ตำแหน่ง ปิดทองพระ พาชีวิตดี มีแต่เงินไหลมาเทมา

หลายคนน่าจะคุ้นกับสำนวนไทยที่ว่า.. ปิดทองหลังพระ ซึ่งหมายถึง การทำความดีอย่างเต็มใจโดยไม่มีการป่าวประกาศ แต่แท้จริงแล้วการปิดทองหลังพระนั้นไม่ใช่แค่สำนวนที่ใช้ในการเปรียบเปรยการทำความดีของบุคคลเท่านั้น เพราะการปิดทองลงบนส่วนต่างๆ ของพระพุทธรูป ก็มีคติความเชื่อมาตั้งแต่โบราณ อยากรู้ไหม ?? ปิดทองพระ ตำแหน่งใดจะพาโชคดีมีแต่เงินมีแต่ทอง ถ้าพร้อมแล้วตาม Ruay ไปทำความเข้าใจกัน

Epr0MUR9gUP193WFidolUWuXvyDkfjLryWpKWdFEF2

จุดเริ่มต้นของการ ปิดทองพระ

ในพระไตรปิฎกไม่ปรากฎหลักฐานหรือข้อความที่กล่าวถึงการใช้ทองคำเปลวปิดลูกนิมิต หรือ ปูชนียวัตถุอื่น ๆ ในสมัยพุทธกาล มีแต่หลักฐานแสดงว่าใช้ทองฉาบทาพระสถูปเจดีย์ของพระพุทธเจ้าถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งอานิสงส์ของการฉาบทำบุญลักษณะนี้มหาศาลและยิ่งใหญ่นัก เชื่อว่าหากทำบุญด้วยการปิดทองพระหรือเอาทองฉาบปูชนียวัตถุ คนคนนั้นจะมีผิวพรรณผุดผ่อง งดงามดังทองคำเปลว

ดังเรื่องของพระมหากัจจายนเถระ พระอรหันตสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีร่างกายงดงาม ผิวพรรณผ่องผุดประดุจทอง ยากที่จะหาใครเสมอเหมือนท่านได้ ใครได้เจอท่านย่อมตะลึงไปตาม ๆ กัน ซึ่งในมหากัจจายนเถราปาทาน ท่านพระมหากัจจายนเถระ ได้แสดงอดีตชาติของท่านให้ทราบว่า ท่านได้ทำบุญด้วยการใช้ทองฉาบทาพระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตระ นั่นเอง

ตำแหน่ง ปิดทองพระ กับความเชื่อ

คนโบราณเชื่อว่า การปิดทองพระแต่ละจุด ช่วยส่งเสริมในด้านที่แตกต้่งกันไป ดังนี้

  • ปิดทองที่พระพักตร์ (ใบหน้า) เชื่อว่าทำให้หน้าที่การงานและชีวิตรุ่งเรือง
  • ปิดทองที่พระอุทร (ท้อง) เชื่อว่าจะอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง
  • ปิดทองที่พระนาที (สะดือ) เชื่อว่าตลอดทั้งชีวิตจะไม่รู้จักคำว่าอดและสมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สิน
  • ปิดทองที่พระเศียร (หัว) เชื่อว่าจะทำให้สติปัญญาความจำเป็นเลิศ สามารถแก้ไขปัญหาชีวิตได้ตลอด
  • ปิดทองที่พระอุระ (หน้าอก) เชื่อว่าทำให้มีสง่าราศีเป็นที่ถูกใจของผู้คน
  • ปิดทองที่พรหัตถ์ (มือ) เชื่อว่าทำให้เป็นคนมีอำนาจ มีบารมีสูงส่ง
  • ปิดทองที่พระบาท (เท้า)  เชื่อว่าจะสมบูรณ์ไปด้วยที่พักอาศัยและพาหนะ
  • ปิดทองที่บริเวณหลังองค์พระพุทธรูป (ด้านหลัง) เชื่อว่าถ้าจะให้การปิดทององค์พระทั้งหมดสมบูรณ์จะต้องปิดที่ด้านหลังด้วย และเชื่ออีกว่าหากปิดทององค์พระได้ทั่วทั้งองค์ในชาตินี้จะทำให้ไม่ว่าภพ ชาติต่อไปชาติไหนก็จะมีผิวพรรณผ่องใส งดงามมีสง่าราศี

ทว่าสุดท้ายแล้วคติการปิดทององค์พระก็ยังต้องปิดทองให้ทั่วทั้งองค์ จึงจะเป็นองค์พระที่สมบูรณ์ แม้ด้านหลังขององค์พระจะไม่มีใครมองเห็นก็ตาม

