ความหมายของสีจีวรพระ

ความหมายของ “สีจีวรพระ” แต่ละสี ต่างกันอย่างไร

หลวงปู่พุทธเทพสุริยะจักรวาล ที่แอบอ้างว่าตนเองเป็นญาณของหลวงปู่เทพพอุดร เกจิชื่อดังทางภาคอีสาน ผู้สวมใส่จีวรสีดำ แปลกตาไม่เหมือนพระทั่วไปที่กำลังตกเป็นข่าวดังตอนนี้ จากประเด็นดังกล่าวข้างต้น Ruay จะพาทุกคนไปดู ว่าตามพระไตรปิฏกแล้ว มีการบัญญัติ สีจีวรพระ ว่าอย่างไรบ้าง และจีวีพระแต่ละสีมีความหมายหรือแตกต่างกันอย่าไร

ผ้าไตรจีวร คืออะไร

ผ้าไตรจีวร หรือที่เราเรียกสั้น ๆ ว่า “ผ้าไตร” คือผ้าที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งหุ่ม ประกอบด้วย ผ้า 3 ผืน ได้แก่

  • สังฆาฏิ  หรือ ผ้าสังฆาฏิ คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้สำหรับทาบหรือนุ่งซ้อนหรือพาดบ่า
  • อุตราสงค์ หรือ ผ้าจีวร คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้สำหรับห่ม หรือผ้าผืนนอกที่เรามักจะเห็นพระสงฆ์นุ่งครอง โดยมีสีแตกต่างกันไป
  • อันตรวาสก หรือ สบง คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งช่วงล่าง ลักษณะเป็นผ้าผืนสี่เหลี่ยม เนื้อผ้าหนา ขาดยาก

ดังนั้นผ้าไตรจีวร จึงมีความหมายรวมถึง ผ้า 3 ผืนข้างต้นนี้ อันได้แก่ ผ้าพาดบ่า ผ้าจีวร และผ้าสบงนั่นเอง ส่วนคำเรียกผ้าไตรจีวรของพระสงฆ์ประเทศอื่น ๆ ก็จะมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปเช่น กาสาวะ กาสายะ หรือ กาษายะ เป็นต้น

ผ้าไตรจีวร

จีวร ทำจากอะไร

ในสมัยพุทธกาลมีการทำจีวรจากวัสดุที่หลากหลายมาก พระสงฆ์ในสมัยนั้นก็ไม่รู้ว่าควรใช้จีวรแบบไหนดี และจีวรแบบไหนที่สามารถใช้ได้บ้าง เลยถามเรื่องนี้กับพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงกล่าวว่า.. จีวรที่ทรงอนุญาตนั้นมีด้วยกัน 6 ชนิด ได้แก่ จีวรที่ทำจาก เปลือกไม้ ฝ้าย ไหม ขนสัตว์ ป่าน และของเจือกัน

สีจีวรพระ มีสีอะไรบ้าง

มีการพูดถึงสีจีวรพระขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 2 บันทึกว่า…

“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำย้อม 6 อย่าง คือ น้ำย้อมเกิดแต่รากหรือเหง้า 1 น้ำย้อมเกิดแต่ต้นไม้ 1 น้ำย้อมเกิดแต่เปลือกไม้ 1 น้ำย้อมเกิดแต่ใบไม้ 1 น้ำย้อมเกิดแต่ดอกไม้ 1 น้ำย้อมเกิดแต่ผลไม้ 1”

และได้กล่าวถึงสีจีวรทรงห้ามมี 7 สี ได้แก่ สีเขียวครามเหมือนดอกผักตบชวา, สีเหลืองเหมือนดอกกรรณิการ์, สีแดงเหมือนชบา, สีหงสบาท (สีแดงกับเหลืองปนกัน), สีดำเหมือนลูกประคำดีควาย, สีแดงเข้มเหมือนหลังตะขาบ และสีแดงกลายแดงผสมคล้ายใบไม้แก่ใกล้ร่วงเหมือนสีดอกบัว

จีวรพระสีต่าง ๆ

ทว่าปัจจุบันจีวรที่พระสงฆ์ใช้หลัก ๆ ก็คือ สีหลืองอมส้ม แต่ก็ยังคงมีความแตกต่างด้านเฉดสี และด้วยความที่มีหลากหลายเฉดสีนี่เอง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริให้พระสงฆ์ครองจีวรสีเหมือนกัน

เรียกว่า “จีวรสีพระราชนิยม” และใช้เมื่อเข้าพระราชพิธีในพระบรมมหาราชวังนั่นเอง ส่วนสีจีวรที่พระสงฆ์ในประเทศไทยใช้นุ่งครอง มีด้วยกัน 5 สี และแต่ละสีก็จะสื่อถึงความแตกต่างทางด้านนิกายและความเคร่งครัดในพระวินัย ดังนี้

จีวรสีส้มเหลือง – พระสงฆ์มหานิกาย

จีวรสีส้มเหลือง เป็นสีจีวรของพระสงฆ์มหานิกาย เรียกง่าย ๆ ว่าคือสีจีวรของพระที่อยู่ในวัด ฉันท์ข้าว 2 มื้อ เช้า-เพล และไม่ค่อยเคร่งในการปฏิบัติมากเท่าไหร่

จีวรสีส้มเหลือง

จีวรสีสีแก่นขนุน – พระสายวัดป่า

จีวรสีแก่นขนุนเป็นสีจีวรของพระสายวัดป่า คือสายกรรมฐานของพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสีที่สืบทอดมาจากพระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) และพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต สายนี้จะเน้นฝึกกรรมฐานควบคู่กับการรักษาพระวินัยอย่างเคร่งครัด

จีวรสีสีแก่นขนุน

จีวรสีพระราชทาน – ใช้เพื่อเข้าพระราชพิธีในวัง

จีวรสีพระราชทาน คือ สีจีวรที่พระบาทสมเด็ดพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 บัญญัติขึ้น เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกัน ในการทำพระราชพิธีต่าง ๆ

จีวรสีพระราชทาน

จีวรสีแก่นขุนุนเข้ม – พระสายกรรมฐานภาคอีสาน

จีวรสีแก่นขุนุนเข้ม

จีวรสีรักดำ – พระธุดงค์

จีวรสีรักดำ

สรุปส่งท้าย

เราจึงสามารถสรุปได้ว่า… ความแตกต่างในการนุ่งครองจีวรแต่ละสีของพระภิกษุสงฆ์นั้น สามารถบอกญาติโยมหรือผู้พบเห็นได้ว่าภิกษุรูปนี้สังกัดนิกายไหนและมีความเคร่งในพระวินัยมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าให้เราตัดสินพระสงฆ์จากสีจีวรที่ท่านนุ่งครองหรือเหมารวมว่าพระรูปนี้ สวมจีวรสีนี้ หย่อนพระวินัยแน่ ๆ

เพราะสุดท้ายแล้วคนเราต่อให้สวมผ้าเหลือง ชุดขาว หรือใส่ชุดธรรมดาก็สามารถเป็นคนดีและไม่ดีได้เช่นเดียวกัน การยึดติดในรูปกายหรือตัวบุคคลจึงไม่สมเหตุสมผลเท่ากับการศรัทธาในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนานั่นเอง

ขอขอบคุณเนื้อหาบางส่วนและภาพประกอบจาก Auto-sewing

บทความที่เกี่ยวข้อง

Facebook
Twitter
Email