เยี่ยมชมสถานที่มรณภาพพระสายหลวงปู่มั่น 5 รูป จากเครื่องบินตก ที่ วัดป่าห้าพระองค์ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งสถานที่แห่งนี้ ก็มีประวัติความเป็นมาที่ไม่ธรรมดา ดังในเรื่องของสถานที่ปฏิบัติธรรม นั่งวิปัสสนากรรมฐาน และ เป็นอนุสรณ์สถานให้กับพระกรรมฐานทั้ง 5 รูปของสาย อาจารย์มั่นภูริทัตโต มีผู้คนจำนวนไม่น้อย ที่สงสัยในประวัติและความเป็นมาของวัดแห่งนี้ Ruay 365 จะมาเฉลยให้กับทุกคนที่นี่แล้วค่ะ
สารบัญ
Toggleประวัติวัดป่าห้าพระองค์
วัดป่าห้าพระองค์ จังหวัดปทุมธานี เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมนั่งวิปัสสนากรรมฐาน และ อนุสรณ์สถานให้กับพระกรรมฐานทั้ง 5 รูปของสายอาจารย์มั่นภูริทัตโต โดยตั้งอยู่ ที่ระหว่าง คลองแอนคลองสาม ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นสถานที่ที่มีความสงบเงียบเหมาะสำหรับการปฏิบัตินั่งกรรมฐาน ในวันสำคัญต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา จะมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก มานั่งปฏิบัติธรรมนั่งวิปัสสนากรรมฐานกัน
ตามประวัติความเป็นมาในการสร้างวัดนั้น ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์จากเหตุการณ์เครื่องบินตก ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2523 ซึ่งพระกรรมฐานสายอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่มรณภาพทั้งหมด ได้แก่ พระอาจารย์ วัน อุตตโม, พระอาจารย์บุญมา ฐิบเปโม, พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร, และพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม ได้รับอาราธนาจากทางกรุงเทพฯ ให้มารวมตัวกัน ที่ จังหวัดอุดรธานี เพื่อขึ้นเครื่องบิน ทางลูกศิษย์ ต้องการถวายความสะดวกสบาย พร้อมทั้งความรวดเร็วในการเดินทาง
พระกรรมฐานทั้ง 5 องค์ ได้ขึ้นเครื่องในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2523 ขณะเครื่องบินเดินทางมาถึงจังหวัดปทุมธานี ก็ได้มีการลดเพดานบินลง เพื่อเตรียมเข้าสู่สนามบิน แต่ได้เกิดพายุหมุน ฝนตกหนัก จึงทำให้เครื่องบินได้รับความเสียหาย เกิดเสียหลัก ตกลงที่บริเวณคลองแอนระหว่างคลองสาม-คลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พระอาจารย์ทั้ง 5 รูป ได้มรณภาพทั้งหมด รวมถึงผู้โดยสารที่มากับเที่ยวบินดังกล่าว แต่คาดว่าน่าจะรอดชีวิตเพียง 2 คน
เหตุการณ์ดังกล่าว สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้กับบรรดาพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก รวมไปถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ฯ พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ วัดป่าห้าพระองค์ เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2555 โดยพระครูปลัดคณเชษฐ์พงษ์ สิริวโส เจ้าอาวาสวัดองค์ปัจจุบัน พร้อมกันนี้ วัดป่าห้าพระองค์ ยังทำการก่อสร้างสิ่งต่างๆ ภายในวัดอย่างต่อเนื่อง มาจนถึงทุกวันนี้ เพื่อให้เป็นสถานปฏิบัติธรรมของญาติโยมในจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดใกล้เคียงที่จะได้ปฏิบัติธรรมได้อีกต่อไป
ออกเดินทางตามรอยพระอริยะเจ้า 5 พระองค์
พระกรรมฐานสายอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ทั้ง 5 พระองค์ ได้แก่
1)พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ (วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย)
พระอาจารย์จวน ได้รับฉายาว่า “กุลเชฏฺโฐ” แปลว่า พี่ชายใหญ่ที่สุดในวงศ์ตระกูลนี้ ท่านได้ศึกษาและปฏิบัติตามจิต จนเข้าถึงสมาธิ มีความสุขมาก มีเวลาว่างเมื่อไหร่ท่านมักนั่งสมาธิ ในปี พ.ศ..2488 ท่ายได้ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และทำการศึกษาเพียง 5 พรรษา นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ชอบปลีกวิเวกไปบำเพ็ญสมณธรรมตามป่าเขาเงื้อมถ้ำและพลายหิน ทั้งในภาคอีสานและภาคเหนื อรวมถึงพม่า และได้สร้างวัดภูทอกขึ้นมา เคยร่วมธุดงค์พร้อมกับจำพรรษากับ หลวงปู่ขาว อนาลโย ที่ วัดถ้ำกลองเพล ไม่เพียงเท่านั้น ท่านยังเคยนำชาวบ้านไปสร้างถนนหนทาง สะพาน สระน้ำ ฝาย อ่างเก็บน้ำ และไร่น่า เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย
