การจัด เตรียมงานบวช มีขั้นตอนและพิธีการมากมาย ตั้งแต่การเตรียมตัวของผู้ที่จะบวช ไปจนถึงการทำทุกอย่างให้ถูกต้องตามขั้นตอนต่างๆ สำหรับใครที่คนในครอบครัวยังไม่เคยบวช หรือ ยังไม่มีประสบการณ์ เกี่ยวกับการเตรียมงานบวช วันนี้แอดมินจะมาช่วยทุกคนแจกแจงให้เข้าใจกันอย่างง่ายๆ ว่าจะต้องทำอะไรกันบ้างในงานนี้
สารบัญ
Toggleการเตรียมตัวก่อนออกบวช
1. ก่อนจะออกลาบวช ให้ทำการขออนุญาตบิดา-มารดา หรือผู้ปกครองของเสียก่อน ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถเข้าพิธีบวชได้ ซึ่งสาเหตุของการขออนุญาตบรรพชาอุปสมบทนั้น สืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาล พระราหุลออกบวชโดยมิได้ทูลขอ ทำให้พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ทรงประสบความทุกข์อย่างหนัก เมื่อเป็นดังนั้นจึงมีบทบัญยัติให้มีการอนุญาตก่อนบวชทุกครั้ง
2. เมื่อผู้ปกครองอนุญาต ให้เดินทางไปติดต่อวัดที่ต้องการจะบรรพชาอุปสมบท โดยติดต่อที่เจ้าอาวาสของวัดนั้นๆ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าต้องการจะบรรพชาอุปสมบท พร้อมแจ้งวัน เวลา ที่จะขอบรรพชาอุปสมบท และติดต่อพระอุปัชฌาย์ เพื่อขอฉายา (ชื่อทางพระ)
3. หลังจากติดต่อวัดเสร็จเรียบร้อย ก็ต้องไปกรอกใบสมัครบวช พร้อมทั้งคำขานนาค (คำขานนาค หรือ คำกล่าวขอบรรพชาอุปสมบท) ซึ่งต้องท่องจนกว่าจะจำได้ และพูดจาเสียงดังฟังชัด ออกเสียงถูกต้องทุกคำตามภาษาบาลี ซึ่งในการกล่าวคำขานนาคจะมี 2 ลักษณะ คือ แบบเดี่ยว (นาคเดี่ยว) กับ แบบหมู่ (บวชพร้อมกันหลายนาค)
4. การท่องบทขานนาค โดยปกติก่อนบวช ผู้ที่ตั้งใจจะบวช จำเป็นต้องท่องบทขานนาคให้ได้ เพื่อที่ว่า ในวันบวชจริง จะต้องท่องบทสวดบทนี้ได้อย่างคล่องแคล่ว (ในสมัยก่อน ผู้ที่จะบวชถึงขั้นลงทุนไปนอนที่วัด เพื่อศึกษาบทขานนาคนี้นานนับสัปดาห์ก่อนการบวชจริง หรือมาบวชเป็นผ้าขาวก่อน) ซึ่งงานบวชถือเป็นอีกงานใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต เพราะทุกคนจะจับจ้องมาที่คนบวช จนทำให้รู้สึกกดดันเป็นพิเศษ
5. ตรวจสุขภาพร่างกาย ก่อนเข้าบวช เพื่อดูว่ามีอุปสรรคทางด้านร่างกาย ที่ส่งผลต่อการบวช เช่น ป่วยไข้อะไรหรือไม่ มีโรคประจำตัวหรือเปล่า เป็นต้น รวมถึงใบสมัครที่มีลายเซ็นยินยอมจากผู้ปกครองด้วย
6. จัดเตรียมของใช้ส่วนตัว เพื่อใช้ในระหว่างที่บวช เช่น สบู่ ยาสระผม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ฯลฯ นอกจากนี้ ยังต้องจัดเตรียมเครื่องอัฐบริขาร 8 ซึ่งประกอบไปด้วย ไตรครอง (ผ้าสบง จีวร ผ้าสังฆาฏิ) ไตรอาศัย บาตร ธมฺกรก (เครื่องกรองน้ำ) ย่าม รองเท้า เป็นต้น ซึ่งการเลือกไตรจีวร ต้องดูวัดที่จะเข้าไปขอบรรพชาอุปสมทบ ว่า เป็นวัดในสังกัดใด เช่น
– วัดธรรมยุต หรือ มหานิกาย ถ้าเป็นวัดธรรมยุต ให้ใช้ชุดไตรจีวรสีแก่นขนุน หรือสีกรัก
– วัดธรรมยุตที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล จะใช้ผ้าสีพระราชนิยม
– วัดมหานิกาย จะใช้ผ้าสีส้ม หรือสีออกเหลืองสด
7. ก่อนจะเข้าพิธีบวช ต้องไปทำการขอขมาลาโทษกับผู้ที่เราได้เคยทำผิดไว้ก่อน การบวชนั้น เป็นเหมือนการชำระล้างจิตใจ ดังนั้น ผู้ที่บวชจึงต้องไปขออโหสิกรรม หรือขอขมาลาโทษจากทั้งพ่อแม่ หรือญาติพี่น้อง รวมไปถึงคนที่ผู้บวชเคยได้ล่วงเกินหรือสร้างความขุ่นข้องหมองใจให้ เพื่อที่ว่าการบวชของเรานั้นจะได้รับการอนุโมทนาและบริสุทธิ์ผุดผ่อง
8. หลังจากจัดการทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย ก็ให้เก็บเนื้อเก็บตัว ไม่ออกไปเที่ยวเล่นกับผู้ใด พยายามละจากทางโลก มีความเชื่อมาตั้งแต่โบราณว่า ก่อนการบวชมักจะมีมารมาผจญ ดังนั้น ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องจริงหรือแค่ความเชื่อ ผู้บวชควรเก็บเนื้อเก็บตัวศึกษาข้อวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ดี และไม่ควรไปไหนหากไม่จำเป็น ถือเป็นการฝึกสมาธิของตนเองด้วยนั่นเอง
พิธีการ และค่าใช้จ่ายในงานบวช
หลังจากที่เราหาสถานที่ หาฤกษ์งามยามดี ทำการเตรียมตัวก่อนบวชเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็มาถึงพิธีการ โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
• พิธีปลงผม
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ได้แก่
- กรรไกร ราคา 30 บาท
- มีดโกน ราคา 20 บาท
- พาน ราคา 50 บาท
- ใส่ซองปลงผม 500 บาท แล้วแต่สะดวก
รวมทั้งหมด 600 บาท
• พิธีขอขมาล้างเท้าผู้มีพระคุณ
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ได้แก่
- พานเทียนแพ ราคา 500 บาท
- น้ำอบ ราคา 30 บาท
- ดอกมะลิ ราคา 100 บาท
- ดอกดาวเรือง ราคา 50 บาท
ราคาทั้งหมด 680 บาท
• พิธีอาบน้ำนาค
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ได้แก่
- ขันน้ำ ราคา 20 บาท
- ขมิ้น ราคา 30 บาท
- น้ำอบไทย ราคา 30 บาท
- ดินสอพอง ราคา 30 บาท
- สบู่ยาสระผม ราคา 80 บาท
- ชุดนาค ราคา 300 บาท
ราคาทั้งหมด 490 บาท
• พิธีทำขวัญนาคและฉลองไตร
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ได้แก่
- ดอกไม้ธูปเทียน ราคา 30 บาท
- ซองพระ ราคา 500 บาท แล้วแต่ศรัทธา
- นิมนต์พระสงฆ์ ราคา 1,500 บาท แล้วแต่ศรัทธา
- อาหารว่าง น้ำเปล่า สำหรับเลี้ยงแขก ราคา 3,000 บาท
- โต๊ะจีน ราคา 10,000 บาท
ราคาทั้งหมด 15,030 บาท
• พิธีแห่รอบอุโบสถและวันทาเสมา
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ได้แก่
- เครื่องบวช และ เครื่องอัฐบริขาร ราคา 3,000 บาท
- แตรวง ราคา 10,000 บาท
- ค่าเหรียญโปรยทาน ราคา 500 บาท
ราคาทั้งหมด 13,500 บาท
• พิธีบรรพชา อุปสมบท และเลี้ยงเพล
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ได้แก่
- ซองปัจจัย พระอุปัชฌาย์ + ค่าน้ำมัน ราคา 2,000 บาท
- ซองปัจจัย พระคู่สวด 2 คู่ + ค่าน้ำมัน ราคา 3,000 บาท
- ซองปัจจัย พระอันดับ 10 (200บาท/รูป) ราคา 2,000 บาท
- เลี้ยงเพล ราคา 2,000 บาท
รวมทั้งหมด 9,000 บาท
สรุปค่าใช้จ่ายในการเตรียมงานบวช
พิธีการต่างๆ | ราคาโดยรวม (บาท) |
พิธีปลงผม | 600 |
พิธีขอขมาล้างเท้าผู้มีพระคุณ | 680 |
พิธีอาบน้ำนาค | 490 |
พิธีทำขวัญนาคและฉลองไตร | 15,030 |
พิธีแห่รอบอุโบสถและวันทาเสมา | 13,500 |
พิธีบรรพชา อุปสมบท และเลี้ยงเพล | 9,000 |
ราคารวมทั้งสิ้น 39,300 บาท |
สรุป
จากที่แอดมินได้บอกมาทั้งหมด เกี่ยวกับการ เตรียมงานบวช นั้น ถือเป็นสิ่งที่ต้องทำ และ ยังเป็น รายจ่ายคร่าวๆ สำหรับหนึ่งงานบวชอีกด้วย ซึ่งราคาก็ไม่จำเป็นต้องมากเท่านี้ หรือ น้อยเท่านี้เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้จัดมากกว่าว่า ต้องการงานที่ใหญ่มากน้อยแค่ไหน และตัวเองมีงบแค่ไหนในการจัดงาน
สามารถจัดได้ตั้งแต่ 10,000 บาท ไปจนถึง 100,000 บาทเลยก็ได้ หรือบางคนอยากจะจัดงานแบบยิ่งใหญ่อลังการหน่อย ก็สามารถจัดงานราคาหลักร้อยล้าน แบบ งานบวชพระจีจี้ปีโป้ เลยก็ได้ค่ะ
ก่อนจากกันไป ใครที่อยากอ่านบทความดีๆ เด็ดๆ ทั้งเรื่องความเชื่อ แรงศรัทธา ทำนายฝัน ดูดวง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สูตรหวย สถิติหวย เลขเด็ด เราได้ทำการรวบรวม เรื่องดี เรื่องดัง เรื่องน่าสนใจ มาให้ทุกท่านไว้แล้วที่นี่ที่เดียว ไม่ต้องเสียเวลาหาเยอะแยะ มาพบกับพวกเราได้ในทุกวันที่ Ruay365.com