รวมบทสวดมนต์วันพระ

บทสวดมนต์สำหรับวันพระ สวดแล้วดี พาชีวิตเจริญรุ่งเรือง

สายบุญอย่างชาวไทยพุทธนอกจากจะทำบุญ ตักบาตรกันในวันพระแล้วยังนิยมที่จะสวดมนต์ในวันพระ รวมไปถึงวันพระใหญ่ ๆ ด้วย สำหรับท่านไหนที่ยังไม่แน่ใจ หรือไม่รู้ บทสวดมนต์วันพระ วันนี้เรามีมาบอก

เอาใจสายบุญวันนี้ Ruay 365 ได้นำเอาบทสวดมนต์สำหรับวันสำคัญทางพุทธศาสนาในโอกาสต่าง ๆ มาฝากทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็น วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา หรือว่าจะเป็น วันมาฆบูชาที่จะมาถึงในวันพรุ่งนี้ สามารถที่จะสวดได้ทุกที่ทุกเวลา จะสวดที่บ้าน ที่วัด หรือแม้กระทั่งสวดก่อนนอน เพราะว่าการสวดมนต์นั้นจะช่วยทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล ช่วยเสริมดวงชะตาชีวิตให้ดีขึ้นมีแต่ความเจริญก้าวหน้าเข้ามาในทุก ๆ ด้าน

บทสวดมนต์วันพระ

วันพระ

สำหรับวันพระ หรือวันธรรมสวนะ หรือวันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนถือศัล ฟังธรรม ซึ่งกำหนดตามปฏิทินจันทรคตมี 4 วันได้แก่

  • วันขึ้น 8 ค่ำ
  • วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
  • วันแรม 8 ค่ำ
  • วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)

ในวันพระโดยทั่วไปจะสมาทานศีล 5 สำหรับบทสวดมนต์ในวันพระนั้นสามารถที่จะหยิบยกเลือกมาสวดได้หลากหลาย หากเลือกกันไม่ถูก Ruay 365 สามารถเริ่มต้นด้วยการอาราธนาศีล 5 ก่อน

บทสดวมนต์วันพระ

สวดบูชาพระ

อิมินา สักกาเรนะ ตัง พุทธัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ

นมัสการพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

คำนมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด 3 จบ)

อาราธนาศีล 5

มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะศีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะศีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะศีลานิยาจามะ

นมัสการไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

สมาทานศีล 5

ปาณาติปาตาเวรมณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ
อทินนาทานาเวรมณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ
กาเมสุมิสฉาจาราเวรมณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ
มุสาวาทาเวรมณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ
สุราเมรยมัฌชปะมาทัตถานาเวรมณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ

หลังจากอาราธนาศีล 5 แล้วสามารถสวดตามคลิปด้านล่างนี้ได้เลย

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา ถือเป็นวันสำคัญในทางพุทธศาสนา และยังเป็นวันหนึ่งที่สำคัญมากของโลกอีกด้วย เนื่องเพราะในวันนี้ะมีพระภิกษุสงฆ์จะมาประชุมกันอย่างมิได้นัดหมายถึง 1,250 รูป อีกทั้งยังเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา หรือเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า และเป็นพระอรหันต์อีกด้วย วันมาฆบูชาจะตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี

บทสวดมนต์วันมาฆบูชา

บทสวดมนต์ วันมาฆบูชา

(หันทะ มะยัง มาฆะปะณามะคาถาโย ภะณามะเสฯ)
มาฆะนักขัตตะยุตตายะ ปุณณายะ ปุณณะมายัง โย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา โคตะโมหะโย
สุทธานันตะทะยาณาโณ สัตถา โลเก อะนุตตะโร วิหะรันโต ราชะคะเห มาฆะทานัง คิริพภะเย
วิหาเร เวฬุวะนัมหิ กะลันทะกะนิวาปิเย สังฆัสสะ สันนิปาตัมหิ อุตตะเม จะตุรังคิเก อัฑฒะเตระสะหัสเสหิ
ภิกขูหิ ปะริวาริโต ตีหิ คาถาหิ สังขิปปัง สัพพัง พุทธานะ สาสะนัง สะโมสาเรหิ โอวาทัง ปาฏิโมกขัง อะนุตตะรัง
ตะเมวัมภูตะสัมพุทธัง สักขีณาสะวะสาวะกัง จิระกาละมะตี ตัมปิ ปะสาเทนะ อะนุตตะรัง อะยัมปิ ปะริสา สัพพา
ปะสันนา ธัมมะคามินี สัมปัตตา ตาทิสักการัง สุนักขัตตัง สุมังคะลัง ทีปะธูปาทิสักกาเร อะภิสัชชิ ยะถาพะลัง
เตหิ ปูเชตะเวหัตถะ ตุฏฐะ อิธะ สะมาคะตา อะภิวันทะติ ปูเชติ ภะคะวันตัง สะสาวะกัง กาเลนะ สัมมุขีภูตัง
อะตีตารัมมะนัตตะนา โอสาเรนะตัง ปาฏิโมกขัง วิสุทธักขะมุโปสะเถ อิโตชะเน สุปุญเญนะ โสตถี โหนตุ สะทาปิโน
สาสะนัง สัตถุ อัมหากัง จิรัง ติฏฐะตุ ตาทิโนติฯ

คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน วันมาฆบูชา

อัชชายัง มาฆะปุณณะมี สัมปัตตา มาฆะนักขัตเตนะ ปุณณะ จันโท ยุตโต
ยัตถะ ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ จาตุรังคิเก สาวะกะสันนิปาเต
โอวาทะปาติโมกขัง อุททิสิ ตะทา หิ อัฑฒะเตระสานิสัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง

สัพเพ เต เอหิภิกขุกา สัพเพปิ เต อะนามันติตาวะ ภะคะวะโต สันติกัง
อาคะเต เวฬุวะเน กะลันทะกะนิวาเป มาฆะปุณณะมิยัง วัฑฒะมานะกัจฉายายะ
ตัส๎มิญจะ สันนิปาเต ภะคะวา วิสุทธุโปสะถัง อะกาสิ อะยัง อัม๎หากัง ภะคะวะโต
อโกเยวะ สาวะกะสันนิปาโต อะโหสิ จาตุรังคิโก อัฑฒะเตระสานิ ภิกขุสะตานิ

สัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง มะยันทานิ อิมัง มาฆะปุณณะมี นักขัตตะสะมะยัง
ตักกาละสะทิสัง สัมปัตตา จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะระมานา
อิมัส๎มิง ตัสสะ ภะคะวะโต สักขิภูเต เจติเย อิเมหิ ทีปะธูปะปุปผาทิสักกาเรหิ ตัง
ภะคะวันตัง ตานิ จะ อัฑฒะเตระสานิ ภิกขุสะตานิ อะภิปูชะยามะ สาธุ โน ภันเต
ภะคะวา สะสาวะกะสังโฆ สุจิระปะรินิพพุโต คุเณหิ ธะระมาโน อิเม สักกาเร
ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ อัม๎หากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันที่สำคัญทางพุทธศาสนาอีกวัน เนื่องด้วยเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันพิเศษเกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราว ในวันนี้ชาวพุทธจึงพร้อมใจกันประกอบพิธีเคารพบูชาองค์สมเด็จสัมมาสมัพุทธเจ้า เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ แต่ถ้าหากท่านใดไม่สามารถไปประกอบพิธีที่วัด ก็สามารถที่จะสวดมนต์ได้ที่บ้านเช่นกัน

บทสวดมนต์วันวิสาขบูชา

บทสวดมนต์ วันวิสาขบูชา

(หันทะ มะยัง วิสาขะปะณามะคาถาโย ภะณามะ เส)
วิสาขะ ปุณณะมายัง โย ชาโต อันติมะชาติยา ปัตโต จะ อะภิสัมโพธิง อะโถปิ ปะรินิพพุโต อะโถปิ ปะรินิพพุโต โลเก อะนุตตะโร

