การทำบุญรูปแบบหนึ่งที่ชาวพุทธนิยมปฏิบัติกัน เมื่อถึงวันคล้ายวันเกิด ก็คือการทำบุญตักบาตร ปล่อยสัตว์เป็นทาน เพื่อจะได้มีชีวิตยืนยาว นอกจากนี้ชาวพุทธบางคนก็ยังถึงขั้นลงทุนลงแรก จัดตั้งโรงทาน เพื่อแจกจ่ายอาหารให้กับคนยากไร้ด้วย การ “ทำบุญโรงทาน” นั้นคืออะไร และให้อานิสงค์อะไรกับชีวิตบ้าง วันนี้เราจะไปทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน
สารบัญ
Toggleโรงทาน คือ
พจนานุกรมภาษาไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า “โรงทาน” ไว้ว่า… สถานที่แจกจ่ายอาหารแก่คนทั่วไปเป็นการกุศล ซึ่งคำว่า “โรงทาน” นั้นเป็นคำที่แปลจากศัพท์ภาษาบาลี 2 ศัพท์ ได้แก่ ทานัคคะ และ ทานศาลา
- ทานัคคะ มาจากคำว่า ทาน+อัคคะ แปลว่า โรงทาน, โรงเป็นที่ถวายทาน, โรงเป็นที่แจกทาน โรงทานลักษณะนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ถวายทานแก่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์และใช้เป็นที่แจกทานแก่คนที่ต้องการความช่วยเหลือ เช่น คนยากจน คนเดินทาง คนกำพร้า
- ทานศาลา มาจากคำว่า ทาน+สาลา แปลว่า ศาลาเป็นที่ให้ทาน ทานศาลาที่พบในคัมภีร์พระพุทธศาสนานั้น มีการแจกทานลักษณะเดียวกันกับทานัคคะ เพียงแต่ดูจะมีความใหญ่โต ทางการและมีความมั่นคงถาวรกว่า เนื่องจากมีตั้งอยู่ประจำมีการระบุตำแหน่งที่ตั้งอย่างชัดเจน
ทำไมต้องทำบุญโรงทาน ทำบุญโรงทานเพื่ออะไร
วัตถุประสงค์หลักของการตั้งโรงทาน คือ การให้ทาน เพราะชาวพุทธเชื่อกันว่าการให้ทาน ไม่ว่าจะถวายแก่พระสงฆ์หรือแก่ประชาชนทั่วไปย่อมได้รับอานิสงส์ เป็นพุทธบูชาทั้งสิ้น ชาวพุทธในสมัยพุทธกาลจึงนิยมให้ ทานโดยการตั้งโรงทานอย่างเป็นทางการนั่นเอง
การทำบุญโรงทานในอดีต
ย้อนกลับไปสมัยที่พระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่ สมัยนั้นมีนยากจนข้นแคน ไม่มีอาหารประทังชีวิตเยอะมาก การจัดตั้งโรงทานในสมัยก่อน ก็เพื่อเลี้ยงคนยากคนจน คนรวยไม่มีโอกาสได้กิน เป็นการเลี้ยงเพียงวรรณะเดียวเท่านั้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานาม หรือชื่อที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ
พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน 6 ขณะที่มีพระชนมายุ 35 พรรษา หรือตรงกับวันวิสาขบูชานั่นเอง
ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
การทำบุญโรงทานในปัจจุบัน
ตรงข้ามกับสมัยนี้ที่จัดตั้งโรงทานในวัดเนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการงานยกช่อฟ้า ทำบุญผ้าป่า เพื่อแบ่งเบาภาระเรื่องอาหารของทางวัด เพราะหากไม่มีโรงทาน วัดก็ต้องสิ้นเปลืองเงินทองจัดหาอาหารมาเลี้ยงคนที่มาร่วมทำบุญต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วการทำบุญโรงทานในปัจจุบันยังการเปิดกว้างให้คนทุกชั้นทุกวรรณะ ไม่ว่าจะยากดีมีจนก็มีสิทธิมารับประทานอาหารได้