ปิดทองพระตามวันเกิด

อย่างไรก็ดี แม้จะมีคติความเชื่อที่แตกต่างในเรื่องของตำแหน่งปิดทองพระ แต่หากเราได้ประยุกต์หรือปรับให้เข้ากับหลักของดวงชะตา ราศี หรือวันเกิดของเรา ก็จะยิ่งช่วยหนุ่นนำและสนับสนุนชีวิตเราให้ดีมากยิ่งขึ้น ดังที่จะกล่าวต่อจากนี้

คนเกิดวันอาทิตย์

  • จุดเด่น : วันแห่งปัญญา ความก้าวหน้า ความเป็นผู้นำ และพลังแห่งความสำเร็จ
  • ตำแหน่ง : เศียรพระ (ศีรษะ) จะส่งเสริมชีวิตให้มีความเจริญรุ่งเรือง มีพลังทางความคิด สติความจำเป็นเลิศ พร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างทรงพลัง
  • บทสวด : นะ โม พุท ธา ยะ ขณะปิดทองหลังอธิษฐานเสร็จ
12102020 09 03

คนเกิดวันจันทร์

  • จุดเด่น : วันแห่งความเมตตา ความมีเสน่ห์
  • ตำแหน่ง: พระพักตร์ (ใบหน้า) ช่วยในเรื่องของความมีเสน่ห์เป็นที่รักต่อผู้พบเห็น ส่งเสริมภาพลักษณ์ให้สวยงาม
  • บทสวด : พุทโธ ธัมโม สังโฆ ขณะปิดทองหลังอธิษฐานเสร็จ
12102020 09 01

คนเกิดวันอังคาร

  • จุดเด่น : วันแห่งความเป็นผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์ ปกครองเด็ดขาด ฉับไว ไหวพริบดี
  • ตำแหน่ง : พระอุระ (หน้าอก) ช่วยให้มีสง่าราศี เป็นที่รักใคร่เมตตา มีสุขภาพแข็งแรง ทำการใดก็ประสบความสำเร็จ
  • บทสวด : พุทธังอาราธนานัง ธัมมังอาราธนานัง สังฆังอาราธนานัง ขณะปิดทองหลังอธิษฐานเสร็จ
12102020 09 05 1

คนเกิดวันพุธ (กลางวัน)

  • จุดเด่น : วันแห่งการเจราจา มีความคิดสร้างสรรค์ มองการณ์ไกล แก้ไขสถานการณ์ฉับไว
  • ตำแหน่ง : พระอุทร (ท้อง) ช่วยเรื่องค้าขาย  ดึงดูดโชคลาภ
  • บทสวด : นะมะพะธะ พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ขณะปิดทองหลังอธิษฐานเสร็จ

คนเกิดวันพุธ (กลางคืน)

  • จุดเด่น : วันแห่งสติปัญญา สมองปราดเปรื่อง กล้าหาญเฉลียวฉลาด มีเสน่ห์
  • ตำแหน่ง : พระบาท (เท้า) ช่วยให้ชีวิตมีความมั่นคงก้าวหน้า อุดมด้วยทรัพย์สมบัติ
  • บทสวด : พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ ขณะปิดทองหลังอธิษฐานเสร็จ
Epr0MUR9gUP193WFidolUWuXvyDkfeReSU5k2lfJzp

คนเกิดวันพฤหัสบดี

  • จุดเด่น : วันแห่งความเพียบพร้อม ฐานะมั่นคง
  • ตำแหน่ง : พระนาภี (สะดือ) : เชื่อว่าจะมีความมั่งคั่ง สุขสบาย เป็นที่ดึงดูดบริวาร โชคลาภ ความสำเร็จ
  • บทสวด : วิริยบารมี เมตตาบารมี ปัญญาบารมี วาสนาบารมี ขณะปิดทองหลังอธิษฐานเสร็จ

คนเกิดวันศุกร์

  • จุดเด่น : วันแห่งภาพลักษณ์ที่สวยงาม
  • ตำแหน่ง : พระหัตถ์ (มือ) : ส่งเสริมชีวิตให้มั่งมี ศรีสุข หยิบจับเป็นเงินเป็นทอง มีอำนาจ บารมี ผู้คนเคารพยำเกรง
  • บทสวด : พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ขณะปิดทองหลังอธิษฐานเสร็จ

คนเกิดวันเสาร์

  • จุดเด่น : วันแห่งความศรัทธา ความหวัง มีเป้าหมายชัดเจนน่าเชื่อถือ
  • ตำแหน่ง : หลังองค์พระพุทธรูป ช่วยให้แคล้วคลาดจากภัยอันตราย ได้รับการปกป้องคุ้มกันภัย
  • บทสวด : วันทามิพุทธัง วันทามิธัมมัง วันทามิสังฆัง ขณะปิดทองหลังอธิษฐานเสร็จ
12102020 09 02

