คงจะทราบกันดีอยู่ว่าประชากรในไทยนั้นโดยส่วยใหญ่จะนับถือ ศาสนาพุทธ ซึ่งก็ถือเป็นศาสนาประเทศ ทั้งนี้ เราจะเห็นได้ว่าตามวัดวาต่าง ๆ จะมีพระพทุธรูปให้พุทธศาสนิกชนกราบไหว้บูชา ซึ่งในแต่ละวัดจะมีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ให้กราบไหว้ รวมไปถึงพระพุทธรูปประจำวันเกิด รู้กันหรือไม่ว่า ที่มา พระพุทธรูป ปางต่าง ๆ มาอย่างไร
การสร้างของพระพุทธรูปแต่ละปางไม่มีปรากฎสมัยที่แน่ชัด กล่าวกันว่าการสร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เป็นความเชื่อของคนสมัยก่อนที่จะหาที่พึ่งทางใจ เป็นคติเตือนใจให้กับเหล่าพุทธศาสนิกชน นำมาผนวกกับพุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร ตามแอดมา จะพาไปหาที่มาของพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์กับสายบุญทุกท่าน
สารบัญ
Toggleพระราชปรารภ ในหลวงรัชกาลที่ 9
พระพุทธรูปปางอธิษฐานเพศบรรพชิต
พระพุทธรูปปางอธิษฐานเพศบรรพชิต เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) เบนฝ่าพระหัตถ์ไปทางซ้าย อันเป็นกิริยาสำรวมจิตอธิษฐานของเพศบรรพชิต
ที่มาของปางอธิษฐานเพศบรรพชิต
เป็นเหตุการณ์เมื่อตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกเขตเมืองกรุงกบิลพัสดุ์ กระทั่งมาถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ก็ลงจากหลังม้า นั่งบนหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำ พร้อมกับบอกนายฉันนะว่า พระองค์จะบวชเป็นบรรพชิตที่นี่ ให้นายฉันนะเอาเครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย และม้ากัณฐกลับกรุงกบิลพัสดุ์ โดยพระพุทธองค์มีความตั้งมั่นว่า จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทะเจ้า แล้วจึงจะกลับมาเทศนาให้กัญาติ ๆ
พระพุทธรูปปางรับมธุปายาส
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิแบพระหัตถ์ทั้งสองยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยารับถาดข้าวมธุปายาส บางครั้งเราจะเห็นพระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอิริยาบถนั่งห้อยพระบาท (เท้า)
ที่มาของปางรับมธุปายาส
เป็นเหตุการณ์ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (ปีระกา) ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าอายุครบ 35 ปี ในวันนั้นนางสุชาดา ลูกสาวของเศรษฐีคนหนึ่งในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้ถวายถาดทองคำบรรจุข้าวมธุปายาส แก้บนรุกขเทวดาที่ต้นไทรใหญ่ พอเห็นพระพุทธเจ้านั่งเจริญภาวนาอยู่ใต้ต้นโพธิ์ พร้อมมีแสงสีทองแผ่ขยายไปทั่วทุกพื้นที่ก็นึกว่าเทวดาเลยนำข้าวมธุปายาสไปถวายพร้อมกับถาดทองคำ ซึ่งพระองค์ก็ทรงแบพระหัตถ์ทั้งสองรับ
เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง เนืองจากเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 หรือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะนั่นเอง
หลากหลายวันมาก ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันพระใหญ่ วันอัฏฐมีบูชา
วันถวายพระเพลิง หรือภาษาชาวบ้านเราเรียกว่าวันเผาร่างของพระพุทธเจ้า หลังจากที่ดับขันธ์ปรินิพพานได้ 8 วัน โดยวันนี้ตรงกับวัน แรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย)
พระพุทธรูปปางรับหญ้าคา
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายื่นออกมาข้างหน้า เป็นกิริยาทรงรับหญ้าคา ขณะที่บางแบบอยู่ในอิริยาบถถือหญ้าคา
ที่มาของปางรับหญ้าคา
เป็นเหตการณเมื่อตอนที่พระพุทธเจ้าเห็นถาดลอยทวนน้ำดังคำอธิษฐานก็รู้สึกดีใจ ตกบ่ายระหว่างเดินกลับไปยังต้นโพธิ์ได้เจอกับโสตถิยพราหมณ์ถือหญ้ากุสะ (หญ้าคา) 8 กำ พรหมณ์คนนั้นรู้สึกเลื่อมใสในตัวพระพุทะเจ้าจึงถวายหญ้ากุสะทั้ง 8 กำให้
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ (เข่า) นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี บางที่มีแม่พระธรณีนั่งบีบมวยผมประกอบส่วนมากจะเห็นในโบสถ์ตามวัดวาอาราม
ที่มาของปางมารวิชัย
เมื่อครั้งตอนที่พระพุทะเจ้าประทับใต้ต้นโพธิ์ หรือ ณ โพธิบัลลังก์ มีพญามารประทับบนหลังช้างคีรีเมขล์ 150 โยชน์ ยกทัพมาเพื่อตั้งใจจะทำลายความพยายามที่จะบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า แต่พระองค์ไม่ได้รู้สึกหวาดกลัว ต่อสู้กับศัตรูเหล่านั้นจนแพ้ไปอย่างราบคาบ
