ต้นเพกา

ต้นไม้ที่ไม่ควรปลูกในบ้าน เพกา ต้นไม้แห่งความแตกแยก

เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย ทำให้หลาย ๆ ท่านได้มีโอกาสอยู่บ้านกันมาขึ้น นั่นเพราะต้อง work from home กัน มีเวลาว่างมากขึ้นจึงทำหลาย ๆ คนหันมาปลูกต้นไม้เป็นงานอดิเรกมากขึ้น รู้กันหรือไม่ว่ามีต้นไม่บางชนิดที่มีความเชื่อเขาว่าห้ามปลูกในบริเวณบ้านอย่างเช่นต้น ต้นเพกา

ใบต้นเพกา

มารู้จักต้นเพกา กันก่อน

ต้นเพกา หรือต้นลิ้นฟ้า แต่คนจีนเรียก “กระดาษพันใบ” เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งมีขนาดกลางสูงประมาณ 5 – 12 เมตร เป็นไม้เนื้ออ่อน แตกกิ่งก้านน้อย ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาดใหญ่เรียวตรงข้ามแน่นบริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดเป็นกลุ่ม ก้านช่อดอกยาว ตั้งดอกย่อยมีขนาดใหญ่ ขนาดผ่าศูนย์กลาง 6-9 เซนติเมตรกลีบดอกสีเหลืองนวลหรือแกมเขียว ส่วนโคนกลีบมีสีม่วงแดง หนา ย่น ดอกจะบานกลางคืน หรือรุ่งเช้า ผล เป็นฝัก รูปดาบแบน ขนาดใหญ่ กว้าง 8-12 เซนติเมตร ยาว 40-60 เซนติเมตรสีน้ำตาล เมื่อแก่จะแตกตามยาว ภายในมีเมล็ดแบน สีขาวมีปีกบาง

ประโยชน์ของต้นเพกา

เพกา มีสรรพคุณเป็นยา ตามตำรายาสมุนไพรนั้นแพทย์แผนโบราณจะใช้ส่วนต่างๆของต้นเพกาตั้งแต่ ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร “เพกาทั้ง 5” เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านใช้รักษาอาการไม่สบายบางชนิดได้

ราก

  • มีรสฝาดเย็น ขมเล็กน้อย ใช้บำรุงธาตุ ทำให้เกิดน้ำย่อยอาหาร เจริญอาหาร
  • แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต
  • ใช้ภายนอก รากฝนกับน้ำปูนใส ทาแก้อาการอักเสบ ฟกบวม

ฝักอ่อน

  • รับประทานเป็นผัก ช่วยในการขับผายลม บำรุงธาตุ

เมล็ด

  • ใช้เป็นยาถ่าย เมล็ดแก่ใช้เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ

เปลือกต้น

  • รสฝาดเย็น และขมเล็กน้อย เป็นยาสมานแผล ทำน้ำเหลืองให้เป็นปกติ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับเลือดดับพิษโลหิต บำรุงโลหิต แก้เสมหะจุกคอ ขับเสมหะ แก้บิด แก้อาการจุกเสียด
กิ่งต้นเพกา

