มาสัมผัสเทศกาลสุดอลังการสไตล์ล้านนา กับ เทศกาลยี่เป็ง หรือจะเรียกอีกอย่างว่า เป็นงานลอยกระทงแบบล้านนา เลยก็ว่าได้ คนมักจะคุ้นชินกับภาพโคมไฟหลายร้อยดวงกำลังลอยขึ้นฟ้า ซึ่งเราก็บอกได้เลยว่า งานนี้เป็นที่นิยมทั้งกับชาวไทยและชาวต่างชาติ ในชีวิตหนึ่งควรได้มาชมการลอยโคมไฟในเทศกาลยี่เป็ง ประเพณีมีความงดงามตระกาลจนติดใจใครหลายคน
ในแต่ละปี เทศกาลยี่เป็ง จะมีวันจัดงานที่แตกต่างกันออกไป แต่จะอยู่ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคมเสียเป็นส่วนใหญ่ จะจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองตามปฏิทินจันทรคติไทย สำหรับเทศกาลงานยี่เป็ง ปี 2563 ที่เชียงใหม่ จะจัดขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2563 ใครที่สนใจก็สามารถไปดูกันได้นะคะ
สารบัญ
Toggleประวัติเทศกาลยี่เป็ง
เทศกาลยี่เป็ง เป็นประเพณีลอยกระทงในภาคเหนือ หรือที่เรียกกันตามหนังสือตำนานโยนก และจามเทวีวงศ์ว่า “ประเพณีลอยโขมด” ที่แปลว่าลอยไฟนั่นเอง เป็นประเพณีที่มีความสนุกสนานครึกครื้น ในวันก่อนจะถึงวันเพ็ญเดือน 12 ใต้ จะมีการจัดการปัดกวาดบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ให้สะอาดเรียบร้อย ประดับประดาด้วยธงชาติ จัดเปลี่ยนดอกไม้ในแจกันหิ้งบูชาพระ จัดเตรียมประทีปหรือเทียนขี้ผึ้งไว้สำหรับจุดบูชาพระ ที่ประตูบ้านก็จะหาต้นกล้วย ต้นอ้อย ก้านมะพร้าว หรือไม้อื่นๆ มาประดิษฐ์ทำเป็นซุ้มประตูป่า แบบต่างๆ ให้เป็นที่สวยงาม
บ้างก็จัดหาดอกบานไม่รู้โรยหรือที่เมืองเหนือเรียกว่า “ดอกตะล่อม” มาร้อยเป็นอุบะห้อยไว้ตามขอบประตู ประตูเรือน หรือประตูห้อง หรือหิ้งบูชาพระ ผู้ที่มีใจศรัทธาแรงกล้าถึงกับทำมากๆ แล้วนำไปประดับประดาตามวัดเป็นพุทธบูชา หรือเมื่อประดับประดาดอกไม้เรียบร้อย จากนั้น ก็หาโคมญี่ปุ่นหรือประทีปมาเตรียมไว้ เพื่อจะได้ใช้ตามไฟในงาน
ในขณะเดียวกัน ตามวัดวาอารามหรือสถานที่สำคัญ ก็จะจัดสถานที่ให้สวยงามเป็นพิเศษ ที่ซุ้มประตูของวัด และในพระวิหารก็จัดตกแต่งด้วยดอกไม้ โคมไฟสวยงาม และตกแต่งด้วยโคมประดิษฐ์ชนิดหนึ่งรอบๆ จะมีรูปสัตว์ต่างๆ อยู่ภายในโคม แขวนหรือตั้งไว้ในวัด เมื่อจุดไฟแล้วจะมองเห็นภาพต่างๆ ในโคมนี้ ตามภาษาพื้นเมือง เรียกว่า “โคมผัด” ในงานวันนั้น บริเวณรอบๆ จะจุดไฟด้วยเทียน หรือตั้งประทีปไว้รอบๆ เพื่อเป็นการบูชาระลึกถึงพระพุทธเจ้า
นอกจากจะมีการประดับโคมไฟแล้ว ทุกวัดก็จะมีการทำบุญทางศาสนา ในตอนเช้าของวันเพ็ญและมีการฟังเทศน์มหาชาติ แบบพื้นเมือง ซึ่งการเทศน์พระธรรมกถึกผู้เทศน์จะต้องใช้เคล็ดในการเทศน์ให้ฟังกันอย่างสนุกสนาน และได้เนื้อหาทางศีลธรรมพร้อมๆ กันไป
ตำนานและความสำคัญของเทศกาลยี่เป็ง
