่องความเชื่อ แรงศรัทธา ทำนายฝัน ดูดวง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สูตรหวย สถิติหวย เลขเด็ด เราได้ทำการรวบรวม เรื่องดี เรื่องดัง เรื่องน่าสนใจ มาให้ทุกท่านไว้แล้วที่นี่ที่เดียว ไม่ต้องเสียเวลาหาเยอะแยะ มาพบกับพวกเราได้ในทุกวันที่ Ruay365.com

Facebook
Twitter
Email