สรรพคุณของต้นเพกา

เนื่องด้วยเพกามีสรรพคุณมากมายจะขอยกมาบางตัวอย่าง ซึ่งมีดังนี้

  • เพกาสมุนไพรเพกาช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยชะลอการเสื่อมของเซล์ต่าง ๆในร่างกาย (ฝักอ่อน)
  • ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยและช่วยชะลอวัย (ฝักอ่อน)
  • ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (ฝักอ่อน)
  • ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ (ฝักอ่อน)
  • ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ (ราก, ฝักอ่อน, เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก, ใบ)
  • ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้เปลือกเพกา เปลือกต้นไข่เน่า ใบไข่เน่า แก่นลั่นทม บอระเพ็ด ใบเลี่ยน รากหญ้าคา รวม 7 อย่าง น้ำหนักอย่างละ 2 บาท นำมาต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้วเล็ก ก่อนอาหาร เช้าและเย็น (เปลือก)
  • การรับประทานฝักเพกาหรือยอดอ่อนเพกาจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้ (ฝัก, ยอดอ่อน)
  • ช่วยบำรุงโลหิต (เปลือกต้น)
ดอกเพกา
  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต (เปลือกต้น)
  • ช่วยขับเลือด ดับพิษในโลหิต (เปลือกต้น)
  • การกินฝักอ่อนของเพกาจะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น (ฝักอ่อน)
  • ใช้แก้ร้อนใน (ฝักแก่)
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดไข้ ด้วยการใช้ใบเพกาต้มน้ำดื่ม (ใบ)
  • ช่วยแก้ละอองไข้ หรือโรคเยื่อเมือกในช่องจมูกอักเสบ (เปลือกต้นตำผสมกับสุรา)
  • ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ ด้วยการใช้เมล็ดแก่เพกาประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (1.5 – 3 กรัม) ใส่ในหม้อที่เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร แล้วต้มไฟอ่อน ๆ จนเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จนกว่าอาการจะดีขึ้น (ฝักอ่อน, เมล็ด)
  • ช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้เมล็ดแก่เพกาประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (1.5 – 3 กรัม) ใส่ในหม้อที่เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร แล้วต้มไฟอ่อน ๆ จนเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จนกว่าอาการจะดีขึ้น (ฝักอ่อน, เปลือกต้น, เมล็ด)
  • ช่วยแก้อาการอาเจียนไม่หยุด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกาตำผสมกับน้ำส้มที่ได้จากรังมดแดงหรือเกลือสินเธาว์ (เปลือกต้นสด)

ความเชื่อที่มีต่อต้นเพกา

ตามความเชื่อของคนไทยโบราณห้ามปลูกต้นเพกาไวในบริเวณบ้าน เพราะถือว่าฝักเพกามีรูปร่างคล้ายดาบหรือปลายหอก อาจนำเรื่องเดือดร้อนเลือดตกยางออกมาสู่เจ้าของบ้านได้ อีกอย่างหนึ่ง ฝักเพกาเป็นชื่อเรียกเหล็กประดับ ยอดพระปรางค์มี 10 กิ่ง (เพราะมีรูปร่างคล้ายฝักเพกา) จึงนับเป็นของสูงไม่คู่ควรนำมาปลูกในบ้าน (เช่นเดียวกับต้นโพธิ์ ต้นไทร) แต่หากนำไปปลูกไว้ตามเรือกสวนไร่นาหรือรั้วบ้านคงจะไม่ถือสากัน

ต้นเพกาพาถูกหวย

จากข่าวดังเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 เป็นที่ฮือฮาของชาวบ้านที่บ้านละลม หมู่ ​1 ต.ลมละใหม่พัฒนา อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ต้นเพกา หรือต้นลิ้นฟ้า มีช่อดอกลักษณะ​ประหลาดคล้ายกับหัวของพญานาค และเคยให้โชคมาแล้วหลายงวด เอ๊ะ…ไหนตอนแรกบอกห้ามปลูกในริเวณบ้าน แต่ต้นเพกาต้นนี้ได้​ขึ้นอยู่บริเวณริมรั้วหน้าศาลพระภูมิของบ้านเลขที่ 85/1 ที่มี นายสมชัย ปล่องกระโทก อายุ 48 ปี เป็นเจ้าของ

