ความเชื่อ สงกรานต์

ความเชื่อ สงกรานต์ แต่ละภูมิภาคทั่วไทย! พร้อมแจก 5 พิกัด ไหว้พระสงกรานต์

ใกล้จะถึงวันสงกรานต์เข้าไปแล้วทุกที เตรียมตัวกันรึยังว่าจะไป ไหว้พระ สงกรานต์ กันที่ไหน และทราบมั้ยว่า ความเชื่อ สงกรานต์ ในแต่ละภาคมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง หลังจากที่มีข่าวออกมาประกาศว่า สงกรานต์ 2564 ปีนี้อาจจะมีการปลดล็อกให้สามารถเล่นสาดน้ำกันได้ปกติ เชื่อว่าหลายคนกำลังเตรียมแผนเที่ยวกันอยู่อย่างแน่นอน

แต่อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ ยังไม่ได้ออกมาสรุปสถานการณ์ว่าจะสามารถจัดงานสงกรานต์ได้ รัฐบาลต้องขอทำการปรึกษาหาลือกันก่อนว่า ถ้าจะจัดงานสงกรานต์ในปีนี้จะต้องมีมาตรการอะไรรองรับบ้างสำหรับโรคโควิด-19ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ นอกจากนั้นยังอาจมีโครงการ “ทัวร์เที่ยวไทย” ให้เงินฟรี 5000 บาทไปเที่ยวกันอีกด้วย ซึ่งก็อยู่ในช่วงกำลังเคาะอยู่เช่นกันว่าจะอนุมัติหรือไม่อย่างไร 

ทั้งนี้ทั้งนั้นยังพอมีเวลาเตรียมตัวอยู่ ใครที่รู้แล้วว่า หยุดยาวสงกรานต์ 10 – 15 เมษายน ก็รีบมาเตรียมตัวเตรียมแพลนที่เที่ยวกันโดยด่วน ตาม ruay 365 ไปดูกันเลยว่า ไหว้พระ สงกรานต์ 2564 มีวัดดัง ๆ ที่ไหนบ้างที่ห้ามพลาด และตามไปดู ความเชื่อ สงกรานต์ ในภูมิภาคต่าง ๆ กันเลย!

สงกรานต์ คือวันอะไร??

รดน้ำไหว้ผู้ใหญ่
ขอบคุณภาพจาก matichon

ก่อนที่จะไปดู ความเชื่อ สงกรานต์ ในแต่ละภูมิภาค ทราบมั้ยว่า “วันสงกรานต์” เคยถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยในอดีตมาก่อน ดั้งเดิมประเพณีตรุษสงกรานต์นั้นคล้าย ๆ กับตรุษจีน ซึ่งเป็นวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ โดยได้รับอิทธิพลมาจาก “เทศกาลโฮลี” ที่สาดสีกันของทางอินเดีย และมีเทศกาลสงกรานต์แพร่หลายอยู่ในประเทศระแวกบ้านเราด้วย

สาเหตุที่ วันสงกรานต์ เคยเป็นวันปีใหม่ไทยมาก่อน เนื่องจากคำว่า “สงกรานต์” มีความหมายว่า “เคลื่อนผ่าน” ดังนั้น “วันมหาสงกรานต์” ตามความหมายของโหราศาสตร์ ก็คือวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 1 เมษายน โดยในยุคโบราณนั้นได้ยึดเอาวันนี้เป็นวันปีใหม่ไทยนั่นเอง

หลังจากนั้น เมื่อถึงยุคของจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม พ.ศ.2483 จึงได้มีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไปยึดตามแบบสากลก็คือ 1 มกราคม จากนั้นจึงได้กำหนดวันสงกรานต์เป็นวันที่ 13 เมษายนแทน เนื่องจากวันที่ 14 เมษาถือเป็นวันแห่งครอบครัว

