บุญใหญ่ส่งท้ายปีวัน ตักบาตรเทโว ประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน

“แม่โลมา…พรุ่งนี้ไป ตักบาตรเทโว กับน้องหนูมั๊ยคะ??” มาแล้วคุณน้องหนูสายบุญไม่พลาดประเพณีที่ดี แม่โลมาก็เป็นปลื้มจะได้สร้างบุญกันอีกแล้ว “ไปจ๊ะ ๆ แม่ไม่พลาด แม่ชอบ” แม่โลมาได้หมดทั้งสายบุญ สายมู แล้วบุญใหญ่อย่างนี้ห้ามพลาดกันนะคะ

สายบุญทุกคน รวมถึงพุทธศาสนิกชนทุกท่านน่าจะพอทราบบ้างแล้วว่า หลังจากวันออกพรรษานั้นชาวไทยพุทธจะมีประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นบุญอย่างวันตักบาตรเทโวที่จะต้องทำกันเป็นประจำทุกปี แต่ก็ยังมีอีกหลาย ๆ ท่านอาจจะไม่ทราบว่าการตักบาตรเทโว คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร รวมถึงต้องทำอะไรบ้าง วันนี้แม่โลมาจะพาไปรู้จักค่ะว่าคืออะไร และเราชาวพุทธต้องปฏิบัติกันอย่างไรบ้างในวันสำคัญวันนี้

ความหมายของการ ตักบาตรเทโว

วันตักบาตรเทโว จะเกิดขึ้นหลังจากวันออกพรรษา 1 วัน ในปี 2563 นี้ ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคม 2563 ซึ่งคำว่า ตักบาตรเทโว มาจากคำเต็มว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ ซึ่งคำว่า เทโว ย่อมาจากคำว่า เทโวโรหณะ ซึ่งแปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก

 01

เชื่อกันว่า ในยุคของพุทธกาลที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีพระชนชีพอยู่ ในช่วงที่เข้าพรรษา พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา จนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พระองค์จะเสด็จลับลงมายังเมืองมนุษย์

ดังนั้น ทุก ๆ หลังวันออกพรรษาหนึ่งวันจึงเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกลงมาสู่เมืองมนุษย์ บรรดาพุทธศาสนิกชนจึงนิยมตักบาตรกันเป็นพิเศษเป็นแระเพณีวัฒนธรรมสำคัญที่สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

ความเป็นมาของวัน ตักบาตรเทโว

วันตักบาตรเทโวเกิดเมื่อครั้งระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนอยู่เป็นประจำ ณ นครสาวัตถี จนมีประชาชนจำนวนมากหันมาเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงเป็นเหตุทำให้เหล่าเดียรถีย์เสื่อมลง (เดียรถีย์ หมายถึง นักบวชประเภทหนึ่งมีมาก่อนพระพุทธศาสนาและเป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง มีพุทธบัญญัติว่า หากเดียรถีย์จะมาขอบวชในพระพุทธศาสนาต้องมารับการฝึก เพื่อตรวจสอบว่ามีความเลื่อมใสแน่นอนเสียก่อน เรียกว่า ติตถิยปริวาส) พวกเดียรถีย์เดือดร้อนเนื่องจาก เครื่องถวายสักการะก็ลดน้อยลงตามไปด้วย

จึงคิดหาวิธีที่จะทำลายพระพุทธศาสนาโดยการกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า สาวก แต่ประชาชนก็ยังเลื่อมใสศรัทธาเหมือนเคยในที่สุดเดียรถีย์จึงใช้อุบายทำลายพระพุทธศาสนาโดยการใช้พุทธบัญญัติที่ว่ามั่นใจว่าพระพุทธเจ้าไม่กล้า ฝ่าฝืนข้อห้ามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้เอง จึงช่วยกันกระจายข่าวให้ประชาชน ได้ทราบว่า

“พระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกสิ้นท่าหมดอิทธิฤทธิ์ แล้วงดการแสดง ตรงข้ามกับเหล่าคณาจารย์เดียรถีย์ ซึ่งมีปาฏิหาริย์อบรมมั่นคงเต็มที่และมีความพร้อมที่จะแสดงให้เห็นได้ทุกเมื่อถ้าไม่เชื่อก็เชิญพระพุทธเจ้ามาแสดงปาฏิหาริย์แข่งกันก็ย่อมได้เพื่อพิสูจน์ว่าใครจะเก่งกว่าใคร “ ฝ่ายพระพุทธเจ้าและสาวกก็เงียบเฉย เดียรถีย์จึงกล่าวร้ายหนักอีกว่า “พระพุทธเจ้าไม่มีความสามารถในการแสดงอิทธิฤทธิ์”

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงคิดใคร่ครวญและตัดสินใจที่จะแสดงปาฏิหาริย์ให้พวกเดียรถีย์ได้ประจักษ์เพื่อไม่ให้พระพุทธศาสนาโดนย่ำยี โดยพระองค์ได้ประกาศว่าจะแสดงยมกปาฏิหาริย์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ณ ใต้ต้นมะม่วง เมื่อฝ่ายเดียรถีย์รู้ ความดังนั้นจึงแบ่งพวกให้ไปทำลายต้นมะม่วงทุกต้นในเมืองสาวัตถี อีกพวกก็ช่วยกันสร้างมณฑปเพื่อแสดงปาฏิหาริย์ของตน และประกาศให้ประชาชนมาชมความล้มเหลวของพระพุทธองค์

เมื่อถึงกำหนดก็เกิดพายุใหญ่ทำให้มณฑปของเดียรถีย์พังหมดสิ้นส่วนพระพุทธเจ้ายังมิได้แสดงปาฏิหาริย์แต่อย่างใด ในวันนั้นเอง คนเฝ้าพระราชอุทยานของพระเจ้าปเสนทิโกศล ชื่อว่า นายคัณฑะ ได้ถวายมะม่วงผลหนึ่งแก่พระพุทธเจ้าเนื่องจากมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธองค์ พระพุทธองค์จึงสั่งให้พระอานนท์นำมะม่วงไปทำน้ำปานะ (ปานะ หมายถึง น้ำ ของสำหรับดื่ม) มาถวายและเอาเมล็ดมะม่วงวางบนดิน

เมื่อทรงฉันน้ำปานะเสร็จ ก็ทรงล้างพระหัตถ์โดยให้น้ำรดลงบนเมล็ดมะม่วง ทันใดนั้นเอง ก็กลายเป็นต้นมะม่วงที่งอกเงยขึ้นมาและต้นใหญ่ หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็แสดงปาฏิหาริย์เนรมิตช่อไฟ ช่อน้ำเนรมิต บุคคลที่เหมือนพระองค์ทุกประการ ทรงแสดงธรรม จงกรม พระพุทธนิมิตให้ประชาชนได้ประจักษ์แก่สายตาจึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาโดยทั่วกัน

ส่วนเดียรถีย์จึงโดนประชาชนสาปแช่งจนย่อยยับกลับไป วันนรุ่งขึ้นเป็นวันเข้าพรรษา พระองค์ประกาศว่าจะไปจะพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงต้องการเทศนาโปรดพระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา เพื่อเป็นการสนองพระคุณ

ดังนั้นพระองค์จึงได้เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาในช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน เมื่อถึงวันออกพรรษาพระพุทธองค์จึงเสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ทางประตูเมืองสังกัสสนคร เป็นการหยั่งจากเทวโลก (เทโวโรหณะ) เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ประชาชนต่างพร้อมใจกันมารับเสด็จและนำอาหารมาเพื่อทำบุญตักบาตรเป็นจำนวนมาก

ประชาชนบางพวกอยู่ห่างไม่สามารถที่จะถวายอาหารใส่ลงบาตรได้ จึงนำข้าวสาลีมาปั้นเป็นก้อนแล้วโยนใส่ลงในบาตร จนกลายมาเป็นประเพณีนิยมที่ว่าจะต้องทำข้าวต้มลูกโยนเพื่อไว้ใส่บาตรในวันเทโวโรหณะ ข้าวต้มลูกโยนทำมาจากข้าวเหนียวห่อด้วยใบมะพร้าวไว้หางยาวๆ

ตักบาตรเทโวสามารถใส่อะไรได้บ้าง

สิ่งของที่สามารถใส่บาตรได้มีดังนี้

  • อาหารปรุงสุก ทั้งอาหารคาว และอาหารหวาน น้ำดื่ม
  • ข้าวสารอาหารแห้ง
  • ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัด

(ข้าวต้มลูกโยน หรือข้าวต้มมัด ถือว่าเป็นสัญลักษญ์ของการตักบาตรเทโว เชื่อกันว่ามีที่มาดังนี้ ในสมัยก่อนนั้นมีคนมาตักบาตรกันเยอะมาก ทำให้อาจจะเข้าไม่ถึงพระ จึงต้องปั้นข้าวโยนลงบาตร และต่อมาได้มีการปรับเป็นข้าวต้มลูกโยน และข้าวต้มมัด )

การตักบาตรเทโวต้องทำอย่างไร

วิธีการตักบาตนั้น ในแต่ละภาคแต่ละจังหวัดอาจจะมีความแตกต่างกันบ้างตามท้องถิ่น แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีวิธีการดังนี้

  • จัดเตรียมขบวนรถทรงหรือหาม นำโดยพระพุทธรูป(ส่วนใหญ่จะเป็นปางอุ้มบาตร)เดินนำหน้าพระสงฆ์ลงบันไดจากมณฑปพระพุทธบาทมารับบิณฑบาตหรืออาจจะให้อุบาสกอุบาสิกาเป็นผู้เชิญพระพุทธรูปก็ได้
  • เหล่าพุทธศาสนิกชนเตรียมใส่บาตรข้าวสารอาหารแห้งจากพุทธศาสนิกชน โดยอาหารที่นำมาใส่บาตรนั้นจะมีทั้งอาหารปรุงสุก คาวหวาน รวมถึงสามรถนำข้าวสารอาหารแห้งมาใส่บาตรด้วยก็ได้ โดยเฉพาะข้ามต้มลูกโยน และข้าวต้มมัด ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของประเพณีการตักบาตรเทโวเลยทีเดียว
  • เมื่อตักบาตรเสร็จจะมีการแสดงพระธรรมเทศนา
 1

พิกัดวัดที่มีการจัดงานตักบาตรเทโว

สำหรับสายบุญที่ต้องการได้เข้าร่วมพิธีการตักบาตรเทโวสักครั้งหนึ่ง แม่โลมามีวัดที่น่าสนใจที่ได้จัดงานพิธีนี้ ท่านใดอยู่ใกล้ที่ไหนเดินทางไปกันได้เลย ครั้งหนึ่งในชีวิตห้ามพลาด แม่โลมาขอบอกเลย

  • วัดสังกัสรัตนคีรี จังหวัดอุทัยธานี
  • วัดเขาดีสลัก สุพรรณบุรี
  • วัดธรรมามูลวรวิหาร จังหวัดชัยนาท
  • วัดสุทธาโภชน์ ลาดกระบัง
  • วัดพระบาทภูพานคำ จังหวัดขอนแก่น
  • วัดมงคลรัตนคีรี จังหวัดอุทัยธานี
  • วัดพระธาตุดอยน้อย เชียงใหม่

สรุป

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ รู้ที่มาที่ไปของวันตักบาตรเทโวกันแล้ว แม่โลมาว่านับเป็นประเพณีทางพุทธศานาที่ควรอนุรักษ์ให้อยู่กับเราชาวพุทธศาสนิกชนไปนาน ๆ เพราะนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความเลื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังทรงคุณค่าในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ได้ทำนุบำรุงพุทธศาสนา ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างพุทธศาสนิกชนกับวัด และยังช่วยสร้างความสามัคคีระหว่างชาวบ้านด้วยกันอีกด้วย

เห็นมั๊ยคะ…ผลที่มันน่าชื่นใจขนาดไหนนอกจากบุญแล้วยังมีคุณค่าด้านอื่น ๆ อีกมากด้วย พรุ่งนี้อย่าลืมไปตักบาตรเทโวกันนะคะตามพิกัดที่แม่ให้เลย ใกล้ที่ไหนไปที่นั่นได้เลยค่ะ แม่ชอบ แม่สะดวกแบบนี้… ทั้งนี้สามารถติดตามบทความดี ๆ ที่ Ruay365 ได้ทุกวันนะคะ . .

Facebook
Twitter
Email