สาวน้อยเดินมาหาเพื่อนบ้านต่างวัยด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแล้วเอ่ยถามว่า “แม่โลมาจ๋า….หนูว่าจะไปสักการะท่าน พระพรหม ต้องเตรียมของอะไรบ้างจ๊ะ?”
เพื่อนบ้านวัยสูงกว่าเงยหน้าขึ้นมาจากกระถางต้นไม้ถามกลับไปว่า “แล้วคุณน้องหนูจะขอพรอะไรล่ะ…รู้หรือเปล่าว่าสามารถขอพรอะไรจากท่านได้บ้าง”
สาวน้อยมวดคิ้วคิดอยู่สักครู่ ตอบกลับมาว่า “ขอได้ทุกเรื่องไม่ใช่หรอคะ…” เอาแล้วไงจะขอพรยังไม่รู้เลยว่าขออะไรได้บ้าง คงต้องเริ่มอธิบายกันตั้งแต่เริ่มต้นแล้วซะละม้างงงง….
เอาเป็นว่าก่อนที่จะไปดูว่าเครื่องสักการะขอพระมีอะไรบ้าง เรามาดูที่มาของของท่านก่อนว่ามีความเป็นมาอย่างไร รวมถึงว่าสามารถขอพรอะไรได้บ้างจากท่าน
สารบัญ
Toggleกำเนิดพระพรหม
ตามตำราของพราหม และฮินดู ว่ากันว่า พระพรหม เป็นผู้สร้างโลก แล้วถ้าจะถามกันต่อไปอีกว่าพระพรหมเกิดขึ้นมาได้อย่างไร บางตำราก็ว่ากำเนิดของ พระพรหมเกิดจากดอกบัวที่พุดขึ้นจากสะดือของพระวิษณุ ที่บรรทมหลับอยู่บนหลังพระยาอนันตนาคราชที่เกษียรสมุทร
อีกบางตำราก็ว่า เมื่อครั้งพระวิษณุต้องการสร้างโลก จึงแบ่งภาคออกเป็น ๓ ภาค โดยพระพรหม เกิดจากสีข้างเบื้องขวา พระวิษณุ (พระองค์) เกิดจากสีข้างเบื้องซ้าย พระศิวะ เกิดจากบั้นกลางพระองค์คัมภีร์มานวธรรมศาสตร์
รู้หรือไม่ก่อนนี้พระพรหมมี 5 เศียร
ฮะ!!…จริงหรือ เกิดมาก็เห็นว่ามี 4 เศียร เอาเป็นว่าบางส่วนของตำนานได้ว่าเอาไว้ว่า เมื่อครั้งแรกพระพรหมทรงมี 5 เศียร แต่พระองค์ทรงไปหลงรักและหวงแหนพระมเหสีนี้อย่างมากไม่ว่าจะเสด็จไปที่ใดก็ตาม
พระองค์จะทรงใช้ตาทั้ง 5 เศียรของ พระองค์เฝ้าติดตามไม่ว่าจะเกิดเหตุใดขึ้นก็ตามจะได้ช่วยทันทุกเวลาต่อมา 1 ใน 5 เศียรเกิดไปพูดจากดูหมิ่นมเหสีของพระศิวะเมื่อพระองค์ทราบเรื่องจึงบันดาลโทสะ
จนเกิดการต่อสู้กันระหว่าง พระพรหมกับพระศิวะ เมื่อเวลาต่อมาพระพรหมเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ถูกพระศิวะตัดเศียรไปหนึ่งเศียร จึงเป็นเหตุให้พระพรหม เหลือเพียง 4 เศียร นับแต่นั้นเป็นต้นมา
แต่บางตำนานก็กล่าวไว้ว่า พระพรหมทรงถูกพระศิวะใช้ฤทธิ์เพ่งตาที่ 3 ทำให้เกิดไฟเผาผลาญเศียรที่ 5 ของพระพรหมจนมอด ไหม้ เพราะกล่าวคำหมิ่นพระศิวะนั่นเอง
พระพรหมประทานพร