ตามหนังสือพงศาวดารโยนกของพระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาก) และหนังสือจามเทวีวงศ์ กล่าวว่า เมื่อจุลศักราช 309 หรือ พ.ศ. 1490 พระยาจุเลราชได้ครองราชสมบัติต่อจากกมลราชในลำพูน สมัยนั้นลำพูนได้เกิดโรคระบาด หรือที่ตำนานว่า “โรคหิว” หรือ “โรคห่า” หรือที่สามารถเข้าใจกันในปัจจุบันก็คือ “อหิวาตกโรค” ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก พวกที่ยังไม่ตายเห็นว่าถ้าอยู่ในเมืองลำพูนต่อไปก็ต้องตายแน่ จึงพากันอพยพไปอาศัยอยู่ยังเมือง “สุธรรมวดี” คือเมืองสะเทิม ประเทศรามัญ หรือมอญ เพราะชาติไทยเราสมัยนั้นลงมาตั้งอยู่แต่เมืองเชียงแสนเท่านั้น
ต่อมาพระเจ้าพุกามกษัตริย์พม่าตีได้เมืองสะเทิม และได้เก็บเอาบุตรธิดาของชาวเมืองไปเป็นบาทบริจาริกาเป็นอันมาก เมื่อเบื่อหน้าก็ทอดทิ้งเสีย พวกชาวเมืองหริภุญชัย ก็อพยพหลบหนีไปอาศัยอยู่กับพระเจ้าหงสาวดี ซึ่งทรงอนุเคราะห์เป็นอย่างดี ไปอยู่นานถึง 6 ปี ครั้นทราบว่าโรคระบาดสงบลงแล้ว ก็คิดถึงบ้านเมืองเดิมของตัว ก็พากันกลับมายังลำพูนอีก ครั้นถึงวันครบรอบที่ได้จากพี่น้อง ทางเมืองหงสาวดีมา ก็จัดแต่งธูปเทียน เครื่องสักการบูชาใส่ในกระทงลอยไปตามแม่น้ำเป็นการส่งเสริมความคิดถึงไปยังญาติพี่น้อง ที่อยู่เมืองหงสาวดี เรียกว่า ลอยโขมด หรือลอยไฟ และถือเป็นประเพณีสืบมา
อีกทั้ง วัตถุประสงค์ในการจัดงานยี่เป็ง ก็เพื่อเป็นการรำลึกถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชา ธูปเทียนลอย แล้วนำไปลอยตามน้ำ เรียกว่า การลอยโขมดหรือลอยไฟ นั่นจึงเป็นที่มาของประเพณียี่เป็งที่มีมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งใน ประโยชน์ของงานยี่เป็ง ที่ทำให้เราได้รำลึกถึงพี่น้องที่ได้จากเราไปแล้ว
กิจกรรมน่าสนใจในเทศกาลยี่เป็ง
ยี่เป็ง มาจากคำว่า ยี่ ซึ่งแปลว่า สอง ส่วนคำว่า เป็ง มาจากคำว่า เพ็ญ ประเพณียี่เป็ง จึงเป็นประเพณีที่จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ประเพณียี่เป็ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วัน โดยในแต่ละวัน จะมีกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่
วันที่ 1 วันขึ้นสิบสามค่ำหรือวันดา – เป็นวันที่ทุกคนกลับคืนสู่บ้านเกิดและเตรียมซื้อของ เพื่อไปทำบุญที่วัด
วันที่ 2 วันขึ้นสิบสี่ค่ำ – ทุกคนจะไปทำบุญกันที่วัดใกล้บ้าน พร้อมทำกระทงใบใหญ่ไว้ เพื่อนำอาหารและของกินใส่ลงไปในกระทง และให้ทานแก่คนยากจน
วันที่ 3 วันขึ้นสิบห้าค่ำ – นำกระทงใบใหญ่ที่วัดและกระทงส่วนตัวของเราไปลอยในแม่น้ำ พร้อมทั้งจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะตี๊บ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ลักษณะของการปล่อยโคม
1. ปล่อยโคมลอยในตอนกลางวัน เรียกว่า ว่าว โดยทำโคมด้วยกระดาษสี แล้วให้ลอยสู่ท้องฟ้าด้วยความร้อนคล้ายบอลลูน เพื่อปล่อยทุกข์โศกและสิ่งไม่ดีต่างๆ ไป
2. ปล่อยโคมลอยในเวลากลางคืน เรียกว่า โคมไฟ โดยใช้ไม้พันด้ายเป็นก้อนกลม ชุบน้ำมันยางหรือน้ำมันขี้โล้แขวนปากโคม แล้วจุดไฟปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อเป็นการบูชา พระเกศแก้วจุฬามณี บนสวรรค์
การแต่งกายสำหรับงานยี่เป็ง
ผู้ชาย – แต่งกายด้วยชุดสุภาพ เสื้อยืด เสื้อเชิ้ต กางเกงขายาว ยีนส์หรือสแล็คก็ได้ คนส่วนใหญ่นิยมแต่งชุดสีขาวตามแบบชาวล้านนา
