ด่วน! มติ ศบค.ชุดใหญ่ เคาะต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกไปจนถึง 30 ก.ย.
ฉิ่นจ๊ะ!!!!! เอาจริงเหรอคะพส นี่ต่อมารอบที่ 6 !!! เเล้วนะตั้งเเต่เดือนมีนานะ คุณพี่จะเล่นต่อไปถึงสิ้นปีเลยไม่ได้นะคะ เห็นข่าวละฉันถึงกับปาดเหงื่อ อะไรกันครับเนี่ย!! .. รอบก่อนที่ต้อง ต่อพ.ร.ก.ต่อไปอีก ก็เพราะความหละหลวมของเจ้าหน้าที่ในเรื่องมาตรการคนเข้าเมือง เลยทำให้คนติด โควิด – 19 เพิ่ม ทั้งที่ไม่มีผู้ติดเชื่อมาเดือนกว่าเเล้ว
เรียกว่ารอบนั้นทุกคนระวังกันมาก ร่วมมือร่วมใจกันอย่างดี เเต่เเล้วคนที่การ์ดตกกลับเป็นรัฐบาลเอง เฮ้อมมมมม เศรษฐกิจก็เเย่อยู่เเล้ว ก็ยังสามารถเเย่ได้มากกว่านี้อีกเหรอ ประชาชนยังต้องทำมาหากิน คงมีคนได้รับผลกระทบจากประกาศครั้งนี้ต่อไปอีกเยอะชัวร์
อ่ะ มาถึงตรงนี้ต้องมีคนเอ๊ะในใจ ต่อพ.ร.ก. เเล้วยังไง ใครจะเดือดร้อนตรงไหน ไปค่ะ ไพลินจะพาไปดู พาไปทำความเข้าใจวันนี้ล่ะค่ะ!!! เคาะมา 6 ครั้งเเล้วจะปล่อยผ่านไม่ด๊ายยยยย
สารบัญ
Toggleพ.ร.ก. ฉุกเฉิน กฎหมายที่ใช้รับมือกับโควิด-19
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหมฯ เป็นประธาน มีมติเห็นชอบให้ประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19
พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) คือ
ก่อนจะไปทำความเข้าใจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าพระราชกำหนดคืออะไร ใครสามารถออกพระราชกำหนดได้บ้าง
พระราชกำหนด หมายถึง กฎหมายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญวางไว้ว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะหรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ
หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือในกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้อง ได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน พระราชกำหนดมีผลใช้บังคับได้ดังพระราชบัญญัติ ดังนั้นพระราชกำหนดจึงแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกพระราชบัญญัติได้
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้บัญญัติคำว่า ฉุกเฉิน ไว้ว่า “ที่เป็นไปโดยปัจจุบัน ทันด่วน และต้องรีบแก้ไขโดยพลัน” และคำว่า “จำเป็น เร่งด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้” หมายถึง ต้องทำทันที ถ้าไม่ทำจะเกิดผลร้ายแรงตามมา
พ.ร.ก. ฉุกเฉิน คือ
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หมายถึง
กฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษแก่รัฐบาลในการควบคุมสถานการณ์ที่อาจกระทบต่อ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ เพื่อความปลอดภัยของประเทศ
ดังนั้น พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ กฎหมายข้อหนึ่ง ที่รัฐสามารถใช้ในการควบคุมสถานการณ์ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชนเเละความมั่งคงของประเทศ เเล้วเจ้าโควิด-19 ที่มาจากจีนเนี่ย ก็ถือเป็นภัยอย่างหนึ่งที่จะทำให้เราทุกคนป่วย ล้มตาย เเละเศรษฐกิจพังทะลายได้
ดังนั้นเขาก็เลยต้องออกกฎหมายนี้มา เพื่อมาใช้เเก้ปัญหาก่อนที่สถานการณ์จะเเย่ไปกว่านี้ โดยให้อำนาจรัฐเต็มที่ในการจัดการหลายอย่างตามที่กฎหมายกำหนด เเต่โดยปกติเเล้วเนี่ยเวลาจะออกกฎหมายมาสักข้อ จะต้องมีการลงความเห็นในรัฐสภา เเต่หากรอลงมติกันก็คงไม่ทัน ก็เลยต้องออกพระราชกำหนดนี้นั่นเอง
พ.ร.ก. ฉุกเฉิน มีข้อห้ามอะไรบ้าง?
