เริ่มต้นขึ้นแล้วกับเทศกาลอีสเทอร์ เทศกาลสำคัญของชาวคริสต์ ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการฟื้นคืนชีพของพระเยซูคริสต์ หลังจากสิ้นพระชนม์ไป 3 วัน โดยสัญลักษณ์ของเทศกาลนี้ก็คือ ไข่ ที่เปรียบเสมือนการเกิดใหม่ ความสดใส และเป็นเรื่องที่น่าประหลากใจมาก ๆ ตรงที่นอกจากไข่จะเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลอีสเทอร์แล้ว ไข่ต้ม ยังมีความสำคัญกับการทำพิธีกรรมต่าง ๆ ของคนไทยด้วย สำคัญอย่างไร วันนี้ตาม Ruay มาแล้วจะได้รู้กัน
ความเชื่อเกี่ยวกับ ” ไข่ ” ประเทศต่าง ๆ
ไข่ต้ม เสี่ยงทาย รอดหรือไม่รอด อินเดีย
จากความเชื่อที่ว่า ‘ไข่’ เป็นสัญลักษณ์ การก่อกำเนิดชีวิตใหม่ จึงมีการนำไข่มาทำนายความเป็นความตาย หรือที่เรียกว่า dieng shat pylleng กระดานทุบไข่เสี่ยงทาย ซึ่งคนที่ประกอบพิธีก็คือ หมอกลางบ้าน (หมอชนบท รักษาด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน) ทำนายความเป็นความตายของคนไข้ เรียกว่า dieng shat pylleng หรือกระดานทุบไข่เสี่ยงทาย
โดยจะวางกระดานไว้ในกระจาด แล้วยืนถือไข่ให้ตรงกับกระดาน จากนั้นก็ปล่อยให้ไข่ตกกระทบกระดานแล้วทำนายตามลักษณะที่ไข่ตก เช่น เอียงไปทางซ้าย ค่อนไปทางขวาหรือตรงกลาง ยิ่งถ้าหากไข่แดงแตกเป็นรูปสี่เหลี่ยม หมายความว่าคนไข้มีโอกาสตายมากกว่ารอด สามารถพบการทายลักษณะนี้ได้ในอินเดียตะวันตก
ไข่ทาเปลือกสีแดง ประเทศจีน
คนจีนเชื่อว่า “ไข่” เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ และการก่อเกิด ส่วน ‘สีแดง’ นั้นเป็นสีมงคล เลยมีธรรมเนียมว่าหากบ้านไหนมีเด็กเกิด ก็จะจัดงานเลี้ยงไข่ต้มทาเปลือกสีแดงกินกันในครอบครัว เป็นการเฉลิมฉลองและแจกจ่ายให้ญาติ พี่น้อง หรือเพื่อนบ้าน เป็นการบอกกล่าวว่าบ้านหลังนั้นมีเด็กเกิด
บางพื้นที่ก็มีการกำหนดจำนวนไข่ที่ต้ม เพื่อบ่งบอกเพศของเด็ก เช่น ถ้าได้ลูกชายจะต้มไข่เป็นเลขคู่ ได้แก่ 6 หรือ 8 ใบและแต้มจุดสีดำบนปลายไข่ ถ้าได้ลูกสาวก็จะต้มไข่เป็นเลขคี่ ได้แก่ 5 หรือ 7 ใบ และไม่มีการแต้มจุดดำ
ความเชื่อของชาวตะวันตก
ฝั่งตะวันตกก็มาในลักษณะคล้าย ๆ กัน คือ เชื่อว่า ‘ไข่’ คือจุดกำเนิด ก่อเกิดของสรรพสิ่ง และมีการใช้ไข่เป็นสัญลักษณ์เป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดใหม่ของพระเยซู ก่อนที่ภายหลังพิธีเฉลิมฉลองในเทศกาลอีสเตอร์จะปรับเปลี่ยนมาทาเปลือกไข่ให้มีสีสันหลากหลาย ลวดลายสวยงาม เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง
ทำไมต้องใช้ ” ไข่ต้ม ” แก้บน
การแก้บนยอดฮิตที่เรามักจะเห็นคนนิยมปฏิบัติกัน พอ ๆ กับกับการถวายหัวหมู ดอกไม้ ประทัด ก็คือ “การถวายไข่ต้ม” โดยเฉพาะถวายไข่ต้ม ในการแก้บน กับ “หลวงพ่อโสธร” จ.ฉะเชิงเทรา แล้วทำไมถึงต้องบนบานด้วยไข่ต้มเท่านั้น?? คำถามนี้ยังคงเป็นปริศนา แต่ก็มีคนสันนิษฐานว่า… เพราะหลวงพ่อโสธรชอบกินไข่ต้มจึงนิยมนำมาถวาย อีกอย่างคือสมัยก่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นแหล่งเลี้ยงไก่ไข่จำนวนมาก จึงหาไข่ได้ง่าย สะดวกต่อการนำมาบนบานนั่นเอง
แน่นอนว่าทุกวันนี้ไม่ได้มีแค่ “หลวงพ่อโสธร” เท่านั้นที่คนไทยนิยมแก้บนด้วยไข่ต้ม ยังมีการบนบานกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดอื่น ๆ ที่ใช้ไข่ต้มมาเป็นของแก้บนเช่นกัน อาทิ พระร่วงโรจนฤทธิ์ องค์พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม และ หลวงพ่อสมหวัง วัดกลางบางพระ จ.นครปฐม เป็นต้น
ความหมายของ ไข่ต้ม งานแต่ง