2)พระอาจารย์วัน อุตฺตโม (วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร)
ท่านได้บวชเป็นสามเณร ที่ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่ วัดสร่างโศก บ้านโนนยาง จังหวัดยโสธร เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนจนจบนักธรรมชั้นเอก เกิดความคิดอยากเรียนทางด้านบาลี แต่ไม่มีครูสอน จึงคิดออกปฏิบัติธรรม และ ได้ถวายตัวเป็นสิทธิ์ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต วัดหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ท่านเป็นนักปฏิบัติธรรมมาโดยตลอดแต่ไม่ค่อยสบายเมื่ออยู่บริเวณพื้นที่ราบ จึงมีความคิดว่า จะออกไปปฏิบัติธรรมบนภูเขา และได้เดินทางมาทางภูผาเหล็ก อาศัยอยู่ในถ้ำพ่อคำพาได้ พร้อมก่อตั้งวัดทำพวง (วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม) บนภูผาเหล็กในเวลาต่อมา
3)พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม (วัดป่าประสิทธิ์สามัคคี ตำหนักบ้านต้าย อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร)
ขณะที่ท่านอายุได้ 12-13 ปี ท่านได้พบกับ พระอาจารย์บุญทัน ฐิติปุญฺโญ และ หลวงพ่อนิล ญาณวีโร พ่อของพระอาจารย์บัญยัง ผลญาโณ ซึ่งเป็นพระธุดงค์กรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ได้ธุดงค์มาพักบำเพ็ญภาวนา ที่ ปราสาทหินบ้านดินมนต์ โยมพ่อได้นำพระอาจารย์สุพัฒน์ไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์ทั้งสอง เพื่อคอยรับใช้อุปัฏฐากติดตามท่าน พออายุของท่านครบ 16 ปี พระอาจารย์บุญทันก็ได้นำเอาท่านไปบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโยธาประสิทธื์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดหลวงสุมังคลารม อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีพระครูสิริสารคุณ(อิ่ม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์สาย เป็นพระกรรมวาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์ได้รับนามฉายาว่า สุขกาโม ซึ่งแปลว่า ผู้ใคร่ความสุข
4)หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม (วัดสิริสาลวัน ตำบลโนนทัน อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู)
เมื่ออายุครบ 19 ปี หลวงปู่บุญมาได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดหนองอีมาตร บ้านก่อ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านได้ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งปฏิบัติภาวนารักษาจิตใจท่านไปด้วย เมื่อบวชเป็นพระ ท่านก็ได้รับความเมตตาจาก พระอาจารย์บุญปัญญาวุโธ โดยพระอาจารย์เป็นพระกรรมฐานที่ได้รับการอบรมธรรมมาจากท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เดินติดตามเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ถึง 3 พรรษา ระยะหลังๆ ท่านได้มีโอกาสเข้าไปมอบกายถวายตัวเป็นศิษย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ติดตามออกเดินธุดงค์เพื่อแสวงหาสัจธรรมตามป่าเขา ได้ใกล้ชิดกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นานถึง 6 พรรษา นับได้ว่าท่านเป็นศิษย์อาวุโสของหลวงปู่มั่นองค์หนึ่ง
5)หลวงปู่สิงห์ทอง ธมฺมวโร (วัดป่าแก้วชุมพล ตำบลบ้านชุม อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร)