สัตถา โลเก อะนุตตะโร สัตถา โลเก อะนุตตะโร สัตถา ทะยาณาณัณณะวาสะโย นายะโก โมกขะมัคคัสมิ ติวิธัตถูปะเทสะโก
มะหาการุณิกัง พุทธัง มะยันตัง สะระณัง คะตา อามิเสหิ จะ ปูเชนตา ธัมเม จะ ปะฏิปัตติยา อิมันทานิ สุนักขัตตัง อะภิมังคะละสัมมะตัง

วิสาโขฬุกะยุตเตนะ ปุณณะจันเทนะ ลักขิตัง สัมปัตตา อะนุกาเลนะ พุทธานุสสะระณาระหัง ชาติ สัมโพธิ นิพพานะ กาละภูตัง
สะยัมภุโน ตัง สัมมานุสสะระมานา สุจิรัง นิพพุตา มะปิ ปะสันนาการัง กะโรนตา สักกาเร อะภิสัชชิยะ ทัณฑะทีเป ทีปะฆะเร
มาลาวิกะติอาทะโย ตัสเสวะ ปูชะนัตถายะ ยะถาสะติ ยะถาพะลัง สะมาหะริตวา เอกัตถะ ฐะปะยิมหา ยะถาระหัง

นะรานัญจาปิ สัพเพสัง สัมธัมเม สัมปะสีทะตัง ธัมมัสสะวะนัง กะริสสามะ สัมพุทธะคุณะทีปะนัง พุทธัสสุโพธิตาทีนัง ทีปะนัตถัง มะเหสิโนติฯ

คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน วันวิสาขบูชา

ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา , โย โน ภะคะวา สัตถา ,
ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ , อะโหสิ โข โส ภะคะวา มัชฌิเมสุ
ชะนะปะเทสุ อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน , ขัตติโย ชาติยา โคตะโม โคตเตนะ ,

สัก๎ยะปุตโต สัก๎ยะกุลา ปัพพะชิโต สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก สัสสะมะณะ-
พ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิ อะภิสัมพุทโธ ,
นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต

โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะ ทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา ,
ส๎วากขาโต โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ธัมโม , สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก , ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ,     

สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ , ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , สามีจิปะฏิปันโน
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ
ภะคะวะโต สาวะกะ สังโฆ , อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ ,     

อะยัง โข ปะนะ ถูโป (ปะฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กะโต (กะตา) ยาวะเทวะ
ทัสสะเนนะ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริต๎วา ปะสาทะ สังเวคะปะฏิ ลาภายะ , มะยัง โข
เอตะระหิ อิมัง วิสาขะปุณณะมี กาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ชาติสัมโพธินิพพานะกาละสัมมะตัง
ปัต๎วา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา , อิเม ทัณฑะทีปะธูปาทิ สักกาเร คะเหต๎วา อัตตะโน กายัง
สักการุปะธานัง กะริต๎วา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา , อิมัง ถูปัง
(ปะฏิมัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ อิมัง ยะถา คะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา ,
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ
ปัญญายะมาโน , อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัม๎หากัง ทีฆะรัตตัง

วันอาสาฬหบูชา

ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เป็นวันแรกที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนา หลักธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นครั้งแรกให้กับปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ จนทำให้พระอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา ถือได้ว่าเป็นวันแรกที่พุทธศาสนาครบองค์พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