สถานการณ์ฉุกเฉินทั่วไป ให้นายกฯ มีอำนาจออกข้อกำหนด ตามมาตรา 9 ดังนี้
- ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด
- ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน
- ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่ายหรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีตนบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร
- ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือยานพาหนะ
- ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใดๆ
- ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ ที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อความปลอดภัย
อำนาจเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ม.11 และ 12)
- มีอำนาจจับกุม ควบคุมบุคคลต้องสงสัย
- มีอำนาจออกคำสั่งให้เรียกบุคคลต้องสงสัยมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่
- มีอำนาจออกคำสั่งยึด อายัดอาวุธ
- มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ทำลาย
- มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบสิ่งพิมพ์ การสื่อสารด้วยวิธีต่างๆ
- ห้ามมิให้กระทำ หรือให้กระทำการใดๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศและประชาชน
- มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักร
- มีอำนาจสั่งการ ให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีเป็นผู้ต้องสงสัย
- การซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ใดๆ ซึ่งอาจใช้ในการก่อการร้าย ต้องได้รับอนุญาตเจ้าหน้าที่
- ออกคำสั่งให้ทหารช่วยเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครองหรือตำรวจระงับเหตุร้ายแรง
ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนด มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความเเตกต่างระหว่างพระราชกำหนดและกฎหมายทั่วไป
พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งไม่อาจให้ฝ่ายรัฐสภาออกกฎหมายตามวิธีปกติได้ ทั้ง ๆ ที่การออกกฎหมายนั้นย่อมเป็นหน้าที่ของรัฐสภา เเต่ในการบริหารราชการแผ่นดิน หากบ้านเมืองตกอยู่ในสภาวะฉุกเฮิน หรือมีความจำเป็นเร่งด่วนในอันที่จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ
ซึ่งไม่อาจเรียกประชุมรัฐสภาได้ทันท่วงที หรือเเม้ว่าจะอยู่ในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภา เเต่เมื่อมีความจำเป็นต้องออกกฎหมายอย่างรีบด่วน โดยรัฐธรรมนูญจะได้รับรองให้ฝ่ายบริหารออกพระราชกำหนดได้ ซึ่งพระราชกำหนดที่ออกนี้มีผลบังคับใช้เป็นการชั่วคราวเท่านั้น จนกว่าฝ่ายรัฐสภาจะอนุมัติให้พระราชทานกำหนดนี้มีผลบังคับใช้อย่างถาวรเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติต่อไป
รวมเลขเด็ด พ.ร.ก. ฉุกเฉิน
พอจะรู้ความหมาย และข้อห้าม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กันไปแล้ว คราวนี้มาลองดูกันว่า ในเรื่องราวของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้นมีเลขอะไรแฝงกันอยู่บ้าง เผื่อว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดนี้ จะได้หยิบจับเลขที่ซ่อนอยู่ไปลุ้นรางวัล กลายเป็นเศรษฐีกันได้
- 25 – 52 – 48 – 84 – 548 – 485 – 254 คือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
- 26 – 62 คือ วันที่ประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินครั้งเเรก
- 40 – 04 – 00 – 02 – 20 คือ ค่าปรับและโทษจำคุก
- 06 – 60 คือ จำนวนครั้งที่ต่อพ.ร.ก.
สรุป
พ.ร.ก. ฉุกเฉิน หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ได้มีการประกาศใช้มาอย่างยาวนานถึง 6 เดือน เเละไม่มีท่าทีว่าจะหยุด มาดูว่าเดือนหน้านั้นจะมีการต่ออีกหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เเม้ตอนนี้ยอดผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยจะค่อนข้างนิ่ง เเละสถานการณ์จะดีขึ้นมาก จนสามารถเปิดสถานศึกษาได้ตามปกติ
ทุกคนก็ควรรักษาสิ่งภาพตนเองอยู่เสมอ ใส่เเมส พกเจลล้างมือ ลดการสัมผัส เพื่อสุขภาพของตัวท่าน จะได้มีเเรงลุ้นหวยไปด้วยกันทุกงวดนะคะ อ้ออออ ส่วนท่านไหนอยากลองเสี่ยงโชคพ.ร.ก.ฉุกเฉินอันเเสนยาวนานนี้ดู ก็ลองนำเลขเด็ดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไปเสี่ยงดูก็ไม่เสียหาย เผลอ ๆ ถูกเลขขึ้นมาเป็นเศรษฐีใหม่ยุคโควิด-19 ใครจะไปรู้