ซึ่งเจ้าตัวบอกว่า ไม่ได้ปลูก แต่ขึ้นเองตามธรรมชาติมานาน 5 ปี แล้ว ที่ผ่านมาตนก็ไม่ได้สังเกตว่า มีอะไรแปลกจนมีชาวบ้านหลายคนเข้ามาดูและบอกว่า มีช่อดอกเพกาอยู่ทั้งหมด 7 ช่อ แต่มีอยู่ 1 ช่อ ที่มีความแปลกกว่าช่ออื่นคือ มีลักษณะคล้ายส่วนหัวของพญานาค ส่วนบนดูคล้ายหงอนและส่วนล่างดูคล้ายเคราของพญานาค พอตนไปมองดูก็สึกว่า คล้ายพญานาคจริง ไม่เคยพบเจอ​ต้นเพกาที่มีช่อดอกลักษณะ​เป็นแบบนี้ที่ไหนมาก่อน มีชาวบ้านมานับช่อของเพกา ตีเป็นตัวเลข หรือเอาบ้านเลขที่ตนไปเสี่ยงโชคจนถูกรางวัลมาแล้ว…

ดอกอะไรนำโชคถูกหวย?

ตามความเชื่อของคนไทยก็ยังดอกไม้มงคลอีกมากมายเช่น ดอกโป๊ยเซียน ถึงแม้ว่าจะเป็นดอกไม้มีพิษ แต่ความเชื่อของชาวจีนต้นโป๊ยเซียนคือ ต้นไม้ 8 เซียนเทพของจีนที่จะช่วยนำโชคลาภ ความเป็นสิริมงคลเข้ามาให้กับคนในบ้าน

ต้นไม้ปลูกแล้วรวยมีไหม?

ต้นไม้มงคลนั้นมีด้วยกันมากมายหนึ่งในนั้นก็คือ “ต้นตะแบก” หรือ ดอกตะแบก ที่เป็นดอกไม้ริมทางมีลักษณะสีม่วง ส่งกลิ่นหอมและบานในช่วงฤดูหนาว คนโบราณเชื่อกันว่าการปลูกตะแบกจะช่วยให้ร่ำรวย เนื่องจากตะแบกมาจากคำว่า “แบก” ที่หมายถึงแบกไว้ไม่ให้ตกต่ำ ดังนั้นการปลูกตะแบกจึงทำให้ร่ำรวยฐานะมั่นคงนั่นเอง

ปลูกต้นอะไรทำให้มีโชคลาภ?

ต้นไม้มงคลปลูกแล้วรวย มีอยู่ด้วยกันหลายสายพันธุ์ หนึ่งในนั้นที่นิยมได้แก่ ต้นออมเงินออมทอง ต้นกวักมรกต ต้นวาสนา ต้นใบละบาท ฯลฯ แต่ละต้นนั้นส่วนใหญ่จะเป็นต้นไม้ที่มีชื่อดีเป็นมงคล เกี่ยวกับเงินทองทั้งสิ้น จึงเชื่อว่าการปลูกต้นไม้เหล่านี้ในบ้านจะนำเงินทองมาให้ไม่ขาดมือ

สรุป

ตามความเชื่อของคนโบราณเพราะ ต้นเพกา ฝักเพกามีรูปร่างคล้ายดาบหรือปลายหอก อาจนำเรื่องเดือดร้อนเลือดตกยางออกมาสู่เจ้าของบ้านได้ จึงไม่นิยมที่นำมาปลูกในบริเวณบ้าน แต่หากมองข้ามความเชื่อนั้นไปเพกานั้นมีคุณประโยชน์มากมายทางสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรรักษาอาการไม่สบายต่าง ๆ ได้มากมาย

นอกจากนี้ยังนำมาปรุงอาหารได้อีกด้วย ปัจจุบันนี้เพกายังกลายเป็นพืชที่ชาวบ้านปลูกเพื่อจำหน่ายแล้ว หากใครคิดจะปลูกก็ขอแนะนำให้ปลูกกันเลยตอนนี้มีพันธ์ต้นเตี้ยแล้วด้วยนะนอกจากนี้ Ruay รวบรวมบทความดี ๆ มาให้ข้างล่างนี้แล้ว ไปอ่านเสริมดวงกันต่อได้เลย

ขอบคุณภาพบางส่วนจาก sanook

บทความแนะนำ

Facebook
Twitter
Email