ตำนาน ‘สนามหลวง’ พร้อมเลขเด็ดนำโชค ที่แฝงอยู่ใน สนามหลวง

ลานโล่งขนาดใหญ่บนเนื้อที่ 74 ไร่ 63 ตารางวา บริเวณหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ใกล้กำแพงพระราชวังหลวง ติดกับกำแพงวังหน้าด้านทิศตะวันออก คืออีกหนึ่งโบราณสถานใจกลางกรุงเทพมหานคร ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นมรดกของชาติในปีพ.ศ. 2520 ซึ่งชื่อคนไทยทุกคนคุ้นเคยเเละรู้จักดี เเละต่างก็เรียกสถานที่เเห่งนี้ว่า สนามหลวง หรือ ทุ่งพระสุเมรุ

สนามหลวง คือ มณฑลจักรวาล

สนามหลวงมีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นตามเเบบจำลองคติความเชื่อเรื่องมณฑลจักรวาล ซึ่งเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งทั้งปวง โดยแสดงออกในรูปเเบบของสัญลักษณ์แทนสรรพสิ่ง ในจักรวาลเชิงบุคลาธิษฐาน แสดงเป็นเทพเจ้าต่าง ๆ หรือสถานศักดิ์สิทธิ์

“สนามหลวง” แต่เดิมเรียกว่า “ทุ่งพระเมรุ” ใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินีนาถ และพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง รวมถึงสมเด็จพระสังฆราช (ยกเว้นรัชกาลที่ 7 เพราะพระองค์เสด็จสวรรคตที่ประเทศอังกฤษ)  ถ้าไม่มีงานพระเมรุก็ปล่อยเป็นที่รกร้างว่างเปล่าราวหนองบึง

พอสมัยรัชกาลที่ 3 ไทยกับญวนมีเรื่องวิวาทกันเกี่ยวกับดินแดนเขมร จึงโปรดฯ ให้มีการทำนาที่ท้องสนามหลวง เพื่อที่จะให้ญวนเห็นว่าไทยเป็นบ้านเมืองที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร มีเสบียงอาหารพร้อม ที่จะทําสงครามกับญวนได้เต็มที่ เพราะแม้แต่ข้างพระบรมมหาราชวังก็มีการทํานากัน

 2 696x491 1

เมื่อมีการทํานาที่ท้องสนามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้สร้างพลับพลาที่ประทับสําหรับ ทอดพระเนตรการทํานาที่ท้องสนามหลวงทางด้านทิศตะวันตกใกล้พระบรมมหาราชวัง แต่พลับพลาดังกล่าวเมื่อแรกสร้างจะเป็นไม้ หรือก่ออิฐถือปูนอย่างไรก็ไม่ปรากฏชัด

ทุ่งพระเมรุถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “ท้องสนามหลวง” ในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2398 ดังปรากฏในประกาศว่า “ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนานๆ มีครั้งหนึ่งแลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า ‘ทุ่งพระเมรุ’ นั้นหาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า ‘ท้องสนามหลวง’”

สนามเล่นว่าวยอดนิยม

สนามหลวง นอกจากเป็นสถานที่สำคัญประกอบพิธีสำคัญอย่างที่ได้บอกกล่าวไปข้างต้น ในอดีตยังเป็นสนามเล่นว่าวยอดนิยม จนต้องออกประกาศเตือนให้ผู้คนที่เดินทางไปพักผ่อนยังบริเวณดังกล่าว เฝ้าระวังอันตรายที่อาจเกิดจากสายป่านของว่าวที่มีอยู่จำนวนมากได้ ซึ่งประกาศนี้เกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ เดือน 5 ขึ้น 2 ค่ำ ปีเถาะสัปตศก จุลศักราช 1217 ใจความว่า

“พระยาเพ็ชปาณีรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ให้นายอําเภอป่าวร้องประกาศข้าราชการ แลราษฎรที่เปนนักเลงเล่นว่าว เอาว่าวขึ้นก็ให้เล่นแต่ตามท้องสนามแถบที่ว่างเปล่า ไม่ห้ามปรามดอกให้เล่นเถิด แต่อย่าให้สายป่านว่าวไปถูกเกี่ยวข้องพระมหาปราสาท

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ช่อฟ้า ใประกา พระมหาสมณเทียร พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง พระบรมมหาราชวัง แลช่อฟ้าใบระกา วัดวาอารามให้หักพังได้ ถ้าผู้ใดชักว่าวไม่ระวังให้สายป่านพาดไปถูกต้องของหลวงแลวัดวาอารามให้หักพังยับเยินสืบไป จะเอาตัวเจ้าของว่าวเป็นโทษตามรับสั่ง”