ผู้หญิง – แต่งกายด้วยชุดสุภาพ เสื้อมีแขน ไม่ใช่เสื้อแขนกุด เกาะอก หรือเสื้อครอปโชว์เอว กางเกงขายาว กระโปรงยาวคลุมเข่า คนส่วนใหญ่นิยมแต่งชุดสีขาวตามแบบชาวล้านนา
วิธีการขอพร ในงานยี่เป็ง
เมื่อทุกคนมาชุมนุมกันในที่ที่นัดหมายไว้แล้ว ก็ร่วมเวียนเทียนตามหลังพระสงฆ์ แสงเทียนในมือของเหล่าอุบาสก อุบาสิกา เหล่านั้นต่างร้อยรวมกันเป็นสายยาว เหมือนสายน้ำที่ค่อย ๆ ไหลเอื่อยรอบบริเวณปะรำพิธี จาก นั้นก็ได้เวลาจุดเชิงเทียน ซึ่งทางสำนักสงฆ์ ฯ ได้นำเชิงเทียนมาปักให้แก่ผู้มาร่วมงาน เป็นพัน ๆ อัน ก่อนที่เราจะจุดโคมก็พระสงฆ์ก็จะสวดให้พร นั่งสมาธิ อธิษฐานขอพร และขอให้สิ่งร้ายๆ ลอยไปกับโคมยี่เป็ง
บทสวดนมัสการพระเกศแก้วพระจุฬามณี
(ท่องบทสวดนี้ทั้งหมด 3 จบ)
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ
นะโม ข้าฯจะไหว้พระพุทธเจ้า ทุกพระองค์
เมื่อข้าฯจะดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง
ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน
ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์
ข้าฯจะไปนมัสการ พระเกศแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน
เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโน
รวมสถานที่จัดงานเทศกาลยี่เป็ง
ประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่
หากพูดถึงงานยี่เป็งแล้ว เชียงใหม่ถือเป็นที่หนึ่งในการจัดงานเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่เลยก็ว่าได้ โดยปกติแล้ว จะมีการจัดงานที่ประตูท่าแพ มีขบวนแห่และกิจกรรมต่างๆ มากมายให้นักท่องเที่ยวได้ดูกันอย่างละลานตา เป็นที่นิยมทั้งสำหรับชาวไทยและชาวต่างชาติ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 053 276 140 – 1
เทศกาลโคมไฟ ไหดอก บอกไฟ สลียี่เป็ง จังหวัดเชียงราย
เมืองหลักอย่างเชียงใหม่ว่ายิ่งใหญ่แล้ว เมืองรองอย่างเชียงรายก็สวยงามไม่น้อยหน้าเมืองเชียงใหม่เช่นกัน มักจะจัดงานกันที่บริเวณข่วงหลวงพญามังราย หรือวัดฝั่งหมิ่น ริมน้ำกก นอกจากการลอยโคม ยังมีการแสดงแสงสีเสียงในสายน้ำกก ขบวนเรือบุปผาชาติ รวมถึงกิจกรรมการลอยกระทง
สอบถามเพิ่มเติมที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย โทร.053 150 169
ประเพณียี่เป็งไหว้สาพระธาตุเจ้าลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
งานยี่เป็ง ถือเป็นหนึ่งงานบุญครั้งสำคัญของชาวลำปาง โดยจะจัดขึ้นที่วัดพระธาตุลำปางหลวงในทุกปี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ห่างจากตัวเมืองลำปางแค่ 18 กิโลเมตรเท่านั้น นอกจากการลอยโคมยี่เป็งและงานลอยกระทง ไฮไลท์ของงานก็คือ การสักการะปิดทองพระเจ้าแก้วมรกต สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปาง และการสรงน้ำพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีฉลู
สอบถามวันกำหนดจัดงาน โทร.053 248 604
