ขอมือหน่อยได้ไหมอากาศหนาว ๆ ไม่ชอบเลย ขอมือหน่อยอย่าเฉยเมยจนฉันนั้นต้องเสียใจ..หยุดก่อน! Ruay 365 ขอเตือนก่อนว่าหนาวนี้เหงาแค่ไหนก็ต้องทน เพราะความรู้สึกกับฤดูหนาวที่กำลังมาถึงในปีนี้ ช่างแตกต่างจากทุกปีที่ผ่านมา เมื่อเราต้องเผชิญกับโควิด (Covid-19) กันทั่วโลกมาเกือบตลอดปี และยิ่งหน้าหนาวแบบนี้ สิ่งหนึ่งที่มักมาพร้อมฤดูหนาวด้วยนั่นคือ เชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ส่งผลทำให้โควิด-19 จะยิ่งแผลงฤทธิ์ แถมมาพร้อมกับ โรคในหน้าหนาว ที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
สารบัญ
Toggleสาเหตุเสี่ยงรับเชื้อไวรัส โควิด-19 ช่วงฤดูหนาว ได้ง่าย
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยกับเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ไว้ว่า ในฤดูหนาวมีโอกาสเสี่ยงในการระบาดของโรคได้ง่ายกว่าฤดูอื่น ทั้งโควิด-19 และโรคอื่นที่เกิดจากเชื้อไวรัส
เหตุผลหลัก คือ ธรรมชาติของโรคทางเดินหายใจส่วนใหญ่ในช่วงอากาศเย็น ถ้าไม่รักษาความอบอุ่นในร่างกายให้ดี จะมีโอกาสติดเชื้อได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นเพราะอายุของไวรัส ที่ยิ่งอากาศเย็น ยิ่งอยู่ได้นาน และด้วยสภาพอากาศที่เย็นลง จึงอาจส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะกับ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง
ดังนั้นการที่เรารู้จักวิธีป้องกันโควิด-19 ไว้นั้นก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ โดยเบื้องต้นทุกคนสามารถป้องกันตัวเองและคนรอบข้างให้ห่างไกลจากโควิด ได้ดังนี้
- เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
- เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง และพื้นที่คนเยอะ ๆ
- ระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่
- ควรล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล อย่างน้อย 20 วินาที
- งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
- เลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
- ทานอาหารสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
- คอยสังเกตอาการตัวเองและคนใกล้ชิด
ซึ่งโควิด-19 ส่งผลต่อผู้คนในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล โดยอาการโควิด สังเกตได้ ดังนี้
อาการทั่วไป
- มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศา
- ไอแห้ง
- อ่อนเพลีย
อาการที่พบไม่บ่อยนัก
- ปวดเมื่อยเนื้อตัว
- เจ็บคอ
- ท้องเสีย
- ตาแดง
- ปวดศีรษะ
- สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส
- มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
อาการรุนแรง
- หายใจลำบากหรือหายใจถี่
- เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก
- สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว
หากสังเกตอาการแล้วพบว่ามีอาการรุนแรง โปรดเข้ารับการรักษาทันที และติดต่อล่วงหน้าก่อนไปพบแพทย์หรือไปสถานพยาบาลเสมอ ส่วนผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงและไม่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ควรรักษาตัวอยู่ที่บ้าน โดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่ติดเชื้อไวรัสจะแสดงอาการป่วยใน 5-6 วัน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจใช้เวลานานถึง 14 วันจึงจะแสดงอาการ
5 โรคในหน้าหนาว
ฤดูหนาว เป็นช่วงเวลาที่อากาศเย็นลง และบางพื้นที่อาจเย็นลงเฉียบพลัน ทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากสภาพอากาศเช่นนี้อาจทำให้ร่างกายป่วยได้ง่ายกว่าปกติ นอกจากนี้อากาศเย็นยังเอื้อต่อการอยู่รอดและแพร่กระจายของไวรัสมากที่สุด นอกจากจะต้องระมัดระวังความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 แล้ว จำเป็นอย่างมากที่จะต้องระวังอีก 5 โรคในหน้าหนาว
เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคต่าง ๆ ที่มักพร้อมหน้าหนาวนี้ Ruay จะพามาทำความรู้จักอาการเบื้องต้นของแต่ละโรค เพื่อจะได้หาวิธีป้องกัน หรือดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคเหล่านี้กัน