คนเกิดตรงกับวันพระ (กรณีผู้เกิดตรงกับวันพระ) ดาวพระเกตุ

  • จุดเด่น : วันแห่งผู้รู้ มีปัญญา สามารถสร้างความศรัทธา ความเชื่อถือ และเป็นศูนย์รวมจิตใจให้ผู้คน
  • ตำแหน่ง : ฐานรององค์พระพุทธรูป ส่งเสริมหน้าที่การงานให้มั่นคง มีคนเกื้อหนุนค้ำจุน
  • บทสวด :  ธะนังโภคัง นะนังโภคัง ขณะปิดทองหลังอธิษฐานเสร็จ
Epr0MUR9gUP193WFidolUWuXvyDkfmogOXBEZq5PD9

ขั้นตอนการปิดทองคำเปลว

  • อันดับแรกให้นำองค์พระที่จะปิดทองคำเปลวมาทำความสะอาดก่อน โดยล้างน้ำแล้วใช้แปรงสีหันถูให้ฝุ่นออกให้หมด แล้วล้างอีกครั้งด้วยน้ำสะอาดเช็ดให้แห้งตากแดด หรือตากแดดให้แห้งสนิท
  • ใช้สเปรย์สีเทาพ่นทั่วทั้งองค์พระ พอสีแห้งก็ใช้กระดาษทรายเบอร์ละเอียดขัดให้ทั่ว จากนั้นให้ใช้สีโป๊วอุดที่เกิดร่องรอยแล้วรอให้แห้งแล้วขัดให้เรียบอีกที ล้างทำความสะอาดอีกครั้ง รอจนแห้ง (ขั้นตอนนี้อาจละเว้นไปได้)
6c
  • เสร็จแล้วรองพื้นชิ้นงานด้วยสีแดง รอจนแห้ง
  • ใช้สีเฟลกซ์สีเหลืองทาให้ทั่วองค์พระ ระวังอย่าทาสีให้หนาเกินไปเพราะจะทำให้สีส่วนนั้นแห้งไม่เท่ากัน และสีส่วนนั้นจะหนาเป็นก้อน จากนั้นปล่อยสีที่ทาให้แห้งแต่อย่าแห้งจนเกินไป ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง สังเกตได้ด้วยการใช้หลังฝ่ามือแตะดูว่าสีแห้งหรือยัง ถ้าสีไม่ติดแสดงว่าแห้งพอที่จะปิดทองคำเปลวได้ ถ้ายังติดมือแบบหนืดๆอยู่ ให้ปล่อยไว้ก่อน เพราะการปิดตอนสีหนืดจะทำให้ทองจม
  • พอสีแห้งได้ที่แล้วนำแผ่นทองคำเปลวมาปิดทับได้ ให้ปิดส่วนที่มีเนื้อกว้างก่อน แล้วไล่ปิดขึ้นไปจนเต็มชิ้นงาน และเวลาปิดให้ทับซ้อนกันประมาณ 2 มิลลิเมตรเพื่อไม่ให้เห็นรอยต่อของเนื้อทอง หลังจากปิดแผ่นทองคำเปลวเสร็จแล้วให้ใช้พู่กันกวาดแผ่นทองให้เรียบ
  • เก็บเศษทองคำเปลว โดยใช้พู่กันขนนุ่มปัดเศษทองคำเปลวบนเนื้อองค์พระให้ทั่วจนฝุ่นทองออกหมดเป็นการเก็บงานอีกครั้ง
  • ใช้สำลีเช็ดเพื่อเกลี่ยเนื้อทองให้เท่ากัน และ ลบรอยนิ้วมือ

สรุป

การปิดทองตำแหน่งต่าง ๆ บนองค์พระพุทธรูป เป็นภูมิปัญญาที่เกิดจากความศรัทธาและความเชื่อมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งจุดประสงค์ของของพุทธศาสนิกชนในการ ปิดทอง ก็เพื่อรักษาผิวขององค์พระพุทธรูปไว้ไม่ให้ผุกร่อนตามกาลเวลา

และด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา ผลบุญอานิสงส์จากการปิดทองพระทั่วทั้งองค์ ร่วมด้วยความมานะ อุตสาหะ ก็จะส่งเหตุให้สมควรแก่ผลให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในชีวิตในทุกๆ ด้าน ทั้งการงาน การเงิน การเรียน โชคลาภ

Facebook
Twitter
Email