นอกเหนือจากการเกณฑ์ทหารเมื่ออายุครบ 21 ปีแล้ว หนึ่งในหน้าที่ของชายไทยทุกคนที่นับถือศาสนาพุทธควรถือปฏิบัติ ก็คือการอุปสมบทหรือการบวชนาค เพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูต่อบุพการี แต่ว่ากันตามตรงประเด็นที่ว่าจำเป็นไหมที่ลูกชายทุกคนต้องบวชเพื่อพ่อแม่ บางคนบวชบางคนก็ไม่บวช การบวชนั้นดีอย่างไร ทำไมชาวพุทธถึงอยากให้ลูกชายบวชพระกัน วันนี้ Ruay จะพาทุกคนไปดู อานิสงส์ของการบวช กันว่าส่งผลดีอย่างไรบ้าง
สารบัญ
Toggleการบวชเณร และบวชพระ ต่างกันอย่างไร
ก่อนจะไปพูดถึงอานิสงส์ของการบวชนั้น เราไปทำความเข้าใจคำว่า “บวช” กันก่อนดีกว่า “บวช” มาจากภาษาบาลี “ปพฺพชฺชา” ซึ่งหมายถึง “บรรพชา” แปลว่า เว้นทั่ว ในที่นี่หมายถึง การงดเว้นจากความชั่วทั้งปวง
เราจะเรียกผู้ที่ถือบวชในพุทธศาสนาว่า พระ ภิกษุ หรือบรรพชิตก็ได้เช่นเดียวกัน ทว่าจริง ๆ แล้วคำว่า “การบวช” ที่เราพูดกันนั้น ไม่ได้ความความถึงแค่การ “บรรพชา” เท่านั้น แต่หมายถึงคำว่า “อุปสมบท” ด้วย โดยการบวชในพุทธศาสนาแยกได้ 2 ประเภท
การบรรพชา บวชเณร
การ “บรรพชา” หมายความว่า บวชเป็นเณร ผู้บวชจะต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และถือศีล 10 ผู้ที่จะบวชเป็นเณรได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- ต้องรู้เดียงสา คือมีอายุตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป
- ไม่เป็นโรคติดต่อ หรือโรคร้ายแรงเช่น โรคเรื้อน โรคฝีดาษ โรคกลาก โรคมงคร่อ หอบหืด ลมบ้าหมูและโรคที่สังคมรังเกียจอื่น ๆ
- ไม่เป็นผู้มีอวัยวะบกพร่อง หรือพิการ เช่น มือด้วน แขนด้วน ขาเป๋ ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ เป็นง่อย
- ไม่เป็นคนมีอวัยวะไม่สมประกอบ เช่น เตี้ยเกินไป สูงเกินไป คนคอพอก
- ไม่เป็นคนทุรพล เช่น แก่เกินไป ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
- ไม่เป็นคนมีพันธะ คือ คนที่บิดามารดาไม่อนุญาต คนมีหนี้สินล้นพ้นตัว ข้าราชการที่ไม่ได้รับอนุญาต
- ไม่เป็นคนเคยถูกลงอาญาหลวง เช่น คนถูกสักหมายโทษ คนถูกเฆี่ยนหลังลาย
- ไม่เป็นคนประทุษร้ายความสงบ เช่น เป็นโจรผู้ร้ายต้องอาญาแผ่นดิน
การอุปสมบท บวชพระ
การ “อุปสมบท” หมายความว่า บวชเป็นพระ ผู้บวชจะต้องมีอายุครบ 20 ปี และถือศีล 227 ข้อ ซึ่งการอุปสมบทหรือการบวชเป็นพระภิกษุที่ใช้มาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันมี 3 วิธี ได้แก่
- เอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นการอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประทานให้โดยตรง ด้วยการที่พระองค์กล่าวว่า “จงเป็นภิกษุมาเกิด” วิธีการบวชลักษณะนี้ จึงมีแค่ในสมัยพุทธกาลเท่านั้น
- ติสรณคมนูปสัมปทา เป็นการบวชด้วยการปฏิญาณตนต่อพระไตรสรณคมณ์ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ วิธีการบวชลักษณะจะเห็นจากพระสงฆ์พระพระอาจารย์บวชให้กับนาค
- ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา เป็นลักษณะของการบวช โดยให้พระสงฆ์ทั้งหมดประชุมกันในอุโบสถ จากนั้นจะมีพระสงฆ์รูปหนึ่งแจ้งว่าขอบวชในที่ประชุม 4 ครั้ง ถ้าไม่มีใครค้าน แปลว่าบวชได้
บวชชี ปลงผมกับไม่ปลงผม แตกต่างกันอย่างไร
นอกจาการบวชพระและบวชเณรแล้ว ยังมีการบวชชีหรือบวชพราหมณ์ของสุภาพสตรีด้วย …ว่ากันว่าในสมัยพุทธกาล ไม่มีการบวชชีบัญญัติไว้ในพระพุทธศาสนา แต่จุดเริ่มต้นมากจากอุบาสิกาผู้ใคร่จะถือศีลให้สะดวก หนักแน่นกว่าการเป็นฆราวาส จึงกระทำตนให้เป็นนักบวช เรียกว่า “บวชชี” ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่นักบวชในพระศาสนา แต่เป็นเพียงอุบาสิกาที่เพียรประพฤติศีลให้เข้าถึงความมั่นคงนั่นเอง