โรคไข้หวัด
โรคไข้หวัด เกิดจากเชื้อไวรัส มักมีอาการ ไข้สูง ปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยตามตัวมาก อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน พบมากที่สุดในฤดูฝน และพบได้บ่อยในฤดูหนาว
วิธีการรักษาโรคไข้หวัด
ควรดื่มน้ำให้มาก เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย เช็ดตัวทุกชั่วโมง รับประทานยาตามอาการ และมียาต้านไวรัสไข้หวัด แต่ไม่จำเป็นสำหรับทุกคน หรือถ้ารับประทานยาลดไข้แล้วอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์ทันที
บางคนเมื่อป่วยมีอาการดังกล่าวอาจคิดว่าตนเองติดโควิด-19 แต่แท้จริงแล้ว ไข้หวัด กับ โควิด เรียกได้ว่าเป็นมีความแตกต่างกัน อธิบายได้ ดังนี้
ไข้หวัด VS โควิด (Covid-19) แตกต่างกันอย่างไร
- ไข้หวัด มักเกิดจากเชื้อไวรัสไรโนไวรัส (Rhinovirus) 30-80% เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคกับจมูก คือ หวัดธรรมดา และไวรัสอีกชนิดที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดคือ โคโรนาไวรัส (Coronavirus) 10-15% แต่เป็นไวรัสโคโรนาที่ค้นพบ และมีมานานแล้ว ผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัดมักไม่มีโรคแทรกซ้อนรุนแรง และไม่มีอาการที่รบกวนชีวิตประจำวัน มีอาการอยู่ไม่นาน หากดูแลร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ อาการไข้หวัดจะค่อย ๆ หายไปเองใน 3-4 วัน
- โควิด (Covid-19) เกิดจาก ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ซึ่งทำให้มีอาการปอดอักเสบรุนแรงได้ โดยเป็นเชื้อไวรัสที่เพิ่งถูกค้นพบใหม่ ผู้ที่ติดเชื้อโควิด มักพบอาการปอดอักเสบ บางคนอาจถึงขั้นรุนแรงนำไปสู่การเสียชีวิต ซึ่งความรุนแรงของโรคนี้จะแตกต่างกันตามความแข็งแรงของแต่ละคน
โรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ
ปอดบวม คือ ภาวะปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส จนทำให้มีหนองและสารปนเปื้อนภายในถุงลม ผู้ป่วยมักมีอาการ คือ ไอ จาม มีเสมหะมาก แน่นหน้าอกจนหายใจไม่ออก คัดจมูก หนาวสั่น มีไข้สูงติดต่อกันเกิน 2 วัน ปอดบวมมักพบหลังจากการเป็นไข้หวัดเรื้อรัง และในผู้ป่วยโรคหอบหืด
วิธีรักษาโรคปอดบวม
หากมีอาการคล้ายเป็นปอดบวม ควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด และหากแพทย์วินิจฉัยว่ามีอาการปอดบวมแล้ว จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะ ควบคู่ไปกับยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ และยาขยายหลอดลม พร้อมแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ เพราะน้ำจะช่วยละลายเสมหะได้
อาการปอดบวมส่วนใหญ่มักเริ่มจากการเป็นไข้หวัด ดังนั้นเมื่อรู้ว่าเริ่มเป็นไข้หวัด ให้รีบรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน พยายามดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ อยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก สำหรับเด็กเล็กควรฉีดวัคซีนป้องกันปอดบวม หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และหมั่นรักษาความสะอาด ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
โรคหัด
หัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า “รูบีโอราไวรัส” (Rubeola virus) เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็ก อาการของโรคจะคล้ายไข้หวัด คือมีไข้ มีน้ำมูก มักไอแห้งตลอดเวลา ตาและจมูกแดง โดยมักมีไข้สูงประมาณ 3 – 4 วันติดต่อกัน จากนั้นจึงขึ้นผื่นแดง ตามร่างกาย โดยผื่นจะค่อยๆ โตขึ้น และมีสีเข้มขึ้น
อาการที่สังเกตได้ว่าจะเป็นหัดคือ ผู้ป่วยมักมีตุ่มใส ๆ ขึ้นในปาก ตรงกระพุ้งแก้มและฟันกราม ซึ่งเป็นตุ่มที่เกิดเฉพาะในโรคหัดเท่านั้น หลังจากผื่นออกประมาณ 2 – 3 วัน อาการก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ และหายได้เอง แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ โรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม อุจจาระร่วง สมองอักเสบ และหูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น
วิธีรักษาโรคหัด