โยมแม่ของหลวงปู่สิงห์ทองเคยเล่าว่า ก่อนที่จะปฏิสนธิ โยมแม่ฝันว่า มีคนเอาห่อของไปให้แล้วบอกโยมแม่ของท่านว่า นี้เป็นของฝากจากเทวดา ให้เก็บรักษาเอาไว้ เมื่อเปิดออกดูเป็นซ้องกับหวี ต่อมาโยมแม่ของท่านก็ตั้งท้อง เมื่อท่านอายุครบ 20 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดป่าสำราญนิเวศน์ ตำบลบ้านบุ้ง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีท่านพระครูทัศนวิสุทธิ์ (พระมหาดุสิต เทวิโร) เป็นพระอุปชฌาย์ ท่านเคยอดอาหารติดต่อกันเป็นเวลา 14 วัน เพื่อทำความเพียรให้จิตสงบในช่วงเวลาที่อดอาหารนั้น ท่านได้ทำวัตรคือตักน้ำใส่ตุ่ม ใส่โอ่ง ใส่ไห ให้ครูบาอาจารย์ในวัดทุกวัน โดยท่านตั้งใจไว้ว่า ตราบใดที่ยังรู้สึกว่าการหาบน้ำยังหนักอยู่ จะไม่ยอมหยุด จะทำอยู่อย่างนั้น
ไฮไลท์ประจำวัดป่าห้าพระองค์ จาก Ruay 365
รูปปั้นหลวงปู่มั่นขนาดใหญ่
เมื่อขับรถเข้ามาในตัววัด ทุกท่านจะได้พบกับ รูปปั้นหลวงปู่มั่นขนาดใหญ่ เด่นอยู่เหนือตัวศาลา ใครผ่านไป ผ่านมา ก็สามารถมองเห็นได้จากที่ไกลๆ
ศาลาการเปรียญ
ภายในศาลาการเปรียญ เมื่อเดินเข้าไป จะพบเข้ากับ รูปหล่อพระกรรมฐานสายอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ทั้ง 5 พระองค์
การเดินทางไปวัดป่าห้าพระองค์
การเดินทางโดย รถยนต์
จังหวัดปทุมธานี อยู่ติดกับกรุงเทพฯ ด้วยถนนหลายสาย จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดปทุมธานีได้ทั้งหมด 5 เส้นทาง ดังนี้
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) หรือถนนวิภาวดีรังสิต หรือโทลล์เวย์ จนถึงรังสิต แล้วแยกซ้ายเข้าใช้เส้นทางหมายเลข 346 (รังสิต-ปทุมธานี) จนถึงอำเภอเมืองปทุมธานี
- ใช้ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (ทางพิเศษอุดรรัถยา) ออกจากทางด่วนที่ทางออกบางพูน-รังสิต แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 346 (รังสิต-ปทุมธานี) จนถึงอำเภอเมืองปทุมธานี
- ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปากเกร็ด-ปทุมธานี
- ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-บางใหญ่-บางบัวทอง-ลาดหลุมแก้ว-ปทุมธานี
- ใช้ถนนวงแหวนตะวันออก ออกที่ทางออกรังสิต แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 305 (รังสิต-นครนายก) เลียบคลองรังสิตมุ่งหน้าไปยังรังสิต แล้วใช้สะพานต่างระดับข้ามถนนพหลโยธินเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 346 (รังสิต-ปทุมธานี) ไปจนถึงอำเภอเมืองปทุมธานี
การเดินทางโดย รถประจำทาง
จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและธรรมดา ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถร่วมบริการมายังจังหวัดปทุมธานีหลายสาย เช่น
- สาย 33 สนามหลวง-ปทุมธานี
- สาย 90 รัชโยธิน-ท่าน้ำปทุมธานี
- รถไปถึงรังสิตหลายสาย ได้แก่ สาย 29, 34, 39, 59, 95, 185, 503, 510, 513, 520, 522, 529, 534, 539 และสาย 559 เมื่อลงรถที่รังสิตแล้วต่อรถสายรังสิต-ปทุมธานี
การเดินทางโดย รถตู้ปรับอากาศ
มีรถตู้ร่วมบริการวิ่งจากตัวเมืองกรุงเทพฯ ถึงรังสิตหลายสาย โดยรถจะจอดอยู่ตามคิวรถต่างๆ เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สวนจตุจักร หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว ตลาดมีนบุรี ฯลฯ และจอดรับส่งผู้โดยสารตลอดเส้นทางตามป้ายรถโดยสารประจำทาง
สรุป
วัดป่าห้าพระองค์ จังหวัดปทุมธานี ถือเป็นอีกวัดที่ดังมาก สำหรับสายปฏิบัติธรรม นั่งวิปัสสนากรรมฐาน มีความสงบ ไม่วุ่นวาย แม้จะอยู่ใกล้กับเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ แต่มีความสงบมากกว่า และยังเป็นสถานที่ที่เครื่องบินของพระกรรมฐานสายอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ทั้ง 5 พระองค์ตกอีกด้วย แม้ข่าวนี้จะทำให้ผู้คนเสียใจกันเป็นอย่างมาก แต่ในอีกทาง ก็ทำให้เกิดแรงศรัทธาและสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมา
ก่อนจากกันไป ใครที่อยากอ่านบทความดีๆ เด็ดๆ ทั้งเรื่องความเชื่อ แรงศรัทธา ทำนายฝัน ดูดวง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สูตรหวย สถิติหวย เลขเด็ด เราได้ทำการรวบรวม เรื่องดี เรื่องดัง เรื่องน่าสนใจ มาให้ทุกท่านไว้แล้วที่นี่ที่เดียว ไม่ต้องเสียเวลาหาเยอะแยะ มาพบกับพวกเราได้ในทุกวันที่ Ruay 365