งานนมัสการพระธาตุดอยกองมูและงานลอยกระทงสวรรค์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เหนือสุดของแดนสยาม กับ จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีการจัดงานยี่เป็งขึ้นที่วัดพระธาตุดอยกองมู ซึ่งถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่บนเขาซึ่งสามารถมองเห็นวิวเมืองแม่ฮ่องสอนได้อย่างชัดเจน
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 053 611 221
ประเพณียี่เป็งถวายโคมแด่องค์พระบรมธาตุเจ้าหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
เมืองหริภุญชัยหรือที่เราเรียกกันในปัจจุบันคือ จังหวัดลำพูน ต้นกำเนิดของประเพณียี่เป็ง การจัดงานถวายโคมและลอยโคมจะจัดขึ้นที่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร และต้องห้ามพลาดการไปฟังการเทศน์แบบโบราณล้านนา ที่หาได้ยากในปัจจุบัน และที่สำคัญ ต้องไม่พลาดไปสักการบูชาพระธาตุหริภุญชัยซึ่งมีความเก่าแก่กว่าพันปีและเป็นองค์พระธาตุประจำปีเกิดปีระกา
สอบถามวันกำหนดจัดงาน โทร. 053 563 612
วิธีหาเลขเด็ดจากการลอยโคมงานยี่เป็ง
มาถึงทีเด็ดของพวกเรากันแล้วนะคะทุกคน กับการหาเลขเด็ดจากเทศกาลงานยี่เป็งนั่นเอง! สำหรับคอหวย คอเลขเด็ด สายมู เรียกว่ายิ่งไม่ควรพลาดเลย หลายคนอาจจะงงกันว่าแค่ไปลอยโคมมันจะทำให้ได้เลขเด็ดได้ยังไงกัน ไม่เชื่อกันต้องเชื่อค่ะ! เดี๋ยวแอดมินจะมาบอกวิธีหาเลขเด็ดให้ฟังกัน
ขั้นแรก : ก่อนปล่อยโคมให้เราทำการอธิษฐานก่อน ต้องอธิษฐานเพียงอย่างเดียวนะคะถึงจะศักดิ์สิทธิ์
ขั้นสอง : ปล่อยโคมลอยขึ้นไปบนฟ้า ประมาณ 5 นาที
ขั้นสุดท้าย : เงยหน้าขึ้นไปบนฟ้า แล้วดูว่าโคมที่ลอยขึ้นไปด้านบนนั้น ลอยไปเป็นตัวเลขอะไรบ้าง
เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ทุกคนได้เลขเด็ดกลับบ้านกันไปอย่างสมใจแล้วจ้า
สรุป
ประเพณียี่เป็ง เป็นประเพณีโบราณของชาวล้านนาที่มีสืบทอดกันมานานหลายพุทธศตวรรษ โดยคำว่า “ยี่เป็ง” หมายถึง วันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองของปฏิทินไทยจันทรคติ ตามตำนานของชาวโยนกเล่าว่า ชาวมอญได้ทำการอพยพมาจากเมืองหริภุญชัย เพื่อหนีจากโรคอหิวาต์ไปยังเมืองสะเทิมและหงสาวดี ทุกปีจะมีประเพณีลอยโขมดหรือลอยไฟ จัดเครื่องสักการะใส่ลงใน “สะเปา” หรือกระทงลอยลงไปในแม่น้ำ เพื่อเป็นระลึกถึงญาติพี่น้องที่อยู่ห่างไกลกันหรือได้ล่วงลับไปแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีความเชื่ออีกว่า การบูชาประทีปโคมลอยในเดือนยี่เป็ง เป็นการบูชา พระเกตุแก้วจุฬามณี บนสวงสวรรค์ ใครที่ทำการถวายให้กับพระเกตุแก้วจุฬามณี จะได้รับส่วนบุญส่วนกุศลคือ เกิดมามีรูปร่างหน้าตาดี ผิวพรรณสวยงาม เหมือนดั่งนางฟ้าเทวดาบนสวรรค์
ก่อนจากกันไป สำหรับใครที่อยากอ่านบทความดีๆ แบบนี้ ทั้งเรื่องความเชื่อ แรงศรัทธา ทำนายฝัน ดูดวง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สูตรหวย สถิติหวย เลขเด็ด เราได้ทำการรวบรวม เรื่องดี เรื่องดัง เรื่องน่าสนใจ มาให้ทุกท่านไว้แล้วที่นี่ที่เดียว ไม่ต้องเสียเวลาหาเยอะแยะมากมาย มาพบกับพวกเราได้ในทุกวันที่ Ruay ค่ะ