กิจกรรมสงกรานต์ ในอดีต

ในสมัยโบราณเมื่อถึงวันเทศกาลสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ ชาวไทยจะพากันตื่นแต่เช้า ใส่เสื้อสีสันสดใสต้อนรับปีใหม่ จากนั้นจะทำกับข้าวกันเพื่อนำไปทำบุญที่วัด โดยจะมีการทำ “บังสุกุล” ให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้…

กิจกรรมสงกรานต์ ในอดีต
ขอบคุณภาพจาก ohlor
  • คนไทยจะมาร่วมทำบุญตักบาตร ในยามเช้าตรู่เพื่อที่จะได้อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ทำบุญให้กับญาติพี่น้องที่จากไปแล้ว และเป็นสิริมงคลรับปีใหม่
  • ชาวไทยจะขนทรายเข้าวัด เพื่อก่อเจดีย์ทรายให้สวยงาม เป็นกิจกรรมที่สนุกสนานและสามารถร่วมทำกันได้ทั้งครอบครัว อีกทั้งยังได้บุญด้วย เนื่องจากทรายนำไปสร้างวิหารวัด
  • ครอบครัวจะกลับมารดน้ำดำหัวกัน เนื่องจากเป็นวันหยุดและลูกหลานจากต่างถิ่นที่ไปทำงาน จะกลับมาเจอหน้าผู้ใหญ่เพื่อไหว้ให้เป็นสิริมงคล โดยจะมีการรดน้ำให้ปู่ย่าเบา ๆ และไหว้ขอขมาในสิ่งที่ทำผิด และรับพรจากผู้ใหญ่
  • หนุ่มสาวจัดทีมแข่งกีฬา เช่น งูกินหาง ชักเย่อ วิ่งเปี้ยว ฯลฯ เป็นธรรมเนียมของโบราณที่จะมีการละเล่นพื้นบ้านในวันสงกรานต์ สร้างความสนุกสนานสามัคคีในชุมชม โดยมีผู้ใหญ่เป็นกองเชียร์และยังเป็นโอกาสที่หนุ่มสาวได้มารู้จักกันด้วย
  • ชาวไทยจะมารวมตัวสรงน้ำพระ โดยจะไปรวมตัวกันที่วัดใกล้บ้าน เพื่อเข้าไปสรงน้ำพระพุทธรูป และสรงน้ำพระสงฆ์ด้วยขันเล็ก ๆ มีน้ำอบผสมน้ำหอมชื่นใจ และสรงน้ำเพื่อชำระพระวรกายของพระพุทธเจ้าเพื่อเสริมสร้างสิริมงคลนั่นเอง

ความเชื่อ สงกรานต์ ในแต่ละภูมิภาค

นอกจากจะเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยในอดีตแล้ว วันสงกรานต์ยังมีความสำคัญอื่น ๆ แตกต่างกันไปตามแต่ละจังหวัดอีกด้วยดังนี้…