พระพุทธรูปปางถวายเนตร
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระเมตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ข้างหน้าระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมอยู่บนพระหัตถ์ซ้าย ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์
ที่มาของปางถวายเนตร
หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ดวงตาเห็นธรรม ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ยังประทับเสวยสุขที่เกิดจากการหลุดพ้นอยู่ใต้ต้นโพธิ์ 7 วัน แล้วค่อยออกไปยืนกลางแจ้ง ฝั่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นโพธิ์ แล้วได้ยืนมองต้นโพธิ์แบบไม่กะพริบตาอยู่อย่างนั้น 7 วัน เพื่อเป็นการบูชาพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่บริเวณนี้ปัจจุบันเรียกว่า “อนิมิสเจดียสถาน”
พระพุทธรูปปางเรือนแก้ว
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิในเรือนแก้ว พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางคว่ำที่พระชานุ (เข่า) บางครั้งอาจจะเห็นเป็นพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา หรือพระอิริยาบถขัดสมาธิเพชรในเรือนแก้ว
ที่มาของปางเรือนแก้ว
หลังครัสรู้ได้ 4 สัปดาห์ พระพุทธเจ้า ก็ได้มานั่งสมาธิ ณ เรือนแก้ว ที่เทวดาเนรมิตถวายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระพุทธเจ้าได้นั่งอยู่ในนี้เป็นเวลา 7 วัน เรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “รัตนฆรเจดีย์”
พระพุทธรูปปางนาคปรก
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขดร่างเป็นพุทธบัลลังก์ และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร
ที่มาของปางนาคปรก
หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ออกจากต้นโพธิ์ ก็ได้ไปประทับที่ใต้ต้นมุจลินทร์ (ต้นจิก) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ อยู่ดี ๆ พญานาคราชชื่อมุจลินทร์ ราชาแห่งนาคพิภพก็ได้ขึ้นมาจากเมืองบาดาล ขดตัวเป็นบัลลังค์ให้พระพุทธเจ้าได้ประทับ พร้อมกับแผ่พังพอนปกคลุมลม แดด ฝน ตลอดทั้ง 7 วัน เมื่อฝนหยุดตก พญานาคราชก็ได้แปลงกายเป็นชายหนุ่มมานมัสการพระพุทธเจ้า
พระพุทธรูปปางประสานบาตร
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิมีบาตรวางอยู่บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ซ้ายประคองบาตร คว่ำพระหัตถ์ขวายกขึ้นไปปิดปากบาตร
ที่มาของปางประสานบาตร
หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ 49 วัน ก็มีพ่อค้าสองพี่น้องชื่อว่า “ตปุสสะ” และ “ภัลลิกะ” นำภัตตาหารมาถวายพระพุธเจ้า ตามคำแนะนำของเทวดา ที่เคยเป็นญาติกันในชาติปางก่อน พอพ่อค้าทั้งสองมาเห็นพระพุทธเจ้าเข้าก็เกิดความเลื่อมใส จึงเข้าไปทำการอภิวาทและถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผง แต่ยังไม่ทันได้รับ บาตรก็หายไป ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 เลยเหาะไปเอาบาตรศิลามาถวายองค์ละใบ พระพุทธเจ้าจึงทรงประสานบาตรทั้ง 4 ใบนั้นเป็นใบเดียวกัน รับข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงที่สองพ่อค้าถวายให้
พระพุทธรูปปางรำพึง
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
ที่มาของปางรำพึง
ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นไทร(อชปาลนิโครธ) พระองค์ทรงรำพึงว่าธรรมที่ตนเองได้ตรัสรู้นั้น ละเอียดและลึกซึ้งมาก ยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจได้ จึงรู้สึกท้อที่จะแสดงธรรมให้สัตว์โลกเข้าใจ แต่ได้พิจารณาเห็นว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายมีอุปนิสัยแตกต่างกันกันไป เปรียบดังบัว 4 เหล่านั่นเอง
พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองแบตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้า เสมอพระอุระ (อก) เป็นกิริยาห้าม
ที่มาของปางห้ามสมุทร
เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม พระองค์ได้ประทับอยู่ในสำนักของอุรุเวลกัสสปะ ซึ่งเป็นหัวหน้าชฎิล ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสของชาวมคธ พระพุทธเจ้าได้แสดงปาฏิหาริย์นานัปการ เพื่อให้อุรุเวลกัสสปะคลายความพยศลง กระทั่งพระพุทธเจ้าได้ทำการห้ามน้ำจากทั่วทุกสารทิศไม่ให้เข้ามายังที่พักอาศัย รวมถึงจงกรมภายในวงล้อมที่มีน้ำเป็นกำแพง พวกชฎิลพายเรือมาดู เห็นถึงกับตะลึง ยอมรับ และขอบวชกับพระพุทธเจ้า