Unnamed 2 1

นอกจากกีฬาว่าวแล้ว ในอดีตสนามหลวงยังเคยเป็นสนามแข่งม้าและสนามกอล์ฟด้วย โดยในสมัยรัชกาลที่ 5 ข้าราชการชาวสโมสรน้ำเค็ม (คือสโมสรเจ้านาย ข้าราชการ และผู้ที่เคยไปศึกษาหรือเคยเดินทางไปต่างประเทศมาแล้ว) ต้องการจัดงานฉลองน้อมเกล้าฯ ถวายแสดงความจงรักภักดีต่างๆ ณ วโรกาสเสด็จพระราชดําเนินกลับจากประพาสยุโรป จึงมีการจัดการแข่งม้าถวายทอดพระเนตร โดยใช้สนามหลวงเป็นสนามแข่งม้าชั่วคราว

4686
สนามหลวงใช้เป็นสนามกอล์ฟ

ส่วนการเล่นกอล์ฟนั้นก็เริ่มต้นที่ท้องสนามหลวงเหมือนกัน เพราะสมัยก่อนมีสนามขนาดใหญ่อยู่ใกล้กันเพียง 3 สนามเท่านั้น ได้เเก่ สนามหลวง สนามสถิตย์ยุติธรรม และสนามไชย เจ้าพระยามหินทร์เล่าว่าพวกข้าราชการชาวต่างประเทศ ใช้สนามทั้ง 3 ทำสนามกอล์ฟได้ 9 หลุมพอดี

สนามหลวงถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากทรงยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ หลังจากพระมหาอุปราช แห่งวังหน้าองค์สุดท้ายทิวงคต เมื่อเวลาผ่านไปป้อมปราการบริเวณวังหน้าทรุดโทรมลงจึงโปรดเกล้า ฯ ให้รื้อส่วนที่ทรุดโทรม

โดยเฉพาะชั้นนอกด้านตะวันออกเปิดเป็นท้องสนามหลวง และเมื่อเสด็จกลับจากประพาสยุโรปเมื่อ พ.ศ. 2440 ก็โปรดเกล้า ฯ ให้ตกแต่งพระนครให้ทันสมัย ขยายท้องสนามหลวงขึ้นไปทางทิศเหนือ ตกแต่งบริเวณท้องสนามหลวงเป็นรูปไข่และปลูกต้นมะขามโดยรอบดังเช่นปัจจุบัน

C4be8f0aba5baeea5717b5ea4bfa0316

จากนั้นในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9  มีการใช้พื้นที่สนามหลวงเป็น “ตลาดนัด” ตลาดนัดสนามหลวงเกิดขึ้นในปี 2491 สินค้าที่ขายระยะแรกเป็นพืชสวน พืชไร่ ของเกษตรกร จนเมื่อปี 2521 รัฐบาล พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ต้องการใช้สนามหลวงเป็นสถานที่จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี

การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงมอบที่ดินย่านพหลโยธิน บริเวณสวนจตุจักร ให้แก่กรุงเทพมหานครเพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์  กรุงเทพมหานครจึงปรับพื้นที่เพื่อให้ผู้ค้าจากสนามหลวงมาอยู่ที่ “ตลาดนัดสวนจตุจักร” ในปี 2525

พื้นที่ของจิตวิญญาณเเละการเมือง

สนามหลวงเป็นทุกอย่างที่อยากให้เป็น ไม่เว้นแม้แต่สนามการต่อสู้ทางการเมือง เพราะที่นี่เคยมีชีวิต และวิญญาณทางการเมืองสมัยใหม่ เริ่มจากเป็นสถานที่ไฮด์ปาร์ก แสดงความคิดเห็นทางการเมือง เป็นแหล่งชุมนุมหาเสียงทางการเมือง เป็นที่ชุมนุมการเคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่ยุค 14 ตุลาคม 2516 จนถึงปัจจุบัน สนามหลวงก็ยังคงถูกใช้เป็นสถานที่รวมตัวเคลื่อนไหวทางการเมือง

1402660009 Untitled1c O

สนามหลวง ในปัจจุบัน

สนามหลวงเปรียบเสมือนสวนสาธารณะของคนเมือง ประชาชนสามารถมาออกกำลังกายรอบสนามได้ ตกดึกก็สามารถมาเดินชมเมือง บ้างก็เป็นสถานที่พักพิงของคนไรบ้าน เเต่พอวันที่ 9 ส.ค. 2554 มีการไม่อนุญาตให้ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ เหมือนในอดีต เพื่อสงวนไว้สำหรับประกอบพระราชพิธีเท่านั้น

โดยมีการนำแผงเหล็กมากั้นโดยรอบเพื่อป้องกันการบุกรุก แต่ถนนที่อยู่กึ่งกลางสนามหลวง ซึ่งเชื่อมฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และฝั่งศาลฎีกานั้น ประชาชนสามารถสัญจรผ่านได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ปัจจุบันการดูแลสนามหลวงเป็นไปตาม ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการใช้ บำรุงและการดูแลพื้นที่ท้องสนามหลวง พ.ศ. 2555 ซึ่งออกในสมัยที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เป็นผู้ว่า กทม. ซึ่งระบุเหตุผลในการออกระเบียบว่า