นอกจากไข่ต้มจะใช้สำหรับแก้บนแล้ว ในพิธีบายศรีสู่ขวัญงานแต่ง ยังมีการนำไข่ต้มมาเสี่ยงทายชีวิตคู่บ่าวสาวด้วยว่า หลังแต่งงานจะมีความสุข และราบรื่นหรือไม่ โดยจะนำไข่ต้ม 2 ฟองไปเสียบที่ยอดบายศรี หลังสู่ขวัญเรียบร้อย หมอสู่ขวัญ งานแต่ง จะใช้เส้นผมหรือด้ายผ่าไข่ออกเป็น 2 ซี่ เพื่อดูลักษณะของ “ไข่แดง” หาก “ไข่แดงเอียง” ไปด้านใดด้านหนึ่ง แสดงว่า “ใจโลเล” ในทางกลับกันถ้า “ไข่แดงอยู่ตรงกลาง” แสดงว่า “รักมั่นคง” ความรักของทั้งคู่จะยืนยาวจนแก่เฒ่า
ส่วนพิธีแต่งงานทางภาคอีสานยังมีการ “ป้อนไข่ วันแต่งงานด้วย” โดยนำไข่ต้มจากพานบายศรี มาปอกเปลือกแล้ว แบ่งครึ่งให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาวกินคนละครึ่งใบ จากนั้นใช้ “มือขวาป้อนไข่ท้าว” “มือซ้ายป้อนไข่นาง”
ความสำคัญของไข่ต้มยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมี การนำไข้ต้มมาประกอบพิธีเรียกขวัญ ส่อนขวัญ ให้กับคนที่ผ่านเรื่องน่ายินดีและเรื่องที่ทำให้สะเทือนใจด้วย ซึ่ง‘ไข่ต้ม’ เป็นสัญลักษณ์ของ‘ขวัญ’ ที่หมายถึงจิตวิญญาณที่แฝงอยู่ในคนและสัตว์ตั้งแต่เกิดมา
และเนื่องจากไข่กับขวัญมีความคล้ายคลึงกัน ทำให้มีคำกล่าวว่า… ‘ ขวัญ ‘ ถูกห่อหุ้มด้วยร่างกาย ส่วน ‘ไข่’ ห่อหุ้มไว้ด้วยเปลือก ดังนั้นไข่ในพิธีจึงแทนขวัญหรือจิตวิญญาณของมนุษย์ เมื่อเสร็จสิ้นพิธี ไข่ต้ม ก็จะถูกนำมาเสี่ยงทายเจ้าของขวัญ ดังนี้
- ถ้าไข่ผิวเรียบสวยงาม ไข่แดงและไข่ขาวเต็มฟอง เจ้าของขวัญจะมีความสุข สบาย ไม่มีโรคภัย
- ถ้าไข่ผิวไม่เรียบ ไม่แดงและไข่ขาวไม่เต็มฟอง แปลว่า เจ้าของขวัญจะมีทุกข์ ไม่สบาย
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ท่าน มาจากการที่ผู้คนที่ได้เดินทางไปสักการะขอพรแล้วสมหวังตามปรารถนา ทำให้กิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ ของหลวงพ่อโสธรได้แผ่ไพศาล ไปในถิ่นต่าง ๆ จนเป็นที่รู้จักในที่สุด
หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปหินทราย สมัยอยุธยาตอนต้น หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอกเศษ เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ พระพักตร์ค่อนข้างกลมแป้น พระขนงโก่งเล็กน้อย พระเนตรเล็กหรี่ เหลือบลงต่ำพระโอษฐ์เล็ก สีพระพักตร์ขรึมแบบอยุธยา ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมร แต่ได้เสริมแต่งขึ้นจากเดิมโดยพอกปูน ลงรักปิดทองให้เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 3 ศอก 5 นิ้วจนถึงปัจจุบัน
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ประดิษฐานอยู่ที่ วัดกลางบางพระ จ.นครปฐม โดยหลวงพ่อสมหวังถูกสร้างขึ้นตามความดำริของพระครูสุนทรวุฒิคุณ (หลวงพ่อพุฒ สุนฺทโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดกลางบางพระ หลังจากท่านได้นิมิตว่า มีเทวดาผู้รักษาดูแลองค์หลวงพ่อทับทิม พระประธานในอุโบสถ มาบอกกล่าวให้สร้าง เดิมทีมีชื่อว่า หลวงพ่อใหญ่ จากนั้นมีคนมาขอพรแล้วได้โชคลาภ ผู้คนจึงเรียกกันต่อๆ มา ว่า หลวงพ่อสมหวัง นับแต่นั้นมา
สรุปส่งท้าย
จากเรื่องที่เล่ามา ทำมห้ได้คำตอบว่า ความหมายของ “ไข่” ในแต่ละพื้นที่ แต่ละประเทศ นั้นคล้าย ๆ กันตรงที่ว่า เป็นสัญลักษณ์ของ “การเกิดใหม่ ชีวิตใหม่ การก่อเกิดกำเนิดขึ้นมา ดังลูกไก่ที่เกิดออมาจากไข่” อย่างไรก็ดีความเชื่อดังกล่าวเหล่านี้ไม่ได้มีมาเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แต่กลับมีมาตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันก็ยังสืบทอดกันอยู่ ถือเป็นธรรมเนียมประเพณีดีงาม ที่ทุกสังคมควรค่าแก่การรักษาไว้ให้อยู่ตราบนานเท่านาน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