พระพุทธรูปปางประทานโอวาท
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้น จีบนิ้วพระหัตถ์ไว้เสมอพระอุระ (อก) เป็นกิริยาทรงประทานโอวาทปาติโมกข์
ที่มาของปางประทานโอวาท
หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ 9 เดือนทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ วันเพ็ญเดือน 3 ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “วันมาฆบูชา” แก่ที่ประชุมสงฆ์สาวก หรือที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ การประชุมที่ครบองค์ 4 ได้แก่
- วันดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันเพ็ญเดือน 3 )
- พระสงฆ์ 1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
- พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6
- พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุ กล่าวคือ เป็นผู้ที่พระพุธเจ้าประทานอุปสมบทด้วยตนเอง
ในวันนั้นพระองค์ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนามีใจความสำคัญว่า ละเว้นความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส
พระพุทธรูปปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นป้องเสมอพระอุระ (อก) พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้าง พระวรกาย บางแบบพระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงตามปกติ บางแบบพักพระชานุ (เข่า)
ที่มาของปางแสดงปาฏิหาริย์
เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อแสดงธรรมแก่พระญาติเป็นครั้งแรก ญาตผู้ใหญ่หลายคนไม่ให้ความเคารพศรัทธา เนื่องจากมองว่าพระองค์เป็นคราวลูก คราวหลาน เลยแสดงปาฏิหาริย์ด้วยการเหาะไปบนอากาศ และอื่น ๆ อีกมากมาย จนพระญาติยอมรับ และฟังธรรมด้วยความเลื่อมใสศรัทธา
พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอวมีบาตรวางอยู่ที่ฝ่าพระหัตถ์ในท่าประคอง
ที่มาของปางอุ้มบาตร
หลังจากที่พระพุทธเจ้า แสดงเวสสันดรชาดกแก่พระญาติ ทุกคนทูลลากลับสู่พระราชสถาน แต่ไม่มีใครทูลนิมนต์ให้รับภัตตาหารเช้าเลย เพราะเข้าใจผิดคิดว่าจะไปเสวยภัตตาหารในพระราชนิเวสน์ เหมือนสมัยก่อน แต่ทรงนึกได้ เช้ามาจึงออกบิณฑบาตตามประเพณี
พระพุทธรูปปางโปรดพุทธบิดา
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าประคองบาตร พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้วพระหัตถ์
ที่มาของปางโปรดพุทธบิดา
เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าบิณฑบาตรรอบกรุงกบิลพัสดุ์ พอบิดาเห็นจึงรู้สึกว่าเป็นการเสียชื่อลูกของกษัตริย์มาก ๆ ที่มาขอข้าวชาวเมืองกิน แต่พระพุทธเจ้าได้อธิบายว่าเป็นประเพณี และได้แสดงพระธรรมเทศนาอริยวังสิกสูตรแก่พุทธบิดาความว่า
“เป็นบรรพชิตไม่ควรประมาทในอาหารผู้ประพฤติสุจริตธรรม ย่อมประสบสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต” ฟังจบพระบิดาก็ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน และได้อาราธนาให้ไปบิณฑบาตร ณ พระราชนิเวศน์ พอไปบิณฑบาตรพระเจ้าสุทโธทนะบรรลุอรหันต์ในเวลาต่อมา
ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจาก : dmc.tv
สรุป
มาถึงตอนนี้คงจะพอทราบกันแล้วว่า ที่มาของ พระพุทธรูป ปางต่าง ๆ มีที่มาอย่างไรบ้าง หวังว่าประวัติโดยย่อของแต่ละปาง จะเป็นประโยชน์ เหมาะแก่การจดจำ และนำไประลึกถึงพระคุณขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสำคัญ หากมีโอกาสครั้งต่อไป Ruay จะนำที่มาของพุทธรูปปางต่าง ๆ ที่เหลือมาเพื่อเป็นประโยชน์กับพุทธศาสนิกชนให้แฟน ๆ ได้รู้กัน กลับบ้านไปคืนนี้ฝันถึงพระพุทธรูปก็อย่าลืมตีเลขเด็ดลุ้นโชคหวยออนไลน์เว็บโต๊ดด้วยนะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ตำนานพระเจ้าใหญ่ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ วัดหงษ์ จังหวัดบุรีรัมย์
- วัดเขาทำเทียม สุพรรณบุรี วัดแรกของไทย สถานที่สถิตพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผา
- พระแก้วมรกต ตำนานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 3 ฤดู
- ทำนายฝัน ฝันว่า ไหว้พระ-ไหว้พระพุทธรูป ฝันแบบนี้พาถูกหวยได้
- เปิดตำแหน่งปิดทองพระพุทธรูป อานิสงส์ส่งผลบุญให้ชีวิตรุ่งเรืองในทุกชาติ