ส่วนการปลงผม ไม่ปลงผมนั้นก็ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่ กล่าวคือมีการรักษาศีล 8 เช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าผู้ปลงผม จะเป็นผู้ที่ตั้งใจอยู่ประพฤติพรหมจรรย์แบบถาวร ส่วนผู้ที่ยังไม่ถาวรก็ไม่ปลงผมนั่นเอง
ศีล 8 หรือศีลอุโบสถ ประกอบด้วย 1.การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต 2.การไม่ลักทรัพย์ ขโมยของผู้อื่น 3.) การไม่ประพฤติผิดในกาม 4.) การไม่พูดโป้ปด 5.) การไม่อื่มสุราและของมึนเมา 6.) การไม่บริภาคในยามวิกาล 7.) การไม่ฟ้อนรำ ทำเพลง เว้นจากการแต่งองค์ทรงเครื่อง และ8.) การไม่นั่งหรือนอนที่นอนนุ่มหรือสูงจากพื้น
วชาวุทธทั่วไป มักจะถือศีล 8 ในวันพระใหญ่ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา เป็นต้น
ทำให้มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเมตตาต่อชีวิตผู้อื่น เป็นผู้ไม่มีความละโมบ ครอบครัวรักใคร่กลมเกลียว ปรองดองกันดี ไม่มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้ง เป็นต้น
อานิสงส์ของการบวช
องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า… การอุปสมบทบรรพชามีอานิสงส์พิเศษกว่าการทำบุญรูปแบบอื่น ไม่ว่าจะเป็นการถวายสังฆทาน ทอดกฐิน สร้างโบสถ์สร้างศาลา การทำบุญเหล่านี้จะได้อานิสงส์ก็ต่อเมื่อผ่านการโมทนาเท่านั้น แต่ว่าการอุปสมบทบรรพชา “สมมติว่าบุตรชายของท่านผู้ใดออกจากครรภ์มารดาวันนั้น บิดามารดาก็จากกัน ลูกกับพ่อแม่ย่อมไม่รู้จักกัน เวลาที่อุปสมบทบรรพชานั้น บิดามารดาไม่ทราบ แต่บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์นั้นโดยสมบูรณ์ การอุปสมบทบรรพชาจึงจัดว่าเป็นกุศลพิเศษนั่นเอง
เมื่อนำมาจำแนกดูแล้ว เราจึงสามารถแบ่งอานิสงส์ของการบวชได้ 2 ประการ
ประการที่ 1 อานิสงส์หลัก
- กรณีของผู้ที่หมดกิเลส สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ย่อมได้อานิสงส์คือ ทุกข์เก่าหมด ทุกข์ใหม่ไม่เกิด หมดกิเลส
- มองถึงด้านคุณธรรมในตัวของผู้บวช ทำให้ตัวเองเป็นผู้มีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ จะได้น้ำใจงาม ที่เรียกว่า เป็นคนมีน้ำใจ เป็นผู้มีปัญญา
ประการที่ 2 อานิสงส์พลอยได้
- อานิสงส์ที่เกิดแก่ผู้อื่น เช่น พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ทำให้คนเหล่านี้ได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนามากขึ้น ได้ฟังธรรมมากขึ้น จากการไปเยี่ยมเยียนพระลูก นอกจากนี้อุปนิสัยที่ถูกขัดเกลาระหว่างที่บวช รวมถึงคำสั่งสอนต่าง ๆ ที่ได้ก็จะตกไปสู่ครอบครัว ผ่านตัวพระลูกด้วย
- อานิสงส์ทางธรรม เป็นผู้สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา
สรุปส่งท้าย
จึงอยากย้ำกับชาว Ruay ทุกท่านไว้อีกครั้งว่าการสร้างบุญสร้างกุศลยิ่งใหญ่ไม่จะจำเป็นที่ต้องเป็นผู้นุ่งขาวห่มขาวหรือห่มผ้าเหลือง เช่นเดียวกับภิกษุ สามเณร หรือแม่ชี เท่านั้น คนธรรมดาก็สามารถสร้างได้เช่นเดียวกัน ขอแค่มีความจริงใจ ศรัทธา และตั้งมั่นในการรักษาศีล เจริญจิตภาวนาอยู่เสมอ รวมไปถึงการทำบุญทำทานรูปแบบอื่นๆ เช่น การให้ทานกับคนยากไร้ การปล่อยสัตว์ ปล่อยปลา การทำบุญตักบาตร ก็จะสามารถสั่งสมเสบียงบุญ เพื่อนำไปใช้ในยามที่ตนเองหมดลมหายใจได้
บทความที่เกี่ยวข้อง