“โดยที่กรุงเทพมหานครเห็นว่า ท้องสนามหลวงเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ซึ่งใช้เป็นสถานที่สำหรับการจัดงานพระราชพิธี งานรัฐพิธี และงานที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดขึ้น ประกอบกับได้รับการจดทะเบียนเป็นโบราณสถานตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน

โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และตั้งอยู่ใกล้สถานที่สำคัญของชาติ คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง และศาลหลักเมือง จึงสมควรต้องมีระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการใช้ การบำรุงและการดูแลรักษาพื้นที่ท้องสนามหลวงไว้เป็นการเฉพาะ”

DFQROr7oWzulq5FZUILzAuok8WNET5OWLtU8G1D8t6AtDeccJzks7ztBLRLOb9Du3Uz
ภาพจาก Thairat

ล่าสุดสนามหลวงถูกเปิดใช้งานในฐานะพื้นที่ทางการเมืองอีกครั้ง สำหรับการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2563 ประชาชนนับเเสนคนเกิดนมายังที่เเห่งนี้ เพ่อเเสดงจุดยืนทางการเมืองนั่นเอง

เลขนำโชค สนามหลวง

จากประวัติความเป็นมาของ ท้องสนามหลวง ตั้งเเต่อดีตจน-ปัจจุบัน สามารถเเกะตัวเลขที่เกี่ยวเนื่องได้ดังต่อไปนี้

  • เลข 74 กับ 63 คือ พื้นที่ทั้งหมดของสนามหลวง 17 ไร่ 63 ตารางวา
  • เลข 13 คือ วันที่ 13 ธันวาคม 2520 ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน
  • เลข 20 กับ 520 คือ ปีพ.ศ. 2520 ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน
  • เลข 98 กับ 398 คือ ปีพ.ศ. 2398 ได้เปลี่ยนชื่อจากทุ่งพระสุเมรุ เป็นท้องสนามหลวง
  • เลข 40 – 440 คือ ปีพ.ศ. 2440 รัชกาลที่ 5 กลับจากประพาสยุโรป สนามหลวงจึงได้เป็นสยามเเข่งม้า สนามกอล์ฟ
  • เลข 91 – 491 คือ ปีพ.ศ. 2491 มีการจัดตลาดนัดสนามหลวงเป็นครั้งเเรก
  • เลข 06 – 14 คือ มีเหตุการณ์ทางการเมือง 6 ตุลา 2516 เเละ 14 ตุลา 2519 เกิดขึ้นที่นี่

จากตัวเลขดังกล่าวข้างต้นนี้ น่าจะเป็นข้อมูลที่ช่วยในการจดจำเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ณ ท้องสนามหลวงเเห่งนี้ให้ทุกคนได้ง่ายยิ่งขึ้น ว่ามีเรื่องราวเกิดขึ้นในปีไหน พ.ศ.ไหนบ้าง ให้รู้เบื้องลึกเบื้องหลังในอดีต ส่วนท่านใดที่สนใจอยากลองเสี่ยงโชคก็สามารถซื้อได้ตามใจชอบเลย ไม่เเน่สถานที่สำคัญขนาดนี้อาจจะเข้าทางงวดหน้าก็ได้นะ

สรุป

สนามหลวง หรือ ทุ่งพระสุเมรุ มีมาตั้งเเต่สมัยรัชกาลที่ 1 สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 74 ไร่ 63 ตารางวา เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินีนาถ และพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง รวมถึงสมเด็จพระสังฆราชเป็นหลัก

นอกจากนี้ยังเป็นเหมือนพื้นที่เเห่งกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ทั้งเป็นที่ปลูกข้าว สนามเล่นว่าว สนามเเข่งม้า สนามกอล์ฟ ตลาดนัด ที่อยู่อาศัยของคนไร้บ้าน รวมถึงพื้นที่ทางการเมืองอีกด้วย

สถานที่สำคัญอย่างงี้ก็อย่าลืม เอาเลขไปเสี่ยงโชคงวดหน้าดู ทั้งเลข 2 ตัว ได้เเก่ 74 63 13 20 98 40 91 06 14 เเละ เลข 3 ตัว ได้เเก่ 520 398 เเละ 491 หยิบจับเลขได้ตามใจชอบ ถ้าไม่รู้จะไปหาซื้อที่ไหน เว็บ ruay365 ก็มีให้ลุ้นโชคนะ อย่าลืมเเวะไปชมล่ะ ขอให้ทุกท่านโชคดี

Facebook
Twitter
Email