เมื่อนึกถึง ภาคเหนือ สิ่งแรกที่มักจะนึกถึงคือ ภาพพระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่ ป่าไม้ ภูเขาอันอุดมสมบูรณ์ ภาษาที่หวานเจี๊ยบของชาวล้านนา พื้นที่ตรงนี้ครั้งหนึ่งเคยเต็มไปด้วยเรื่องราวของคนโบราณมากมาย บางอย่างสืบทอดกันมาเป็นทอด ๆ จนถึงคนในยุคปัจจุบัน และหนึ่งในนั้นก็คือ ประเพณีภาคเหนือ นั้นเอง ภูมิภาคนี้มีความงดงามอะไรบ้าง วันนี้ Ruay จะพาทุกคนไปดูกัน
สารบัญ
Toggleความเชื่อของคนภาคเหนือ
ตั้งแต่โบราณชาวเหนือหรือชาวล้านนามีความเชื่อและศรัทธาเกี่ยวกับผี คนเหล่านี้เชื่อว่าทุก ๆ สถานที่มีผีเจ้าที่ ผีปู่ผีย่า บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วคอยคุ้มครองและปกปักรักษาดูแล ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ย่อมมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและทำให้ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ มีผีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ยกตัวอย่างประเพณีแปลก ๆ ของภาคเหนือ ดังนี้
5 ประเพณีภาคเหนือ สุดแปลก
ประเพณีเลี้ยงผี จังหวัดลำปาง
ประเพณีแรกที่เรานำเสนอคือ ประเพณีการเลี้ยงผี การเลี้ยงผีชาวล้านนาเชื่อว่าคนในครอบครัวที่เสียชีวิตไปแล้วจะคอยกลับมารักษา คุ้มครองลูกหลานหรือคนที่มีชีวิตอยู่ ประเพณีนี้คือ การจัดอาหารคาวหวานไปเซ่นสังเวย ดวงวิญญาณผู้ตาย ณ หิ้งผีปู่ย่าหรือหอผี อีกทั้งยังเชื่อว่าการเลี้ยงผีจะทำให้ครอบครัวอยู่อย่างเป็นสุข
ดังนั้นจัด “หิ้งผีปู่ย่าหรือหอผี” ไว้ในบ้าน ส่วนมากจะตั้งไว้บนหัวนอนของบ้าน สูงจากพื้นประมาณ 2 เมตร หิ้งผีปู่ย่านี้ถือว่าเป็นของสูง เด็ก ๆ จะไปเล่นไม่ได้ ผู้อาวุโส หรือพ่อแม่เท่านั้นที่จะเกี่ยวข้องกับหิ้งปู่ย่าได้
การเลี้ยงผี มี 2 อย่าง ได้แก่
- เลี้ยงผีปู่ย่า ทำใน “วันพญาวัน” (วันสงกรานต์) หรือวันปีใหม่ไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 15 เมษายน
- เลี้ยงผีหอ นิยมทำกัน ระหว่างเดือนสี่ เดือนหก เดือนเจ็ด
ประเพณีหลู่จองพารา จังหวัดแม่ฮ่องสอน
คำว่า “จองพารา” เป็นภาษาไทยใหญ่แปลว่า “ปราสาทพระ” ประเพณีหลู่จองพารา จึงหมายถึง ประเพณีบูชาปราสาทพระ คนไตหรือชาวไทยใหญ่ เชื่อว่าหากได้จัดทำจองพารา หรือสร้างปราสาทพระรอรับองค์พระสัมมาสมัพุทธเจ้าที่จะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จะทำให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ทำอะไรก็สำเร็จ ค้าขายร่ำรวย ซึ่งประเพณีนี้นิยมทำกันก่อนวันออกพรรษาจะมีการสร้าง “จองพารา” ปราสาทจำลอง ที่ทำด้วยโครงไม้ไผ่ ประดับลวดลายด้วยกระดาษสา กระดาษสีต่างๆ หน่อกล้วย อ้อยและโคมไฟ ตกแต่งอย่างสวยงาม