รู้กันหรือไม่ว่า….แต่ละพระพักต์ของพระพรหมนั้นประทานพรให้แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนไปขอพรจากท่าเราต้องรู้ก่อนว่าสามารถขอพรอะไรได้บ้าง รู้ก่อนขอพรถูกก็ได้สมหวังตามที่ขอแน่นอน การนับพระพักต์แรกของพระพรหมให้นับเวียนไปทางขวามือของเรา (ซ้ายมือของท่าน) เรียงตามลำดับดังนี้
- พระพักตร์ที่ 1 จะโดดเด่นในเรื่องของการงาน การเรียน การสอบ การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง การขอพรเกี่ยวกับพ่อ
- พระพักตร์ที่ 2 จะเด่นในเรื่องของที่อยู่อาศัย อสังหาริมทรัพย์ บ้านที่ดิน คอนโด รถยนต์ รวมทั้งหนี้สินต่างๆ
- พระพักตร์ที่ 3 ให้ขอพรเกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพ ชีวิตครอบครัว ความรัก สัญญา หุ้นส่วน
- พระพักตร์ที่ 4 จะเกี่ยวกับเรื่องโชคลาภ สิ่งที่จะได้มาโดยบังเอิญ สิ่งต่างๆ ขอออเดอร์สินค้าใหญ่ๆ หรือ แม้กระทั่งขอเรื่องบุตร
เตรียมของบูชาขอพร
การเตรียมนั้นจะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนของจำนวนธูปเทียน และเครื่องบูชาสักการะ ได้ดังนี้
จำนวนธูป เทียน
- พระพักตร์ที่ 1 ใช้ธูป 16 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด
- พระพักตร์ที่ 2 ใช้ธูป 36 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด
- พระพักตร์ที่ 3 ใช้ธูป 39 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด
- พระพักตร์ที่ 4 ใช้ธูป 19 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด
เครื่องบูชาสักการะ
- ดอกไม้ กลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกมะลิ ดาวเรือง ดอกบัว ดอกโมก กำยานและธูป ใช้จุดได้ทุกกลิ่น
- อาหารที่ถวาย ควรเป็นขนมหวาน รสอ่อน ไม่ปรุงรสมากเกิน ไม่เค็มจัด ไม่ผสมสี เน้นธรรมชาติให้มากที่สุด
- ผลไม้ ถวายได้ทุกชนิด แนะนำมะพร้าว สาลี่ ชมพู่ กล้วย
- สามารถถวาย ธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสาร ข้าวหุง เมล็ดถั่วต่างๆ งาขาว งาดำ ลูกเดือย เผือก มัน สมุนไพร เมล็ดพริกไทย ผักชี ใบกระเพรา พืชผักสดต่างๆ (ของทุกอย่างจะสุกหรือไม่สุกก็ได้) ห้ามถวายเนื้อสัตว์เด็ดขาด
สำหรับในเรื่องของเวลาว่าจะไปไหว้ขอพรช่วงไหนดีที่สุด ในส่วนนี้ไม่มีระบุไว้แน่ชัด แต่ที่นิยม วันอังคารและวันพฤหัสบดี ช่วงเวลา 06.00 – 11.00 น.