บทสวดมนต์วันอาสาฬหบูชา

บทสวดมนต์ วันอาสาฬหบูชา

(หันทะ มะยัง อาสาฬหะปะณามะคาถาโย ภะณามะ เส)
อาสาฬหะปุณณะมายัง โย สัทธัมโม โหติ เทสิโต เตนุปปันโน ปะฐะโม สังโฆ โกณฑัญโญ พุทธะสาสะเน
ธัมมะจักโกติ นาเมนะ วิสสุโต จะ ปะวัตติโต ตัสสัตโถ อัฏฐะโก มัคโค จัตตาริ เจวะ สัจจานิ
เอเตสัง เทสะเนเนวะ อุปปันนัง ระตะนัตตะยัง พุทโธ ธัมโม ภิกขุสังโฆ สัมปันนา พุทธะสาสะเน
เปเสสิ ภะคะวา สังเฆ กาตุง โลกานะ สังคะหัง ละภิงสุ พะหุกา สัตตา โอกาสัง ปัตตุ นิพพุติง
ปัณณะระสี อะยันทานิ สัมปัตตา อะภิลักขิตา ทีปะปุปผาทิหัตถา จะ หุตวา อิธะ สะมาคะตา
ปะทักขิณัง กะริสสามะ ติกขัตตุง คะรุเจติยัง ภะคะวา ปะฏิคัณหาตุ อัมหากัง สักการัง อิมัง
ระตะนัตตะยานุภาเวนะ ระตะนัตตะยะเตชะสา สัพเพ สัตตา ปุญญะภาคา นิททุกขา นิรุปัททะวา
อะระหันตา ปะพุชฌันตุ สะทา โคตะมะสาวะกา การุญญัญจะ อุปาทายะ ภะคะวา ปะฏิคัณหาตุ
สักกาเร อิเม มัยหัง หิตายะ จะ สุขายะ จะ จิรัง ติฏฐะตุ สัทธัมโม ตะถาคะตัปปะเวทิโต
สัมมาธารัง ปะเวสสันโต กาเลเทโว ปะวัสสะตุ วุฒิภาวายะ สัตตานัง สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง ฯ

คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน วันอาสาฬหบูชา

ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา
ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อะโหสิ โข โส ภะคะวา
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สัตเตสุ การุญญัง ปะฏิจจะ กะรุณายะโก หิเตสี
อะนุกัมปัง อุปาทายะ อาสา ฬ๎ หะปุณณะมิยัง พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน
มิคะทาเย ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะฐะมัง
ปะวัตเต ต๎วา จัตตาริ อะริยะสัจจานิ ปะกาเสสิ ฯ       

ตัส๎มิญจะ โข สะมะเย ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง ปะมุโข อายัส๎มา อัญญาโกณฑัญโญ
ภะคะวะโต ธัมมัง สุต๎วา วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง ปะฏิละภิต๎วา ยังกิญจิ
สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ       

ภะคะวันตัง อุปะสัมปะทัง ยาจิต๎วา ภะคะวะโต เยวะสันติกา เอหิภิกขุ อุปะสัมปะทัง
ปะฏิละภิ ต๎วา ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย อะริยะสาวะกะสังโฆ โลเก ปะฐะมัง อุปปันโน
อะโหสิ พุทธะระตะนังธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนันติ ติระตะนัง สัมปุณณัง อะโหสิ ฯ
มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง อาสาฬ๎หะปุณณะมี กาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะจักกัปปะ-       

วัตตะนะกาละสัมมะตัง อะริยะสาวะกะสังฆะอุปปัตติกาละสัมมะ ตัญจะ ระตะนัตตะยะ-
สัมปุณณะกาละสัมมะตัญจะ ปัต๎วา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา อิเม สักกาเร คะเหต๎วา อัตตะโน
กายัง สักการุปะธานัง กะริต๎วา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา
อิมัง ถูปัง ( อิมัง พุทธะปะฏิมัง ) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ ยะถาคะหิเตหิ       

สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา ฯ
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ
ปัญญายะมาโน อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัม๎หากัง ทีฆะรัตตัง
หิตายะ สุขายะ ฯ

สรุป

คงจะถูกใจสำหรับสายบุญทุกท่านเพราะได้ บทสวดมนต์วันพระ ครบจบในที่เดียว เมื่อสวดมนต์เสร็จแล้วอย่าลืมที่จะกรวดน้ำแผ่เมตตาให้กับตนเอง และเจ้ากรรมนายเวรด้วย การสวดมนต์ นอกจากเป็นการบูชาพุทธเจ้าของพุทธศาสนิกชนแล้ว ยังช่วยให้เรามีสมาธิ จิตใจสงบ ผ่องใส

ทั้งนี้การสวดมนต์ไม่ว่าจะเป็นบทใดก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีอานุภาพในตัวเองอยู่มากมาย อีกทั้งยังแฝงไปด้วยข้อคิดดีๆ ที่จะเป็นหลักนำทางให้เราดำเนินชีวิตในทุกๆ วันไปได้อย่างราบรื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

Facebook
Twitter
Email