ช่วงเวลาที่จัดงาน : ระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันแรม 8 ค่ำ ซึ่งตรงกับวันออกพรรษา ตลอด 7 วัน
ประเพณีอู้สาว
คำว่า “อู้” เป็นภาษาเหนือแปลว่า “พูดกัน คุยกัน สนทนากัน สนทนากัน” ดังนั้น “อู้สาว” ก็คือ พูดกับสาว คุยกับสาว หรือแอ่วสาวนั่นเอง ซึ่งการอู้สาวนั้น จะไม่ได้อู้หรือพูดคุยกันแบบปกติ แต่เป็นการพดคุยกันเป็นทำนองหรือเป็นกวีโวหาร
การอู้สาวหรือแอ้วสาวจะทำตอนกลางคืน โดยชายหนุ่ม จะไปไหนมาไหนเป็นกลุ่มๆ และพูดคุยกันอย่างสนุกสนานเพื่อไป “เซาะอู้” (คือการไปคุยกับสาวๆ ตอน กลางคืนช่วงว่างงาน)
ประเพณีทานหลัวผิงไฟพระเจ้า
ประเพณีทานหลัวผิงไฟพระเจ้า คือ ประเพณีถวายฟืนแก่พระสงฆ์ เพื่อใช้จุดไฟในช่วงฤดูหนาว โดยชาวบ้านจะช่วยกันหาไม้ หาฟืน จากนั้นก็ถากเปลือกไม้ออกและตัดไม้ออกเป็นท่อน ๆ นำท่อนไม้ที่ตัดไว้มามัดรวมกัน แล้วก็นำข้าวตอกดอกไม้ สำรับอาหารคาวหวาน และฟืน 1 มัดไปถวายพระสงฆ์ จากนั้นพระสงฆ์จะนำฟืนไปถวายพระพุทธรูป ในวันรุ่งขึ้นประมาณตี 4 – 5 เจ้าอาวาสจะจุดไฟผิง โดยใช้ฟืนที่ชาวบ้านนำมาถวาย และตีฆ้องบอกให้ชาวบ้านรับรู้ เพื่อร่วมอนุโมทนาบุญ
ช่วงเวลาที่จัดงาน : เดือน 4 เหนือ หรือเดือนมกราคม
ประเพณีทานข้าวหลามและข้าวจี่
ประเพณีทานข้าวหลามและข้าวจี่ จะจัดขึ้นหลังฤดูการเก็บเกี่ยวหรือช่วงเดือน 4 เหนือ โดยชาวนาจะนำข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาทำข้าวหลาม ข้าวจี่ (ข้าวเหนียวปิ้ง) ข้าวเม่า ข้าวต้ม ถวายพระสงฆ์ เรียกว่า “พิธีทานเข้าใหม่หรือทานข้าวใหม่” อีกทั้งยังถือโอกาสทำ “ทานขันข้าว” ไปด้วยเลย ซึ่งการทำ”ทานขันข้าว”นั้น ก็คือการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว
สรุปส่งท้าย
จะเห็นได้ว่าในทุก ๆ พื้นที่ ย่อมมีประเพณีและวัฒนธรรมเฉพาะตัวหรือเป็นของตนเอง ประเพณีนี้จะมีลักษณะอย่างไรหรือเป็นแบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อของคนในพื้นที่นั้นๆ อย่างภาคเหนือคนล้านนา เขามีความเชื่อเรื่องผีมาก่อน ก็มีประเพณีที่เกี่ยวกับผี เป็นต้น
อย่างไรก็ตามประเพณี วัฒนธรรมต่าง ๆ ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณนั้น เป็นสิ่งสวยงามและควรค่าแก่การรักษาเอาไว้ให้ลูกหลานได้เห็น เราในฐานะคนที่เกิดก่อนก็ควรสืบทอดสิ่งเหล่านี้ให้อยู่นานเท่านาน และอีกหนึ่งความเชื่อขอภาคเหนือคือ ต้นโพธิ์ ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เพราะมีความเชื่อว่าเป็นต้นไม้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
บทความที่เกี่ยวข้อง