เครื่องรางญี่ปุ่น หมดอายุ

เคล็ด(ไม่)ลับ ทำอย่างไรเมื่อ เครื่องรางญี่ปุ่น หมดอายุ แต่เอาไปคืนไม่ได้ ?

ว่าด้วยเรื่อง “เครื่องรางของขลัง” ที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คน ใช่เพียงแต่คนไทยเราเท่านั้นที่มีความเชื่อในเรื่องของเครื่องราง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ประเทศญี่ปุ่นก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความเชื่อในเรื่องราวเหล่านี้ และมีเครื่องรางชนิดต่าง ๆ มากมายหลายชนิด จนทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติให้ความสนใจและซื้อติดตัวกลับมาไว้บูชา แต่หารู้ไหมว่า เครื่องรางญี่ปุ่น หมดอายุ ได้ด้วยนะ

ก่อนที่เรา Ruay365.com จะพาไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ เครื่องรางญี่ปุ่น หมดอายุ เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับประเภทของเครื่องรางญี่ปุ่นกันก่อนสักนิด เพื่อที่ว่าหากใครมีโอกาสไปเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นได้จะเลือกซื้อมาบูชาได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการ ถ้าพร้อมแล้วมาร่วมหาคำตอบกันเลย

เครื่องรางญี่ปุ่น มีอะไรบ้าง

ดั้งเดิมแล้ว “เครื่องรางของญี่ปุ่น” จะทำเป็นถุงผ้าปักด้วยไหม ลักษณะแบน เครื่องรางที่อยู่ด้านในเป็นกระดาษ ไม้ ผ้า หรือเหล็ก ผูกปากถุงด้วยเชือก แต่ปัจจุบันมีการทำเครื่องรางรูปแบบอื่น ๆ ออกมาหลายรูปแบบ แถมยังมีความน่ารักมากขึ้นด้วย โดยเครื่องรางญี่ปุ่นแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

โอะฟุดะ (御札)

Ofuda
เครื่องรางญี่ปุ่น โอะฟุดะ ขอบคุณภาพจาก fushimiinari.jp

มีลักษณะเป็นกระดาษที่ห่อแท่งไม้อยู่ ใช้ในการปกปักษ์รักษาคนในสถานที่ ๆ เราตั้งไว้ เช่น ตั้งไว้ในบ้านก็จะปกปักษ์รักษาคนในบ้านจากสิ่งไม่ดีต่าง ๆ หรือจะไว้ในบริษัทเพื่อปกป้องคนในบริษัทจากสิ่งไม่ดี ให้นำพามาแต่โชคลาภก็ได้เช่นกัน นิยมตั้งไว้ตรงหน้าประตูทางเข้า

โอะมาโมริ (お守り)

Omamori
เครื่องรางญี่ปุ่น โอะมาโมริ

ลักษณะเป็นถุง ๆ เล็ก ๆ สีต่าง ๆ ตามที่เราเห็นกันทั่วไปบ่อยครั้งในปัจจุบัน ทั้งในวัดและศาลเจ้า ใช้พกติดตัวคุ้มครองผู้ที่ถือครอง โดยสามารถเลือกซื้อประเภทให้เหมาะแก่ตนเองไว้บูชา หรือซื้อฝากไปให้เป็นของขวัญมงคลได้ เช่น

  • เครื่องรางสุขภาพ : ให้ผู้ที่แข็งแรงพกพา เพื่อจะคงสุขภาพให้แข็งแรงต่อไป
  • เครื่องรางเยียวยารักษา : ให้ผู้ที่ป่วยพกพา เพื่อรักษาอาการป่วย
  • เครื่องรางสอบผ่าน : ให้นักเรียนเตรียมสอบพกพา
  • เครื่องรางการเรียน : ให้นักเรียนทั่วไปพกพา
  • เครื่องรางเพื่อการกีฬา : ให้นักกีฬาพกพา เพื่อเสริมทักษะในด้านกีฬา
  • เครื่องรางเพื่อชื่อเสียงในวงการ : ให้ผู้ที่มีชื่อเสียงพกพา เพื่อประดับชื่อเสียงและลาภยศ
  • เครื่องรางเพื่อความรัก : ให้ผู้ที่เป็นโสดพกพา เพื่อสมหวังในความรัก
  • เครื่องรางเพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย : ให้ผู้ที่กำลังมีความทุกข์ ได้หมดเคราะห์ร้าย

วิธีการพกเครื่องรางญี่ปุ่น

เพื่อให้ได้พรอันศักดิ์สิทธิ์จากเครื่องราง ควรพกใส่ไว้ในกระเป๋าหรือกระเป๋าสตางค์ ควรพกติดตัวทุกวัน ในกรณีที่อยากตั้งไว้ในบ้านหรือบนชั้นวางของ แนะนำว่าควรวางไว้ให้เห็นเด่นชัด ในตำแหน่งที่สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เครื่องรางญี่ปุ่น หมดอายุ จริงหรือไม่

เชื่อกันว่าเครื่องรางของประเทศญี่ปุ่นนั้นจะมีพลังอยู่แค่ 1 ปี แต่ไม่ได้หมายความว่าพอครบ 1 ปีแล้วพลังของเครื่องรางจะหมดลงไปเลยทันที เพราะแท้จริงแล้วเครื่องรางญี่ปุ่น ไม่ได้มีอายุ 1 ปี เสมอไป แต่สาเหตุเนื่องจากมีการเปรอะเปื้อนจากสิ่งชั่วร้ายที่ป้องกัน หรือเครื่องรางเก่า ชำรุด เสียหาย ทำให้เชื่อว่าพลังนั้นไม่สามารถออกมาได้เต็มที่ 

จึงต้องมีการเปลี่ยนเครื่องรางใหม่ทุก ๆ 1 ปี โดยนำเครื่องรางเก่าไปคืนและซื้ออันใหม่มาแทนเพื่อต้อนรับสิ่งใหม่ ๆ และเพื่อให้มีพลังออกมาได้อย่างเต็มที่นั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่เครื่องรางจะมีทั้งของที่ศาลเจ้าและที่วัด หากได้รับมาจากที่ใดก็ให้นำไปคืนที่นั่น พร้อมกับแสดงความขอบคุณเครื่องราง สำหรับสิ่งที่ผ่านมาตลอด 1 ปีด้วย 

การนำ เครื่องรางญี่ปุ่น หมดอายุ ไปคืนด้วยตนเอง

การคืนเครื่องรางญี่ปุ่นไม่ได้เป็นกฎตายตัวว่า เมื่อครบ 1 ปี แล้ว จะต้องนำกลับไปคืนที่วัดหรือศาลเจ้า เพียงแต่ช่วงเวลาที่นิยมเปลี่ยนกันมักครบรอบ 1 ปีพอดี โดยเครื่องรางญี่ปุ่นที่เข้าข่าย หมดอายุ และควรนำไปคืนที่วัด-ศาลเจ้า ได้แก่ 

  • เครื่องรางที่ชำรุด เสียหาย เก่า ดูมีลักษณะเก่า 
  • เครื่องรางที่ไม่ต้องการแล้ว 
  • เครื่องรางที่สำเร็จตามจุดประสงค์ที่ต้องการแล้ว 
  • เครื่องรางที่ยังไม่ได้ใช้ แต่ไม่ต้องการแล้ว

ซึ่งหากเราสามารถนำไปคืนด้วยตนเองได้จะยิ่งดี แต่ไม่จำเป็นต้องมีพิธีตรีตรองอะไรเลย เพราะที่ศาลเจ้าหรือที่วัดนั้นจะมีกล่องสำหรับใส่เครื่องรางเก่าโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีเขียนเอาไว้ว่า “古神符納め所” หรือ “お焚き上げ” ก็ให้นำไปคืน ณ จุดนั้นได้เลย

โดยทางวัดหรือศาลเจ้านั้นจะทำการรวบรวมเครื่องรางที่ผู้คนนำมาคืนไว้ระยะหนึ่ง จนถึงระยะเวลาเผาทำลาย หรือบางที่จัดเป็นพิธีการทำลายแบบเป็นประเพณีกันอย่างยิ่งใหญ่ ขึ้นอยู่กับวัดและศาลเจ้านั้น ๆ 

BurnOmamori
การเผาทำลายเครื่องรางญี่ปุ่น หมดอายุ ขอบคุณภาพจาก siamkane.com

แต่ส่วนใหญ่แล้วที่มักจะทำการเผาทำลายในช่วงหลังจากปีใหม่ไม่นาน ตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะนำเครื่องรางเก่าไปคืนในช่วงปีใหม่และซื้ออันใหม่กลับมา ถือเป็นประเพณีนิยมของชาวญี่ปุ่นที่ทำสืบกันมาจนทุกวัน