โรคหัดไม่ใช่โรคร้ายแรงนัก แต่ยังไม่มียารักษาโดยตรง จึงต้องรักษาตามอาการ เช่น รับประทานยาลดไข้ ดื่มน้ำมาก ๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ อาการต่างๆ จะทุเลาลงเอง แต่หากมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น หายใจสั้น เจ็บที่หน้าอกขณะหายใจ ชัก ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
ซึ่งวิธีที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนรวม หัด หัดเยอรมันและคางทูม จะช่วยป้องกันโรคหัดได้ โดยปัจจุบันเด็กทุกคนจะได้รับวัคซีนนี้เมื่ออายุ 9 – 12 เดือน และต้องฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 6 ปี
โรคอีสุกอีใส
โรคอีสุกอีใส หรือ โรคไข้สุกใส มักระบาดในช่วงปลายฤดูหนาว คือ เดือนมกราคม – มีนาคม ติดต่อได้โดยการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง หรือการสัมผัสของใช้ของผู้ป่วย เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า เช็ดตัว ผ้าห่ม ที่นอน หรือสูดหายใจเอาละอองของตุ่มน้ำเข้าไป
พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี อาการแรกเริ่มจะคล้าย ๆ ไข้หวัดใหญ่ คือ ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่จะมีผื่นแดงหรือตุ่มน้ำใสขึ้นตามร่างกาย มีอาการคัน ต่อมาจะกลายเป็นหนอง หลังจากนั้นจะแห้งและตกสะเก็ดภายใน 5 – 10 วัน และอาการไข้ก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น
วิธีรักษาโรคอีสุกอีใส
ต้องรักษาตามอาการ เมื่อมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ งดการใช้ของร่วมกับผู้อื่น และหยุดพักจนกว่าจะหายดี ห้ามแคะ แกะเกา บริเวณตุ่ม เพราะอาจทำให้อักเสบ และเป็นแผลเป็นได้ ส่วนมากผู้ป่วยโรคนี้ไม่ต้องพบแพทย์ เพราะอาการไม่รุนแรง ไม่มีโรคแทรกซ้อน และอาการจะทุเลาลงเอง
โรคอุจจาระร่วง
เป็นโรคที่มาพร้อมกับฤดูหนาว มักพบในเด็ก อายุต่ำกว่า 5 ปี โดยกลุ่มที่พบบ่อยที่สุดคือเด็กอายุ 6 – 12 เดือน เพราะเด็กวัยนี้ยังมีภูมิต้านทานต่ำและมักมีพฤติกรรมหยิบสิ่งของเข้าปาก ซึ่งเพิ่มโอกาสให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น
อาการคือ มีไข้ ถ่ายเหลวและอาเจียนอย่างหนัก จนอาจเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรงถึงขั้นช็อกหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการตามที่กล่าวมา ควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
วิธีรักษาโรคอุจจาระร่วง
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยตรง จึงทำได้แค่ประคับประคองอาการของผู้ป่วยให้ดีขึ้น โดยควรให้ผู้ป่วยจิบสารละลายเกลือแร่บ่อย ๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ แต่หากผู้ป่วยดื่มน้ำไม่ได้ จำเป็นต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดแทน ควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ และอาการจะค่อย ๆ ทุเลาลง
สรุป
เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ร่างกายก็ต้องสร้างภูมิคุ้มกันเตรียมพร้อมกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะอากาศที่เย็นสบายเป็นตัวการชั้นดีในการกระจายของไวรัส จึงต้องระวัง โรคในหน้าหนาว ไม่ว่าจะเป็น ไข้หวัด ปอดบวม หัด อีสุกอีใส อุจจาระร่วง และที่สำคัญเสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้ง่าย โดยเฉพาะในกลุ่มของเด็กวัยกำลังโต ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีอาการป่วยหรือสุขภาพไม่แข็งแรง
ฉะนั้นด้วยความหวังดีจากทางเว็บไซต์ Ruay จึงอยากขอความร่วมมือทุกคนรักษามาตรการทั้งการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ และรักษาระยะห่าง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และโรคที่มาพร้อมกับฤดูหนาว
แต่อย่างไก็ตามหากท่านหรือคนใกล้ตัวมีอาการไข้สูงมากกว่า 37.5 องศา ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหลหายใจเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก แนะนำว่าอย่าชะล่าใจ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน และสุดท้ายนี้ขอให้ทุกคนดูแลสุขภาพของตัวเอง เพื่อร่างกายที่แข็งแรงไม่เจ็บ ไม่ป่วย
บทความแนะนำอื่นๆที่น่าสนใจ