งานนี้ต้องไปให้ได้! ที่ วัดพระธาตุหริภุญชัย พระธาตุองค์สำคัญประจำจังหวัดลำพูน เป็นศูนย์รวมจิตใจให้กับชาวลำพูน และยังเป็นหนึ่งในพระธาตุสำคัญของชาวล้านนาอีกด้วย ใครที่มาเที่ยวที่จังหวัดลำพูน ต้องไม่พลาดที่จะเข้ามากราบไหว้สักการะวัดพระธาตุหริภุญชัย ใครที่มาลำพูนแล้วไม่ได้ไป ก็เหมือนไม่ได้มาเลยทีเดียว อีกทั้งยังเป็นที่รู้กันว่า วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นวัดประจำปีเกิดปีระกาหรือปีไก่ สำหรับใครที่เกิดปีกา ก็ต้องไปไหว้กันให้ได้นะคะ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต
สารบัญ
Toggleตำนาน วัดพระธาตุหริภุญชัย
เมื่อตอนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวก ได้มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ พระองค์ได้เสด็จมายัง ณ หมู่บ้านปาทรคาม ลุ่มแม่น้ำพิงค์ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวลัวะ (บางตำนานก็ว่าเป็นชาวเม็ง) เมื่อชาวบ้านทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด จึงพากันนำผลสมอ (บะนะ) มาถวาย เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จฉันท์ผลสมอแล้ว จึงนำผลสมอฝังไว้ ณ ดินแดนผืนนี้พร้อมกับให้คำทำนายว่า ในอนาคตกาลภายหน้าจะมีมหาราชองค์หนึ่งมาก่อพระเจดีย์สีทองขึ้น ลัวะได้ฟังดังนั้น จึงทูลขอพระเกศาธาตุจากพระพุทธองค์แล้วนำใส่กระบอกไม้รวกฝังไว้ลงดิน มีพญากาเผือกคอยบินวนเวียนอารักขาอยู่
เวลาผ่านไปนานกว่า 16 ศตวรรษ ชาวลัวะผู้นั้นเกิดเป็นพญาอาทิตยราช พระองค์ได้สร้างหอพระบังคนไว้ โดยทุกครั้งที่พระองค์จะเข้าไปทรงพระบังคน พญากาเผือกก็จะถ่ายลงมาใส่หัวพระองค์ทุกครั้ง ต่อมาพญาอาทิตยราชเกิดความสงสัยจึงได้นำทารกแรกเกิด 7 วันไปอยู่กับพญากาเผือกสลับกับอยู่มนุษย์คราวละ 7 วัน เป็นเวลานาน 7 ปี เพื่อเรียนรู้ภาษากา กระทั่งทราบว่า ณ บริเวณใต้ดินห้องพระบังคนเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าและต่อมาได้มีการขุดพระเกศาขึ้นและได้ก่อเป็นพระบรมธาตุเจดีย์ศรีหริภุญชัยขึ้น
ในสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว ได้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระมหาธาตุนี้อีกได้เรี่ยไรเงินจากชาวบ้านได้ 225,000 บาทเอาไปซื้อทองแดงและทองคำแผ่นหุ้มบุองค์พระเจดีย์ จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ.2348 พระเจ้ากาวิละจึงโปรดให้เจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น) และเจ้าศรีบุญมา ผู้น้องนำบริวาร 1,000 คนและครอบครัวไปตั้งที่เมืองลำพูน ซึ่งเป็นเมืองร้าง เนื่องจากถูกพม่าเข้าครอบครองเป็นเวลากว่า 200 ปี จากนั้นจึงได้มีการบูรณะองค์พระธาตุนี้เรื่อยมา
พระมหาธาตุองค์นี้เป็นจอมเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่งในจำนวน 8 องค์ของประเทศไทย ที่มีอายุมายาวนานกว่าพันปี และในตำนานพระธาตุประจำปีเกิดของนักปราชญ์ทางเมืองเหนือกล่าวว่า คนเราเกิดมาในโลกนี้เมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว ดวงวิญญาณจะไปสถิตอยู่ตามพระธาตุเจดีย์ต่างๆ ตามปีเกิด และ เมื่อขณะที่ยังมีชีวิตอยู่หากได้ไปนมัสการยังพระธาตุประจำปีเกิดแล้ว ถือว่าได้บุญกุศลและทำให้มีอายุยืนนาน พระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนที่เกิดปีระกา หรือ ปีไก่
จุดน่าสนใจ ของ วัดพระธาตุหริภุญชัย
พระบรมธาตุหริภุญไชย
ไฮไลท์สำคัญประจำ วัดพระธาตุหริภุญชัย ! นั่นก็คือ “พระบรมธาตุหริภุญชัย” เจดีย์ไทยๆ สไตล์ล้านนา ที่มีการออกแบบมาอย่างสวยงามตามฉบับเมืองล้านนากันเลย ภายในบรรจุพระเกศบรมธาตุบรรจุในโกศทองคำ ประดิษฐานในพระเจดีย์ ประกอบด้วยฐานปัทม์ แบบฐานบัวลูกแก้ว ย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้น ตั้งรับองค์ระฆังกลม บัลลังก์ย่อเหลี่ยม
ตัวเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับ พระธาตุดอยสุเทพ ที่จังหวัดเชียงใหม่ สูง 25 วา 2 ศอก ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก 1 คืบ มีสัตติ- บัญชร (รั้วเหล็กและทองเหลือง) 2 ชั้น สำเภาทอง ประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือ และทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม และหอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ บรรจุพระพุทธรูป นั่งทุกหอ นอกจากนี้ยังมีโคมประทีป และแท่นบูชาก่อประจำไว้ เพื่อเป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชน
ซุ้มประตู
ก่อนที่เราจะเข้าไปภายในบริเวณวัด จะต้องเดินผ่านซุ้มประตูด้านหน้าก่อน ซึ่งซุ้มประตูนี้ก็ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว เป็นซุ้มประตูที่ก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร เป็นฝีมือโบราณแบบสมัยศรีวิชัย ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็นชั้นๆ เบื้องหน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่า บนแท่น สูงประมาณ 1 เมตร สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช เมื่อทรงถวายวังให้เป็นสังฆาราม
วิหารหลวง
หลังจากที่เดินผ่านซุ้มประตูกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราจะได้พบกับวิหารหลังใหญ่ที่เรียกกันว่า “วิหารหลวง” วิหารหลังนี้มีระเบียงอยู่รอบด้าน และมีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังเสียหายไปเมื่อ พ.ศ.2466
วิหารหลวง ใช้สำหรับเป็นที่บำเพ็ญกุศล และประกอบศาสนากิจทุกวันพระ ภายในวิหารประดิษฐานพระปฏิมาใหญ่ ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง บนแท่นแก้วรวม 3 องค์ และพระพุทธ ปฏิมาหล่อโลหะขนาดกลางสมัยเชียงแสน ชั้นต้น และชั้นกลางอีกหลายองค์
สุวรรณเจดีย์หรือปทุมวดีเจดีย์
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะการก่อสร้างแบบเดียว กับ เจดีย์สี่เหลี่ยมหรือเจดีย์กู่กุดที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน องค์เจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทมีฐานสี่เหลี่ยมซ้อนขึ้นไปห้าชั้น แต่ละชั้นประดับซุ้มจระนำทั้งสี่ด้าน ด้านละสามซุ้ม
ภายในซุ้มจะประดิษฐานพระพุทธรูปดินเผาประทับยืนประทับอยู่ ซึ่งมีร่องรอย ของการลงรักปิดทอง ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงไม่กี่องค์ ส่วนบนสุดของเจดีย์เป็นกลีบบัวปูนปั้นหุ้มด้วยโลหะแผ่น ส่วนยอดปลายสุดทำเป็น กรวยแหลมเรียวยาวขึ้นไปสุวรรณเจดีย์องค์นี้มีพระพิมพ์ที่สำคัญและ มีชื่อเสียงของเมืองลำพูนบรรจุอยู่ภายใน คือ พระเปิม
หอระฆัง
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นหอสำหรับแขวนระฆังและกังสดาลขนาดใหญ่ สร้างขึ้นโดย พระครูพิทักษ์เจติยานุกิจ (ครูบาคำฟู) เมื่อ พ.ศ.2481 ด้านบนแขวนระฆังขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นในสมัยเจ้าหลวงดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 และชั้นล่างห้อยกังสดาลขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ.2403 ฝีมือครูบาสูงเม่นโดยกัญจนมหาเถระ เจ้าอาวาส วัดป่าเมืองแพร่ และเจ้าหลวงเมือง เชียงใหม่ เป็นศรัทธาสร้างหล่อกังสดาลนี้ ในวัดพระสิงห์เมืองเชียงใหม่เพื่อไว้เป็นเครื่องบูชาพระธาตุหริภุญชัย