เครื่องรางญี่ปุ่น หมดอายุ แต่เอาไปคืนไม่ได้ ทำอย่างไร

เข้าใจว่าหลาย ๆ คนคงไม่ได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น และเดินทางไปยังวัดหรือศาลเจ้าที่ซื้อเครื่องรางไว้มาบูชาได้บ่อยครั้ง จึงทำให้ไม่สามารถนำเครื่องรางไปคืนได้ด้วยตนเอง หากเป็นเช่นนั้นก็สามารถทำได้โดยวิธีอื่น ๆ ดังนี้

นำไปคืนที่ศาลเจ้าหรือวัดใกล้ ๆ

สามารถนำไปคืนที่ศาลเจ้าหรือวัดใกล้บ้านที่ได้ โดยแนะนำว่าให้ทำการหาข้อมูลก่อนว่าสถานที่แห่งนั้นเป็นวัดที่มีนิกายเดียวกับวัดหรือศาลเจ้าที่เราซื้อเครื่องรางมาจากประเทศญี่ปุ่นหรือไม่

ส่งเครื่องรางคืนทางไปรษณีย์

ในกรณีที่ต้องการส่งไปรษณีย์ ควรมีค่านำส่งคืนด้วยในจำนวนที่เท่ากับตัวเครื่องราง พร้อมเขียนจดหมายแสดงความรู้สึกขอบคุณแนบไปกับเครื่องรางที่นำส่งด้วย โดยควรเขียนซองกำกับเอาไว้ด้วยว่า “お焚き上げ依頼” (สำหรับส่งคืนศาลเจ้า) และ “焼納依頼” (สำหรับส่งคืนที่วัด) แนะนำให้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากทางศาลเจ้าหรือที่วัดที่ประเทศญี่ปุ่นก่อนทำการนำส่งคืน

ทำลายเครื่องรางด้วยตนเอง

สามารถทำลายด้วยตนเองได้เลย ด้วยการนำเครื่องรางไปห่อด้วยกระดาษสีขาวแบบมาตรฐานของญี่ปุ่นที่ใช้เขียนพู่กัน (ขนาด 35x25cm) และโรยเกลือประมาณ 1 หยิบมือก่อนนำไปเผา 

เก็บสะสม และจัดเก็บไว้ที่ที่เหมาะสม

หากรู้สึกเสียดาย ไม่อยากทำลาย หรือไม่มีโอกาสได้ไปคืนเครื่องรางญี่ปุ่นที่หมดอายุจริง ๆ ก็สามารถเก็บสะสม และจัดเก็บไว้ที่ที่เหมาะสมได้ บนชั้นวางของตำแหน่งที่สูง เก็บรักษาไว้จนกว่าจะมีโอกาสที่จะคืนได้ด้วยตนเอง

สรุป

เครื่องรางญี่ปุ่น ไม่ได้มีอายุ 1 ปี เสมอไป แต่ด้วยสาเหตุจากการเปรอะเปื้อน หรือเครื่องรางเก่า ชำรุด เสียหาย ทำให้เชื่อว่าพลังนั้นไม่สามารถออกมาได้เต็มที่ โดยคนส่วนใหญ่จะนำเครื่องรางเก่าไปคืนในช่วงปีใหม่และซื้ออันใหม่กลับมา

และเครื่องรางญี่ปุ่น ไม่ได้มีข้อกำหนดชัดเจนว่า ต้องคืนวัด-ศาลเจ้าเมื่อครบ 1 ปี เพียงเชื่อกันว่าหากได้รับมาจากที่ใดก็ให้นำไปคืนที่นั่นเท่านั้นเอง เพราะการจะเก็บสะสมเอาไว้ก็ไม่มีผลร้ายแรงอะไร เพียงแค่ตามความเชื่อของที่เก่าแล้วเสื่อมแล้ว จะเก็บเอาไว้กับตัวก็สูญเปล่า หากนำไปคืนและซื้ออันใหม่มา ก็จะเป็นการต้อนรับสิ่งใหม่ ๆ และก้าวไปข้างหน้าน่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า

โดยการนำเครื่องรางญี่ปุ่นหมดอายุ ไปคืนด้วยตนเองอาจไม่ได้สะดวกสำหรับทุกคน จึงสามารถทำได้โดยวิธีอื่น ๆ ได้แก่ นำไปคืนที่ศาลเจ้าหรือวัดใกล้ ๆ ส่งเครื่องรางคืนทางไปรษณีย์ ทำลายเครื่องรางด้วยตนเอง เก็บสะสม และจัดเก็บไว้ที่ที่เหมาะสม แต่ไม่ว่าจะทำด้วยวิธีใดก็ตามสิ่งสำคัญคือให้ส่งความรู้สึกขอบคุณไปด้วยเสมอ

Facebook
Twitter
Email