อีกทั้งเขายังถือว่าการทำบุญโรงทาน หรือตั้งโรงทานในวัดเป็นการร่วมสร้างบุญสร้างกุศลกับพระสงฆ์ เราจะได้พึ่งบุญบารมีของท่านด้วย กล่าวคือ… เมื่อมีคนทานอาหารอร่อยเขาก็จะอนุโมทนากับเจ้าของโรงทานรวมทั้งเหล่าเทวบุตรเทวดาก็จะร่วมอนุโมทนาด้วยเช่นกัน ดังนั้นการตั้งโรงทานในวัดจึงได้อานิสงส์มากกว่าตั้งโรงทาน เพื่อเลี้ยงคนยากคนจนเพียงอย่างเดียวนั่นเอง
อานิสงค์ของการ ทำบุญโรงทาน
จากคำกล่าวของ “หมอช้าง” ทศพร ศรีตุลา หมอดูไฮโซชื่อดัง ได้โพสต์ในอินสตาแกรมส่วนตัว “morchang” บอกเล่าถึงอานิสงส์การทำบุญโรงทาน สร้างโรงครัว ใครทำบุญ ว่า…
“จะไม่เป็นผู้อดอยากทั้งภพนี้และภพหน้า เป็นผู้แวดล้อมไปด้วยบริวารที่ดี เป็นผู้เจริญรุ่งเรืองในการประกอบวิชาชีพ กระทำสิ่งใดไร้อุปสรรคขวากหนาม เดียว เป็นการสร้างบารมีด้วยตัวเอง ซึ่งเกิดมาชาติใดก็จะไม่อดไม่อยาก”
นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงอานิสงค์ของการตั้งโรงทานอีกแบบหลายประการ ดังนี้
- ไม่อดหรือขาดเเคลนอาหารการกินตลอดชีวิตในปัจจุบันเเละภพหน้า (สร้างเหตุใดย่อมได้เหตุนั้น)
- มีผู้อุปถัมภ์เรื่องอาหารการกินเสมอ (สร้างเหตุใดย่อมได้เหตุนั้น)
- เป็นผู้ไม่ตระหนีในทรัพย์ อันเป็นบ่อเกิดให้ความโลภเบาบาง (จิตโลภเบาบาง ยิ่งให้ก็ยิ่งไม่อยาก)
- เป็นผู้บริบูรณ์สมบูรณ์ไปด้วยโภคทรัพย์ คือทรัพย์ที่ต้องใช้สอยในปัจจุบัน
- ไม่เป็นคนยากเเคลน ยากจนในชีวิต (ผู้ให้ทานย่อมได้โภคทรัพย์)
- เป็นผู้เจริญรุ่งเรื่องในการประอาชีพ (บุญคือความสำเร็จ)
- มีความสุขเกิดขึ้นจากการเสียสละ (บุญจากการชนะใจตัวเอง)
- สำเร็จได้ตามปรารถนา ( บุญย่อมส่งผลตามที่เราต้องการจริง )
- สามารถส่งผลให้เป็นเศรษฐีได้ในชาตินี้ หรือชาติหน้า (จากอานิสงส์ของทานบารมี)
- เป็นเหตุปัจจัยในการสร้างทานบารมี ซึ่งจะเป็นเหตุให้เราเข้าถึงธรรมในอนาคต
สรุปส่งท้าย
ว่ากันตามตรงแล้ว การ ทำบุญโรงทาน เพื่อแจกจ่ายอาหารให้กับคนยากไร่ หรือผู้ที่ต้องการวัตถุสิ่งของเพื่อใช้ ดำรงชีวิต สามารถทำได้ทุกที่ ไม่จำเป็นต้องเป็นที่วัดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น พวกเราชาว Ruay สามารถทำได้ทั้งที่บ้าน ตามถนน หรือตามป่าเขาได้หมด เพราะสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ความตั้งใจในการทำทานเสียมากกว่า หากใครได้ทำทานไปแล้ว ก็ย่อมนำความผาสุกมาสู่ชีวิตให้เจอแต่ความราบรื่น คนรักคนเมตตา เพราะรู้จักให้และแบ่งปันทรัพย์สินส่วนตัวให้กับผู้อื่นนั่นเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง