กิโยติน

กิโยติน กับความเชื่อการตัดหัวถวายเป็นพุทธบูชา & วิธีถวายพุทธบูชาที่ถูกต้อง!

ใครได้เห็นข่าวดังสะเทือนวงการพระพุทธศาสนาบ้าง! ล่าสุดมีเจ้าอาวาสสำนักสงฆ์ภูหินกอง จังหวัดหนองบัวลำภู ตัดหัวตัวเองด้วยเครื่อง กิโยติน เพื่อหวังถวายเป็นเครื่องพุทธบูชา เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2564 เวลา 05.19 น. โดย “พระธรรมกร” อายุ 68 ปี เชื่อว่าการที่ตัดหัวถวายพระพุทธเจ้านั้น จะทำให้ท่านได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า นับว่าเป็นความเชื่อผิด ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในศาสนาพุทธมาก่อนเลยก็ว่าได้

อย่างไรก็ตาม “พระพยอม” ได้ออกมาโต้กระแสพระสงฆ์ดังกล่าวแล้วว่า “การตัดหัวถวายพระพุทธเจ้า เท่ากับเป็นการดูถูก” เนื่องจากตามความเชื่อในพระไตรปิฏกไม่เคยมีระบุไว้เลยว่าตัดหัวถวายแล้วจะทำให้ตรัสรู้ได้ การกระทำดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงความงมงายที่สุดโต่งมาก ดังนั้นชาวพุทธอย่าได้ลอกเลียนแบบหรือเชื่อตามเด็ดขาด เอาเป็นว่าถ้าใครสงสัยว่า พระพุทธบูชา ที่แท้จริงคืออะไร และมีวิธีถวายพุทธบูชาอย่างไร ตาม ruay ไปสืบกันเลย!

ทำความรู้จัก กิโยติน

เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า “กิโยติน” กันมาก่อน และคงคุ้นเคยกันดีว่าเจ้าเครื่องกิโยตินนี้ แท้จริงก็คือเครื่องประหารชีวิตด้วยการตัดหัวที่ใช้กันในฝรั่งเศสสมัยยุคกลางที่มีการประติวัติฝรั่งเศส ในช่วงปี 1789-1799 ก็ได้มีการนำเครื่องกิโยตินมาใช้ประหาร พระนางมารี อ็องตัวแน็ต และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ด้วยเช่นกัน

กิโยตินคืออะไร

เครื่องกิโยตินถูกคิดค้นขึ้นโดยนายแพทย์ที่ชื่อ “อองตวน หลุยส์” แต่ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อ “กิโยติน” ที่มาจากชื่อ “ดร. โฌเซฟ-ขอินแนซ กิโยแตง” ผู้ที่เสนอแนวคิดเรื่องการประหารนักโทษเพื่อยุติชีวิต โดยการไม่ให้สร้างความเจ็บปวด ซึ่งตอนแรกนั้นมีการประหารด้วยการแขวนคอ หรือตัดคอด้วยขวานและดาบซึ่งมักจะไม่ขาดในครั้งเดียวอันทำให้นักโทษทรมาณ จึงมีการเปลี่ยนมาใช้กิโยตินที่มีใบมีดรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ที่สามารถตัดคอนักโทษขาดได้เพียงฉับเดียว

ท้ายที่สุดกิโยตินถูกหยุดใช้ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ราวปีค.ศ. 1977 โดยคนสุดท้ายที่ถูกประหารด้วยเครื่องตัดหัวก็คือนักโทษคดีฆ่าข่มขืนที่ชื่อว่า “Hamida Djandoubi” ทั้งนี้หลังจากนั้นก็มีบันทึกว่าพวกนาซีได้นำเครื่องกิโยตินมาใช้ประหารคนที่ต่อต้านนาซีในเยอรมันเช่นกันในช่วงปี ค.ศ. 1945 อย่างไรก็ดีกิโยตินได้กลายเป็นภาพจำแห่งยุคสมัยที่น่าสะพรึงกลัวของฝรั่งเศส และการตายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16

กิโยติน กับความเชื่อเรื่องตัดหัวเป็นพุทธบูชา 

เมื่อได้ทราบประวัติกิโยตินกันไปคร่าว ๆ แล้ว คงเกิดคำถามกันในใจว่า แล้วกิโยติน เกี่ยวข้องอะไรกับเครื่องพระพุทธบูชา? คำตอบก็คือไม่เกี่ยวข้องกัน เพียงแต่ว่าพระธรรมกรผู้เสียชีวิตนั้น ได้เชื่อว่าการตัดหัวเพื่อถวายชีวิตให้แด่พระผู้เป็นเจ้า จะช่วยให้ตนกลายเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในอนาคต เขาจึงวางแผนสร้างเครื่องกิโยตินกับลูกศิษฐ์ตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อน เพื่อใช้ในการตัดหัวตนเอง

ตัดหัวพุทธบูชา

ความเชื่อเรื่องการตัดหัวถวายชีวิตเป็นพุทธบูชานั้นถือเป็น “ความเชื่อที่ผิด” อันเกิดมาจากการอ่านหนังสือไม่แตก “ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด” พระพยอมได้ออกมาเปิดเผยว่า ความเชื่อดังกล่าวไม่เคยมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก แม้แต่พระอัครสาวกของพระพุทธเจ้าก็ยังไม่เคยทำ ความเชื่อนี้ถือเป็น “สัจจาภินิเวส” ของคนที่มุ่งรักษาสัจแบบงมงายและสุดโต่ง ซึ่งไม่มองตามเหตุและผลที่เป็นจริงของโลก

ทั้งนี้การถวายพุทธบูชาที่ถูกต้อง “ไม่ใช่การตัดหัวถวายชีวิต” แต่เป็น “การตัดกิเลส และดำรงตนอยู่ในศีลธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า” เพราะพระองค์เชื่อในเรื่องของการปฏิบัติบูชามากกว่า “อามิสบูชา” ที่เป็นการสักการะบูชาด้วยดอกไม้ไหว้พระ ธูปเทียน หรือแม้แต่เงินทอง พระองค์เองยังไม่รับเลย นับภาษาอะไรกับการถวายชีวิตพระองค์ท่านจะรับไว้ ดังนั้นความเชื่อเรื่อง การถวายพุทธบูชา ควรได้รับการให้ความรู้ใหม่แก่พุทธศาสนิกชน

พุทธบูชา คืออะไร??

เพื่อทำความเข้าใจใหม่ คำว่า “พุทธบูชา” แปลว่า “การบูชาพระพุทธเจ้า” หรือ “เครื่องบูชาพระพุทธเจ้า” ซึ่งในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานนั้น การทำพิธีถวายพุทธบูชาถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นการแสดงความเคารพนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ ตามความเชื่อของชาวพุทธในแถบจีน เวียดนาม และญี่ปุ่น โดยการถวายพุทธบูชาถูกแบ่งออกเป็น 3 วิธีได้แก่…

พระพุทธเจ้า
  • ศึกษาธรรมบูชา – การศึกษาธรรมะ หลักธรรมคำสอน
  • ปฎิบัติบูชา – การปฏิบัติตามคำสอน ดำรงตนในศีลธรรม
  • อามิสบูชา – การถวายสิ่งของ เครื่องบูชา แด่พระพุทธเจ้า

ทั้ง 3 วิธีถวายพุทธบูชานี้มีจุดประสงค์แท้จริงเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของบิดามารดา แสดงความเคารพต่อพระผู้เป็นเจ้าและเทวดาต่าง ๆ ไม่ใช่การถวายสิ่งของเพื่อบวงสรวงหรือสังเวยใด ๆ อีกทั้งการถวายเครื่องบูชา ยังเป็นการแผ่ส่วนกุศลให้กับเทวดา ภูติผี อสูรกาย เปรต หรือผู้ยากไร้ ให้ได้อิ่มเอมอีกด้วย ถือเป็นการทำทานอย่างหนึ่งเช่นกัน

พิธีถวายพุทธบูชา ที่ถูกต้องทำอย่างไร

พิธีถวายพุทธบูชา แท้จริงแล้วมีอยู่ด้วยกันทั้งหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การสรรเสริญพระพุทธเจ้า, การวันทนาพระพุทธเจ้า, การอนุโมทนากุศลกรรม, การศึกษาพระธรรมให้เจนจบ, การอุทิศกุศลแก่เวไนยสัตว์ หรือ การถวายบูชาพระพุทธเจ้า ฯลฯ 

กุศลดังกล่าวจากการถวายพุทธบูชาย่อมส่งผลให้ผู้ประกอบพิธีพบกับความรุ่งเรืองในชีวิต มีสติปัญญาที่ดี และไม่ต้องตกในห้วงอบายมุขเมื่อล่วงลับไปแล้ว สามารถปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้…

พิธีถวายพุทธบูชา
  • การถวายพระพุทธบูชา เริ่มด้วยการสวดคำถวายธูปเทียนหรือเครื่องหอมแด่พระพุทธเจ้า จากนั้นจะสวด “พุทธธารณีมนต์” (มนต์คาถาทางฝ่ายพุทธศาสนามหายาน) 12 บท หลังจากนั้นจะต่อด้วยการสวดคำถวายธูปเทียนเครื่องหอมอีกครั้ง 
  • เสร็จแล้วตามด้วยกล่าวถวายบูชาโดยเอ่ยพระนามพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และเหล่าเทวดาเรียงตามลำดับพระพุทธเจ้าทั้งสิบทิศ ปวงเหล่าพระธรรมทั้งสิบทิศ และปวงเหล่าพระสงฆ์ทั้งสิบทิศ 
  • เมื่อกล่าวถวายบูชาเสร็จแล้ว จะต่อด้วยการว่า “คาถาปริณามหารธารณี” (คาถาอุทิศอาหารทั้งหลายเป็นกุศล) และ “คาถาอมฤตวาธารณี” (คาถาเปลี่ยนน้ำเป็นน้ำทิพย์) 
  • สุดท้ายเมื่อว่าคาถาทั้ง 2 บทเรียบร้อยแล้ว จะจบด้วยการเอ่ยคำอธิฐานถวายบูชาและคำอุทิศทานแก่เวไนยสัตว์โดยกล่าวดังนี้… 

“อาหารนี้มีรูปกลิ่นรสอันเลิศ ในปฐมขอถวายบูชาแด่พระพุทธเจ้าในทศทิศ เหล่าพระอารยบุคคลเป็นท่ามกลาง ที่สุดเป็นทานแก่เหล่าสัตว์ในภูมิทั้งหก ทานนี้ไม่จำแนกอิ่มหนำสิ้นตามปรารถนา ทานบดีทั้งหลายย่อมได้รับบารมีเหลือประมาณ พระคุณสาม รสหกขอบูชาแด่พระพุทธแลพระสงฆ์ สรรพสัตว์ในธรรมธาตุ ถวายทั่วทั้งสากล”

เมื่อกล่าวคำอธิษฐานดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะถือว่าจบสิ้นพิธีการถวายพุทธบูชาในความเชื่อของพุทธมหายาน ทั้งนี้สามารถจัดเตรียมของไหว้และขั้นตอนพิธีต่าง ๆ เพื่อให้ถูกต้องและเป็นมงคลดังนี้…

วิธีถวายพุทธบูชาที่บ้าน อย่างถูกต้อง!

หลังจากที่เข้าใจความสำคัญของพิธีถวายพุทธบูชากันไปแล้ว ต่อไปเรามาดูขั้นตอนการถวายพุทธบูชาในแบบมหายาน ที่เป็นการถวายเครื่องบูชาแด่พระพุทธเจ้ากันเลย สามารถเตรียมของประกอบพิธีดังนี้…

พิธีถวายพุทธบูชา

ของถวายพุทธบูชา

  1. ดอกไม้สด
  2. ข้าวสวย 1 ชาม 
  3. กับข้าว 5 อย่าง (อาหารเจ 5 อย่าง หรือจะเป็นอาหารเจแห้งแช่น้ำ 5 อย่าง หรือผักต้ม 5 ชนิดก็ได้เช่นกัน)
  4. ผลไม้สด 5 อย่าง (ผลไม้มงคล)
  5. ขนมหวาน (ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์)
  6. น้ำเปล่า 3 แก้ว

วิธีถวายพุทธบูชา

  • การถวายพุทธบูชาควรประกอบพิธีในเวลา 10.00 น. สามารถจัดได้ทุกโอกาสที่เป็นงานมงคล ไม่ว่าจะเป็นวันเกิด ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ และสามารถจัดได้ทุกที่ ทั้งที่บ้านและที่วัด
  • สิ่งของที่ถวายเป็นพุทธบูชา ควรเป็นของที่บริสุทธิ์ซึ่งต้องได้มาด้วยความสุจริตและต้องจัดจานชามให้สวยงามและปราณีต
  • การถวายพุทธบูชา สามารถตั้งจิตแผ่กุศลให้ได้ทั่วทั้ง 6 ภพภูมิ ไม่ว่าจะเป็นเจ้ากรรมนายเวร ญาติผู้ล่วงลับ เพื่อให้พวกเขาพ้นทุกข์และมีความสุขมากขึ้นเรื่อย ๆ 
  • เมื่อจัดเรียงของไหว้ทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินพิธีต่าง ๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นได้เลย ซึ่งจะทำให้ผู้ถวายพุทธบูชาได้กุศลและได้รับความสมบูรณ์พูนผลในด้านปัญญาอีกด้วย

สรุปส่งท้าย

หลังจากที่ได้รู้ประวัติความเป็นมาของ กิโยติน และการถวายพุทธบูชาไปแล้ว หวังว่าจะไม่มีใครหลงผิดไปกับความเชื่อที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวนะ “การถวายชีวิต” ไม่ใช่การถวายพุทธบูชาที่ถูกต้อง แต่พระพยอมท่านกล่าวว่า การตัดกิเลศและการมุ่งปฏิบัติธรรมต่างหากคือการถวายพุทธบูชาที่ถูกต้อง ดังนั้นถ้าอยากละทิ้งทางโลกและบรรลุเป็นพระปัจเจคพุทธเจ้าในอนาคต พึงต้องถือศีลและปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดจึงจะตรัสรู้ได้

แต่อย่างไรก็ดี วิธีการถวายพุทธบูชา ในทางศาสนาพุทธของมหายานในแถบจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม ก็ยังมีการถวายเครื่องบูชาที่บ้านได้อีกด้วย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและแสดงถึงการเคารพบูชาพระพุทธเจ้า ใครที่อยากลองปฏิบัติที่บ้านเพื่อนำสิ่งดี ๆ เข้ามาให้ชีวิต และหนุนนำปัญญาก็สามารถประกอบพิธีตามขั้นตอนข้างต้นได้เลย เผื่อว่าจะมีโชคลาภ ตรวจหวย รวยทรัพย์กับเขาบ้าง สุดท้ายแล้วขึ้นอยู่ที่วิจารณญาณและความเชื่อส่วนบุคคลนะ!

ขอบคุณภาพประกอบบทความบางส่วนจาก – Matichon

บทความแนะนำที่เกี่ยวข้อง

Facebook
Twitter
Email