ความเชื่อ สงกรานต์ ในแต่ละภูมิภาค
  • ความเชื่อ สงกรานต์ภาคใต้ – ชาวใต้จะเชื่อกันว่าสงกรานต์เป็นวัน “ส่งเจ้าเมืองเก่า-รับเจ้าเมืองใหม่” โดยจะมีการผลัดเปลี่ยนเทวดาลงมารักษาชะตาเมืองที่แตกต่างกันในแต่ละปี โดยในวันที่ 13 เมษาก็คือ “วันส่งเจ้าเมืองเก่า” ส่วนวันที่ 15 เมษาก็คือ “วันรับเจ้าเมืองใหม่” นั่นเอง ชาวบ้านชาวเมืองจะพากันใส่เสื้อสีสันสดใสมารับปีใหม่กันอย่างสดชื่น
ก่อทราย
ขอบคุณภาพจาก 77kaoded
  • ความเชื่อ สงกรานต์ภาคอีสาน – สำหรับชาวอีสานวันสงกรานต์ถือเป็นวัน “บุญเดือนห้า” ซึ่งชาวบ้านชาวเมืองจะมีการทำความสะอาดบ้านช่องที่อยู่อาศัยให้เป็นระเบียบ เพื่อรับโชคลาภสิริมงคล โดยจะยึดเอาวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 ช่วงเวลาบ่าย 3 เป็นฤกษ์มงคล จะมีการไปรวมตัวกันที่วัดเพื่อสรงน้ำพระ จะมีการตีกลองเพื่อต้อนรับศักราชใหม่ และทำพิธีบายศรีสู่ขวัญลูก ๆ หลาน ๆ อีกด้วย
เล่นน้ำสงกรานต์
ขอบคุณภาพจาก topchiangmai
  • ความเชื่อ สงกรานต์ภาคเหนือ – ชาวล้านนาจะเรียกวันสงกรานต์กันว่า “ปี๋ใหม่เมือง” โดยจะจัดงานทั้งหมด 4 วัน ในวันแรก 13 เมษา ชาวเมืองจะทำความสะอาดบ้านใน “วันสังขานต์ล่อง” เพื่อรับโชคลาภ วันที่ 14 เมษาจะถือเป็น “วันเน่า” ห้ามพูดจาไม่ดีใส่กันจะเป็นโชคร้าย ต่อมาในวันที่ 15 ก็จะมีการทำบุญตักบาตรใน “วันพญาวัน” จากนั้นวันสุดท้ายวันที่ 16 ก็จะมีพิธี “ทานขันข้าว” เพื่อถวายอาหารพระสงฆ์ที่วัด

5 พิกัด ไหว้พระ สงกรานต์ 2564 

หลังจากที่เราได้รู้ ความเชื่อ สงกรานต์ กันไปเรียบร้อย ก็คงจะทราบกันแล้วว่าการสรงน้ำพระถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ดังนั้นตาม ruay 365 ไปไหว้พระ ขอพรต้อนรับวันสงกรานต์มหาเฮงกันเลย!

วัดสระเกศ

วัดสระเกศ
ขอบคุณภาพจาก thai.tourismthailand.org

สำหรับวัดแรกที่ต้องไป ไหว้พระวันสงกรานต์ ก็คือ “วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร” วัดแห่งนี้ถือเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา ที่ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ โดยบริเวณที่เป็นพระเจดีย์สีทองบนยอดเขานั้นเรียกกันว่า “พระบรมบรรพต” หรือ “ภูเขาทอง” ทุกคนคงเคยเห็นผ่านตากันมาบ้าง ทั้งสวยงามและอลังการมากในยามค่ำคืน ใครไม่เคยไปถือว่าโอกาสดีมาถึงแล้ว

ภูเขาทอง
ขอบคุณภาพจาก news.thaipbs.or.th

สำหรับ งานสงกรานต์ภูเขาทอง เคยมีการจัดกิจกรรมสรงน้ำพระและต้นโพธิ์อายุกว่า 200 ปีขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2561 โดยตอนนั้น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ มีอายุ 205 ปี จึงมีการจัดกิจกรรมโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมเชิญชาวไทยและนักเที่ยวไปร่วมงาน จะได้เห็นความตระการตาของต้นโพธิ์และบรรยากาศพิธีที่หาดูได้ยากอีกด้วย ปีนี้ถ้ามีจัดขึ้นอีกครั้งพลาดกันไม่ได้เด็ดขาด

  • สถานที่ตั้ง : แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานครฯ
  • เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน 8:00 – 18:00 น.

วัดสุทัศน์

เสาชิงช้า
ขอบคุณภาพจาก .painaidii

หลังจากไหว้วัดสระเกศเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็เดินไป “วัดสุทัศนเทพวราราม” ที่อยู่ใกล้ ๆ ต่อได้เลย วัดแห่งนี้เป็น สถานที่เที่ยวสงกรานต์ ในกรุงเทพฯ ที่นิยมกันอย่างมาก โดยมีเอกลักษณ์ของวัดที่โดดเด่นก็คือ “เสาชิงช้า” สีแดงสดตั้งอยู่หน้าวัดนั่นเอง หลาย ๆ คนคงเคยมีโอกาสแวะไปไหว้พระกันมาแล้วบ้าง ไม่แน่ว่าถ้า สงกรานต์ 2564 สามารถจัดงานได้ที่วัดอาจจะมีพิธีสรงน้ำ

เจดีย์ทราย
ขอบคุณภาพจาก voicetv

ว่ากันว่าที่วัดสุทัศน์แห่งนี่ มีพระประธานสามองค์ที่ชื่อคล้องจองกันอย่างไพเราะ ได้แก่ พระศรีศากยมุนี พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ และ พระพุทธเสรฏฐมุนี เป็นพระที่ชาวไทยศรัทธาและขอโชคขอลาภกันมาตั้งแต่อดีต สงกรานต์จึงไม่พลาด ที่วัดมีกิจกรรมสรงน้ำพระ ก่อเจดีย์ทราย ฟังเทศฟังธรรมกันตามแบบประเพณีสงกรานต์ไทยอันดีงามด้วย ใครหัวอนุรักษ์นิยมต้องลองไปดูสักครั้ง

  • สถานที่ตั้ง : 146 ริมถนนตีทอง 1 ถนนบำรุงเมือง แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
  • เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน 8:30 – 21:00 น.

วัดพระแก้ว

วัดพระแก้ว
ขอบคุณภาพจาก mgronline

เมื่อไปวัดสุทัศน์เสร็จ เดินมาอีกหน่อยจะพบ “วัดพระแก้ว” หรือ “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม” ตั้งอยู่ข้าง ๆ กับบริเวณวังหลวง สามารถเข้าไปแวะไหว้ พระแก้วมรกตกันได้ เพื่อเป็นสิริมงคลในวันปีใหม่ของไทย และทราบมั้ยว่าทุกปีก็จะมีการทำพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงของพระแก้วมรกต ตลอดสามฤดูด้วย ซึ่งจะมีการเปลี่ยนในเดือนมีนาคมเป็น เครื่องทรงฤดูร้อน ถ้าได้ไปเยี่ยมชมช่วงสงกรานต์ก็จะได้เห็นกัน

วัด
ขอบคุณภาพจาก bangkokbiznews

อย่างไรก็ตามช่วงวันสงกรานต์ ของทุก ๆ ปีก็จะมีคนเดินทางไปไหว้พระ ขอพรที่วัดพระแก้วกันอย่างเนืองแน่นซึ่งถือเป็นฤกษ์งามยามดี อีกทั้งยังสามารถเดินไปไหว้ “ศาลหลักเมือง” ที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กันได้อีกด้วย ใครที่กำลังจะเริ่มต้นทำงานใหม่ หรือเริ่มธุรกิจการค้าก็สามารถไปไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลกันได้ ส่วนงานสงกรานต์ปี 2564 นี้ต้องติดตามอัปเดตกันต่อไป

  • สถานที่ตั้ง : ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานครฯ
  • เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน 8:00 – 15:30 น.

วัดโพธิ์

วัดโพธิ์
ขอบคุณภาพจาก matichon

หลังจากไหว้วัดพระแก้วเสร็จ ก็สามารถพาครอบครัวไปต่อที่ “วัดโพธิ์” หรือ “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร” กันได้เลยสามารถเดินไปได้ใกล้ ๆ เช่นกัน วัดแห่งนี้ช่วงสงกรานต์ มักจะจัดงานอนุรักษ์วัฒนธรรมสงกรานต์ที่สวยงามและดีงามมาก มีประเพณีขนทรายเข้าวัด ก่อเจดีย์ทราย ร่วมสรงน้ำพระพุทธรูปรับพรให้เป็นสิริมงคลอีกด้วย