นอกจากนั้น ภายในวัดยังจัดแสดงวัตถุโบราณที่อาคารพิพิธภัณฑ์ 50 ปี ทางด้านในจัดแสดงวัตถุโบราณและสิ่งของต่างๆ มากมาย และยังมีโบราณสถานที่สำคัญอีกหลายอย่าง ไห้เราได้กราบไหว้บูชา ไม่ว่าจะเป็น วิหารพระเจ้าทันใจ, วิหารพระเจ้าองค์แดง, รอยพระพุทธบาทสี่ดวง, วิหารพระนอน
เทศกาลสำคัญ ประจำ วัดพระธาตุหริภุญชัย
ประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย
งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย งานนมัสการครั้งสำคัญของวัดพระธาตุหริภุญชัย ซึ่งจะจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 หรือ วันวิสาขบูชา นั่นเอง น้ำที่ใช้สรง นำมาจากบ่อน้ำทิพย์บน ยอดดอยขะมัอ นอกจากนี้ยังมีการแสดงทางวัฒนธรรม ตอนกลางวันจะเป็นประกวด ตีกลองสะบัดชัย และกลางคืนจะมีการประกวดฟ้อนยอง ฟ้อนเล็บ
เทศกาล “โคมแสนดวงลำพูน”
เชื่อว่าเทศกาลนี้น่าจะถูกใจหลายๆ คน โดยเฉพาะเหล่าช่างภาพที่ต้องการเก็บภาพสวยๆ ไปไว้ในคอลเล็กชั่น ซึ่งเทศกาลโคมแสนดวง ถือเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีลอยกระทงหรือประเพณียี่เป็ง ซึ่งเป็นประเพณีที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานและเป็นที่รู้จักกันดีทั้งกับนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ
เป็นการถวายโคมแสนดวง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาต่อองค์พระธาตุเจ้าหริภุญชัย และเพื่อเคารพสักการะพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งเมืองลำพูน เมื่อถึงงานเทศกาลยี่เป็ง ชาวล้านนาจะนิยมประดับประดับตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงาม ด้วยการจุดผางประทีปหรือประดับโคมไฟให้สว่างสดใสตลอดช่วงเทศกาล
ทั้งนี้ชาวล้านนาเชื่อว่าการทำโคม เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าที่ประทับ บนสรวงสวรรค์ และแสงประทีปจากโคมจะช่วยส่องประกายให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง อยู่เย็นเป็นสุข
คาถาบูชา พระบรมธาตุหริภุญชัย
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
สุ วัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฏฐัง วะระโมลีธารัง อุรัฏฐิเสฏฐังสะหะอังคุลิฏฐิง กัจจายะเนนา นิตะปัตตัปปะรัง สีเสนะ มัยหังปะระมามิ ธาตุง อะหัง วันทามิ สัพพะทา
การเดินทาง
เดินทางมาบนถนนสายเอเชียมุ่งตรงมายังตัวจังหวัดลำพูนพอถึงตัวเมืองก็ใช้เส้นทาง ถนนเจริญราษฎร์ วัดตั้งอยู่ติดริมถนนหาง่าย หลังจากนั้นก็เดินทางกลับมาไหว้พระนางจามเทวีโดยใช้ถนนเส้นเดียวกัน เดินทางโดยรถประจำทาง มีรถประจำทางวิ่งจากกรุงเทพเข้าตัวเมืองลำพูนทุกวัน จากนั้นก็ใช้บริการรถท้องถิ่นเข้าไปยังตัววัด
ที่ตั้ง : ถนนอินทยงยศ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000
เบอร์โทร: 089-955-2174
Facebook : วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน
สรุป
วัดพระธาตุหริภุญชัย ปูชนียสถานสำคัญของชาวล้านนา ที่อยู่คู่กับเมืองลำพูนมาอย่างยาวนาน ตั้งอดีตจนถึงปัจจุบันมานานกว่าพันปี ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีถนนล้อมรอบทั้งสี่ด้าน คือ ถนนอัฏฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทาง ทิศตะวันออก นอกจากนั้น ยังเป็นองค์พระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีระกาหรือปีไก่ ใครที่เกิดปีระกา ต้องไม่พลาดมาเที่ยวชมที่นี่
ก่อนจากกันไป ใครที่อยากอ่านบทความดีๆ เด็ดๆ ทั้งเรื่องความเชื่อ แรงศรัทธา ทำนายฝัน ดูดวง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สูตรหวย สถิติหวย เลขเด็ด เราได้ทำการรวบรวม เรื่องดี เรื่องดัง เรื่องน่าสนใจ มาให้ทุกท่านไว้แล้วที่นี่ที่เดียว ไม่ต้องเสียเวลาหาเยอะแยะ มาพบกับพวกเราได้ในทุกวันที่ Ruay365.com