รวมคาถาบูชา
เนื่องจากพระพรหมเป็นที่นับถือทั้งในประเทศต้นกำเนิดและทั้งในประเทศไทยที่รับเข้ามา ดังนั้นแม่โลมาจึงได้หาบทบูชาทั้งแบบพราหมณ์-ฮินดู และแบบไทยพุทธมาาให้ตาแต่สะดวกแต่ละท่าน แต่ถ้าหากบทบูชายาวไป แม่โลมาก็มีบทสวดแบบย่อมาให้ด้วยนะจ๊ะ
คาถาบูชาพระพรหมแบบพราหมณ์-ฮินดู
การสวดแบบพราหมณ์-ฮินดู ต้องสวดคาถาบูชาพระพิฆเนศก่อนทุกครั้ง ถึงค่อยสวดคาถาบูชาพระพรหม
โอม พรหมมายะ นะมะห์ (4 จบ)
โอม ปะระเมสะมะ มัสการัม
องการะนิสสะวะ รัง พรหมเรสสะยัมรูปัสสะวะวิษณุไวยะ ทานะโมโทติลูกปัม ทะระมา ยิกยานัง
ยะไวยะลาคะมุลัมสะทานันตะระ วิมุสะตินันนะมัตเตนะมัตเตร
จะ อะการัง ตะโกวาจะ เอตามาตาระยัต ตะมันตะราม กัตถะนารัมลา จะสะระวะปะติตัม
สัมโภพะกลโก ทิวะทิยัมมะตัมยะ
โอม จะตุระมุขายะ วิทมะเห หัมษา รุทายะ ธีมะหิ
ตันโน พรหมมา ประโจทะยาต (1 จบ)
คาถาบูชาพระพรหมแบบพุทธ
(ตั้งนโม 3 จบ)
โองการพินธุนาถัง อุปปันนัง
พรหมมาสะหะปะตินามะ
อาทิกัปเป สุอาคะโต ปัญจะปะทุมมังทิสะวา
นะโมพุทธายะ วันทะนังฯ
โอม พรหมมะเณ นะมะ โองการพินทุ นาถังอุปปันนาถัง
สุอาคะโต ปัญจะปะทุมมัง
พรหมมาสะหัมปะตินามังทิสสะวา นะโมพุทธายะ วันทานัง
โอม พระพรหมมา ปฏิพาหายะ
ทุติยัมปิ พระพรหมมา ปฏิพาหายะ
ตะติยัมปิ พระพรหมมา ปฏิพาหายะ
พรหมมาจิตตัง ปิยังมะมะ
นะชาลีติ นะมะพะทะ
นะมะอะอุ เมกะอะอุ
ปิโย เทวะ มะนุสสานังปิโย พรหมมา นะมุตตะมัง
ปิโย นาคะ สุปันณานังปินินทะริยัง นะมามิหัง
คาถาบูชาพระพรหม แบบย่อ : โอม อหัม ปรัหมา อัสมิ
สรุป
สำหรับการจุดธูปบูชาหากใครจำไม่ได้ว่าจุดจำนวนเท่าไหร่บ้างแม่โลมาขอแนะนำว่า ไหว้ธูป 9 ดอก เทียน 2 เล่ม ก็ได้เหมือนกัน และของบูชาก็สามารถเตรียมตามที่สะดวกได้เลยแต่อย่าให้มีเนื้อสัตว์เท่านั้นเอง หรือถ้าหากจำไม่ได้ว่าพระพักต์ใดขอพรเรื่องอะไร ก็ให้ขอในสิ่งที่ต้องการทั้งสี่หน้าเลยก็ได้ มันต้องตรงกันบ้างแหละ
นอกจากนี้ พราหมณ์ท่านหนึ่งแห่งโบสถ์พราหมณ์กล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า “พระพรหมเป็นพระผู้สร้าง ความศักดิ์สิทธิ์อยู่ที่ความศรัทธา คนที่มากราบไหว้อย่าเล็งแต่เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ แต่อยากให้มาแล้วรับหลักธรรมไปปฏิบัติด้วย ไม่ว่าจะเป็น เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ซึ่งเมื่อปฏิบัติได้แล้วก็จะเกิดความเป็นมงคลแก่ตัวเอง”
นั่นก็หมายความว่า ผู้ที่ประพฤติดีตั้งอยู่ในคุณงามความดีแล้ว จะช่วยให้พรนั้นสมหวังเร็วยิ่งขึ้น สุดท้ายแล้วหากมีการบนบานหรือสัญญาว่าจะทำอะไรถ้าสำเร็จ ห้ามลืมเลยนะคะ ให้กลับมาทำตามสิ่งที่บนบาน ดังนั้นควรบนบานในสิ่งที่ไม่เกินตัวนะคะ ruay แน่ๆ