กิจกรรมก่อทราย
ขอบคุณภาพจาก nationtv

นอกจากนั้นถ้าใครได้มีโอกาสมาเยือนวัดโพธิ์ แน่นอนว่าพลาดไม่ได้เลยที่จะต้องไปเยี่ยมชม “ยักษ์วัดโพธิ์” ที่มีในตำนานโด่งดังของกรุงเทพฯ หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินมาบ้าง ว่ามียักษ์เฝ้าอยู่ที่ประตูวัดโพธิ์สวยงามและวิจิตรตระการตามาก ต้องแวะไปถ่ายรูปก่อนกลับ รวมทั้งต้องไปไหว้ ณ วิหารพระพุทธไสยาส ด้วยเพื่อให้รับพรโชคดีตลอดปี

  • สถานที่ตั้ง : ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานครฯ
  • เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน 8:00 – 18:30 น.

วัดอรุณ

วัดอรุณ
ขอบคุณภาพจาก th.trip

สถานที่เที่ยว ไหว้พระ สงกรานต์ 2564 แห่งสุดท้ายก็คือ “วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร” หลังจากไหว้พระที่วัดโพธิ์แล้วก็สามารถนั่งเรือข้ามฟากมาวัดนี้ได้เลย ส่วนใหญ่ปีที่ผ่านมา ช่วงสงกรานต์ที่วัดจะมีการจัดพิธีสรงน้ำพระพุทธรูป ทำบุญและถวายสังฆทาน และมีการตักบาตรพระสงฆ์มากถึง 59 รูปอีกด้วยเพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีไทย

ตักบาตร
ขอบคุณภาพจาก region

ถ้าได้อ่าน ความเชื่อ สงกรานต์ กันไปแล้วก็คงจะทราบว่าการสรงน้ำพระนั้นเป็นหนึ่งในพิธีสำคัญมาก ถ้าได้มาที่วัดนี้ในช่วงสงกรานต์ ปีนี้อาจมีลุ้นได้ร่วมกิจกรรมทำบุญดังกล่าว นอกจากนั้นยังจะได้ชมความสวยงามของ “พระปรางวัดอรุณ” ที่เป็นเจดีย์สีขาวสวยงามอีกด้วย ห้ามพลาดวางแผนชวนเพื่อน ๆ ที่ไม่ได้ไปต่างจังหวัด ไปไหว้พระรับพรกันเลย!

  • สถานที่ตั้ง : ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานครฯ
  • เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน 8:00 – 18:30 น.

สรุปส่งท้าย

เป็นอย่างไรบ้างสำหรับสาระที่เรานำมาฝากวันนี้ ความเชื่อ สงกรานต์ ในแต่ละภาคถือเป็นเสน่ห์ของแต่ละจังหวัดที่เฉพาะตัว ใครได้มีโอกาสไป เที่ยวสงกรานต์ 2564 ไปไหว้พระ ทำบุญที่ไหนก็อย่าลืมไปแวะสรงน้ำพระตามความเชื่อโบราณของไทยด้วยนะ เพราะการสรงน้ำพระพุทธรูปถือเป็นการชำระพระวรกายของพระพุทธเจ้า ช่วยให้หนุนนำโชคลาภและสิริมงคลมาสู่เรา

ส่วนใครที่ไม่มีแพลนเดินทางไปต่างจังหวัด ก็ไม่เป็นไรอยู่กรุงเทพฯ ก็ขับรถสบายดี ถนนโล่ง สามารถขับไปเที่ยววัดสระเกศ วัดสุทันศ์ วัดพระแก้ว วัดโพธิ์ และวัดอรุณกันได้เลย ทั้ง 5 วัดที่นำมาฝากนั้นถือเป็นวัดในเขตเมืองเก่าที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เส้นทางอยู่ใกล้ ๆ กันสามารถไปวันเดียวได้ครบ รับพรครบจบในหนึ่งวันเลยทีเดียว สุดท้ายนี้ถ้าชอบบทความของ ruay 365 ฝากกดติดตามเว็บให้แอดมินด้วยนะทุกคน!

บทความที่เกี่ยวข้อง

Facebook
Twitter
Email